Friday, 19 April 2024

การป้องกัน ศัตรูข้าวระยะต้นแตกกอ โรคและศัตรูพืชบุกแปลงนา

ป้องกัน 4 ศัตรูข้าวระยะต้นแตกกอ เตือนภัยชาวนาระยะต้นแตกกอ! โรคและศัตรูพืชบุกแปลงนาอย่านิ่งเฉย!!
ข้าวเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญมากของไทย เพราะคนไทยบริโภคข้าวเป็นหลัก ดังนั้นหากชาวนาปล่อยให้ต้นข้าวเกิดความเสียหายจากโณคและแมลงศัตรูพืช จะทำให้ผลผลิตและรายได้เสียหายเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบกับทั้งชาวนาเองและผู้บริโภค โรคไม่ได้มีเฉพาะกับมนุษย์หรือสัตว์อย่างเดียวเท่านั้น แต่พืชก็สามารถเป็นโรคเฉกเช่นเดียวกันได้! เพราะพืชเองก็มีศัตรูทางกายภาพ ไม่ว่าจะเป็นแมลงหรือเชื้อโรคต่างๆและศัตรูพืขตัวร้ายระยะต้นแตกกอ ที่สำคัญมีอะไรบ้าง และมีแนวทางป้องกันป้องกัน 4 ศัตรูข้าวระยะต้นแตกกอ อย่างไรไปดูกันเล้ยค่ะ

โรคไหม้
พบมาก ในนาน้ำฝน ข้าวพันธุ์พื้นเมืองไวต่อช่วงแสง พบส่วนใหญ่ใน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และ ภาคใต้

สาเหตุ เชื้อรา
อาการ เกิดจากเชื่อราลักษณะอาการต้นข้าวเป็นโรคตั้งแต่ระยะกล้าถึงระยะออกรวง เชื้อรา ท้าให้เกิดแผลที่ใบ ข้อต่อใบ ข้อล้าต้น คอรวง ระแง้ และเมล็ด แผลบนใบมีลักษณะคล้ายรูปตา หรือ รูปกระสวย ตรงกลางมีสีเทาอ่อน ขอบแผลมีสีย้้าตาลปนแดง อาการของโรคจะรุนแรงมากในแปลง นาที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง หรือใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมาก เช่น ปุ๋ยแมโมเนียมซัลเฟต หรือปุ๋ย ยูเรีย และ เมื่อสภาพอากาศมีความชื้นสูง เช่นระยะที่ฝนตกบ่อยๆ หรือมีหมอกจัด หรือในช่วงเวลาที่มีน้้าค้าง อยู่บนใบข้าวนานเกินกว่า 10 ชั่วโมง

วิธีการป้องกัน
ใช้พันธุ์ข้าวต้านทานโรค เช่น สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 60 ปราจีนบุรี 1 พลายงาม ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 สุรินทร์ 1 เหนีรยวอุบล 2 สันปาตอง 1 หางยี 71 กู้เมืองหลวง ขาวโป่งไคร้ น้ำรู
คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารชึวภัณฑ์ป้องกันเชื้อรา เช่น ไตรโคเดอร์มา ราแบคฟูลาร์
หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสม คือ 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ควรแบ่งแปลงให้มีการระบายถ่ายเทอากาศดี และไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงเกินไป ถ้าสูงถึง 50 กิโลกรัม/ไร่
การฉีดพ่นป้องกันด้วยสารชึวภัณฑ์ป้องกันเชื้อรา เช่น ไตรโคเดอร์มา ราแบคฟูลาร์ การใช้สารชีวภัณฑ์ต้องเน้นการป้องกันมากกว่าการกำจัดเพื่อให้ประสิทธิภาพสูงสุด และการใช้งานให้ถูกต้อง

