Friday, 19 April 2024

การทำบุญด้วยการเจริญภาวนา ถือว่าเป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

แม้จะรักษาศีลถึง 100 ปี ก็ได้บุญไม่เท่า
พวกเราชาวพุทธ มักจะถูกสั่งสอนมาให้สร้างความดี สร้างบุญดีไว้มากๆสะสมบุญบารมีให้ชีวิตมีความสุข ถึงแม้จะรักษาศีลถึง 100 ปี ก็ยังไม่เท่ากับการทำสิ่งนี้ นั่นคือ การเจริญภาวนา เพราะถือว่าจะได้บุญมากและเป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตามความเชื่อ ทำด้วยใจที่สะอาดบริสุทธิ์

การเจริญภาวนา มีด้วยกัน 2 แบบ
1.การทำสมาธิด้วยสมถะภาวนา

หมายถึง การทำสมาธิ เพื่อให้จิตใจสงบ และกำหนดลมหายใจของตัวเอง แต่การทำสมาธิ สามารถทำได้หลายรูปแบบ ไม่ใช่แค่การนั่งสมาธิแล้วหลับตาแบบที่เราๆเข้าใจ

“การไหว้พระสวดมนต์” ก็เป็นการทำสมาธิอย่างหนึ่งเช่นกัน เพราะตอนที่เรากำลังสวดมนต์ จิตใจเราจะจดจ่ออยู่กับบทสวดและเป็นการทำสมาธิในขั้นต้นที่ให้คนส่วนใหญ่ใช้ฝึกฝนเพื่อให้มีสมาธิ

2.การเจริญปัญญา
ในการเจริญปัญญา จะไม่เหมือนกับการทำสมาธิเลยซะทีเดียว เพราะการทำสมาธิ จะทำเพื่อให้จิตใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำ แต่การเจริญภาวนาต้องมีการคิด “ใคร่ครวญ” และเป็นการหาเหตุผล หาความจริงบนโลก เพื่อตระหนักได้ว่า “ทุกสิ่งบนโลกเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง ล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป”

ผลของการเจริญสมาธิและปัญญา
1.ความสุขในปัจจุบัน
หากคนที่ฝึกสมาธิระดับเบื้องต้นได้ จิตใจจะรู้สึกปล่อยวาง และผ่อนคลาย รู้สึกเป็นสุขในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน จิตใจของเราก็จะนิ่งเป็นสุข เรียกได้ว่าเกิดผลบุญขึ้นในใจแล้ว

2.ความสุขในโลกหน้า
ความสุขที่เราไม่ได้สัมผัสในตอนที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลก แต่เป็นตอนที่เราได้ละจากโลกนี้ไปแล้วเราจะได้ไปเสวยสุขในภพภูมิที่ดี ซึ่งเป็นผลมาจากการเจริญสมาธิและปัญญา ที่มีจิตใจที่ผ่องใสและเป็นสุข

3.ความสุขอันเป็นนิพพาน
หากเราหมั่นเพียรในการฝึกฝนเจริญภาวนา จนไปถึงขั้นที่เรียกว่า “หลุดพ้นจากกิเลส” ได้แล้ว เราก็จะไปถึงพระนิพพาน คือการไม่กลับมาเวียนว่ายเกิดใหม่อีก ซึ่งหากใครที่ต้องการจะมีความสุขแบบตลอดกาล พ้นจากทุกข์ทั้งปวงก็ต้องฝึกสมาธิและการเจริญปัญญาที่ถูกต้องจากผู้ที่รู้จริงเท่านั้น
ตามที่พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่า
“แม้จะรักษาศีล 227 ข้อให้ไม่ด่างพร้อยถึง 100 ปี…ก็สู้การทำสมาธิภาวนาเพียงแค่เพียงไก่กระพือปีกหรือช้างกระดิกหูไม่ได้ “

การที่เราจะทำสมาธิและเจริญภาวนาจนติดเป็นนิสัย หรือกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ก็จะทำให้ชีวิตพบเจอกับความสุขได้ง่ายขึ้น ดังนั้นเราควรที่จะหมั่นสร้างบุญสร้างกุศลไว้มากๆ เพราะเมื่อถึงเวลาที่ต้องนำไปใช้จะได้มีมากพอไม่ขาดแคลน

ดังคำสอนของสมเด็จของพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี
“บุญเราไม่เคยสร้าง…ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า”

ขอขอบคุณแหล่งที่มาจาก : ธ.ธรรมรักษ์