โรคใบสีส้ม
พบมาก ในนาชลประทาน ภาคกลาง

สาเหตุ เชื้อไวรัส
การแพร่ระบาด เชื้อไวรัสสาเหตุโรคถ่ายทอดได้โดยแมลงพาหะ คือ เพลี้ยจักจั่นสีเขียว
อาการ ต้นข้าวเป็นโรคได้ ทั้งระยะกล้า แตกกอ ตั้งท้อง หากข้าวได้รับเชื้อในระยะกล้าถึงระยะแตกกอ ข้าวจะเสียหายมากกว่าได้รับเชื้อในระยะตั้งท้องถึงระยะออกรวง ข้าวเริ่มแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อ 15-20 วัน อาการเริ่มต้นใบข้าวจะเริ่มมีสีเหลืองสลับเขียว ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เริ่มจากปลายใบเข้าหาโคนใบ ถ้าเป็นรุนแรงในระยะกล้าต้นข้าวอาจถึงตาย ต้นที่เป็นโรคจะเตี้ยแคระแกรน ช่วงลำต้นสั้นกว่าปกติมาก ใบใหม่ที่โผล่ออกมามีตำแหน่งต่ำกว่าข้อต่อใบล่าสุด ถ้าเป็นรุนแรงอาจตายทั้งกอ ถ้าไม่ตายจะออกรวงล่าช้ากว่าปกติ ให้รวงเล็ก หรือไม่ออกรวงเลย

วิธีการป้องกัน
ใช้พันธุ์ข้าวต้านทานแมลงเพลี้ยจักจั่นสีเขียว เช่น กข1 กข3
ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงพาหะเพื่อป้องกันการดื้อยาของเพลี้ยจักจั่นสีเขียว ได้แก่ บิวเวอร์เรีย มิกซ์ฟูลาร์ การใช้สารชีวภัณฑ์ต้องเน้นการป้องกันมากกว่าการกำจัดเพื่อให้ประสิทธิภาพสูงสุด และการใช้งานให้ถูกต้อง
ไม่ใช้สารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น ไซเพอร์มิทริน ไซฮาโลทริน เดลต้ามิทริน
ทำความสะอาดไม่ให้นารก คันนา กำจัดวัชพืช และพืชอาศัยของเชื้อไวรัสและแมลงพาหะนำโรค

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

เป็นแมลงขนาดเล็กยาวประมาณ 3 – 4 ม.ม. สีน้้าตาลอ่อนหรือสีน้้าตาลปนเทาจนถึง น้้าตาลเข้มมีทั้งปีกสั้นและปีกยาว ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยท้าลายข้าว โดยดูดน้้าเลี้ยงบริเวณกาบใบ ข้าวใกล้ระดับน้้า ตั้งแต่ระยะกล้าจนถึงระยะข้าวออกรวง ท้าให้ต้นข้าวเหลืองและแห้งตาย นอกจากนี้ยังเป็นพาหะน้าโรคซึ่งเกิดจากเชื่อวิสา (Virus) ที่ส้าคัญคือ โรคใบหงิก (โรคจู๋) ท้าให้ข้าว แคระแกร็น รวงหดสั้น

วิธีการป้องกัน
ปลูกข้าวพันธุ์ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 90 สุพรรณบุรี 60 ปทุมธานี 1 พิษณุโลก 2 ชัยนาท 1 ชัยนาท 2 กข29 และ กข31 และไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน4ฤดูปลูก ควรปลูกสลับกันระหว่างพันธุ์ต้านทานสูงกับพันธุ์ทนทานหรือพันธุ์อ่อนแอ ปานกลาง โดยพิจารณาอายุเก็บเกี่ยวให้ใกล้เคียงกัน เพื่อลดความเสียหายเมื่อเกิดการระบาดรุนแรง
ในแหล่งที่มีการระบาด และควบคุมระดับน้ำในนาได้ หลังปักดำหรือหว่าน 2-3 สัปดาห์จนถึงระยะตั้งท้องควบคุมน้ำในแปลงนาให้พอดินเปียก หรือมีน้ำเรี่ยผิวดินนาน 7-10 วัน แล้วปล่อยขังทิ้งไว้ให้แห้งเองสลับกันไป จะช่วยลดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงที่ทำให้เกิดการเพิ่มระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (resurgence) หรือสารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น แอลฟาไซเพอร์เมทริน ไซเพอร์เมทริน ไซแฮโลทริน เดคาเมทริน เอสเฟนแวเลอเรต เพอร์เมทริน ไตรอะโซฟอส ไซยาโนเฟนฟอส ไอโซซาไทออน ไฟริดาเฟนไทออน ควินาลฟอส และเตตระคลอร์วินฟอส เป็นต้น
ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงเพื่อป้องกันการดื้อยาของเพลี้ยกระโดสีน้ำตาล ได้แก่ บิวเวอร์เรีย มิกซ์ฟูลาร์ การใช้สารชีวภัณฑ์ต้องเน้นการป้องกันมากกว่าการกำจัดเพื่อให้ประสิทธิภาพสูงสุด และการใช้งานให้ถูกต้อง
ศัตรูธรรมชาติที่มีบทบาทในการควบคุมประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล สลับกับการใช้สารชีวภัณฑ์ เพื่อป้องกันการดื้อยาของเพลี้ยกระโดสีน้ำตาลได้แก่
มวนเขียวดูดไข่ Cyrtorhinus lividipennis (Reuter) เป็นตัวห้ำในอันดับ Hemiptera วงค์ Miridae เป็นตัวห้ำที่สำคัญทำลายไข่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยการดูดกินของเหลวภายในไข่มักพบแพร่กระจายในภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ และอพยพเข้ามาพร้อมกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ซึ่งถ้าพบมวนชนิดนี้ในนามากกว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล2-3เท่ามวนชนิดนี้ สามารถควบคุมการเพิ่มปริมาณของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยไม่ก่อให้เกิดความ เสียหายแก่ผลผลิตข้าวได้ แมงมุมสุนัขป่า Lycosa psuedoannulata (Bosenberg & Strand) เป็นแมงมุมในอันดับ Araneaeวงค์ Lycosidae เป็นตัวห้ำที่มีบทบาทมากที่สุด ในการควบคุมปริมาณตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว เนื่องจากสามารถเคลื่อนย้ายไปมาในพื้นที่ต่างๆ ในนา โดยจะเคลื่อนย้ายเข้าในนาระยะหลังหว่านข้าวและจะเพิ่มปริมาณสูงในระยะข้าว แตกกอ
ทำความสะอาดไม่ให้นารก คันนา กำจัดวัชพืช และพืชอาศัยของ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

หนอนห่อใบข้าว
ชื่อสามัญอื่น : หนอนม้วนใบข้าว หนอนกินใบข้าว
หนอนห่อข้าวเป็นตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืน มีอยู่ 3 – 4 ชนิด ตัวอ่อนมีสีเขียว ใสปนเหลือง หัวสีน้้าตาล ท้าลายใบข้าวโดยตัวอ่อนจะใช้ใยเหนียวจากปาก ยึดขอบใบข้าวสองข้าง ติดกันตามความยาวของใบหุ้มตัวหนอนไว้ และอาศัยแทะกินผิวใบข้าวส่วนที่เป็นสีเขียวอยู่ภายในใบ ที่ห่อจนเหลือแต่เยื่อบางๆ เป็นทางสีขาวไปตามความยาวของใบ พบการท้าลายตั้งแต่เริ่มปักด้า ใหม่ๆ จนถึงระยะออกรวงการท้าลายจะรุนแรงมากในแปลงที่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูง หรืออยู่ในร่มเงา การท้าลายในระยะตั้งท้องท้าให้เมล็ดข้าวลีบ การป้องกันก้าจัดในระยะข้าวแตกกอ จะมีผลให้การ ท้าลายน้อยลงในระยะข้าวตั้งท้อ

วิธีการป้องกัน
ในพื้นที่ที่มีการระบาดเป็นประจำควรปลูกข้าว 2 พันธุ์ขึ้นไป โดยปลูกสลับพันธุ์กัน จะช่วยลดความรุนแรงของการระบาด
ทำความสะอาดไม่ให้นารก คันนา กำจัดวัชพืช และพืชอาศัยของ หนอนห่อใบข้าว
ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงชนิดเม็ดและสารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์หรือสารผสมสาร ไพรีทรอยด์สังเคราะห์ ในข้าวอายุหลังหว่าน 40 วัน เพราะศัตรูธรรมชาติจะถูกทำลาย ทำให้เกิดการระบาดของหนอนห่อใบข้าวรุนแรงได้ในระยะข้าวตั้งท้อง-ออกรวง
ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงเพื่อป้องกันการดื้อยาของเพลี้ยกระโดสีน้ำตาล ได้แก่ บิวเวอร์เรีย มิกซ์ฟูลาร์ การใช้สารชีวภัณฑ์ต้องเน้นการป้องกันมากกว่าการกำจัดเพื่อให้ประสิทธิภาพสูงสุด และการใช้งานให้ถูกต้อง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว