Sunday, 19 May 2024

เทคนิคปลูกมะระเงินแสน ของเกษตกร สุพรรณบุรี

คุณประหยัด ทัดดอกไม้ หรือที่เพื่อนฝูงรู้จักกันดี ในชื่อ เสี่ยโปน นับเป็นอีกคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จกับการปลูกมะระมาหลายรอบ เสี่ยโปน เล่าว่า ครอบครัวทำอาชีพปลูกผักมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าสืบทอดกันมาโดยตลอด เสี่ยโปนจึงอยู่กับอาชีพนี้มาตลอด โดยผักที่ปลูกก็จะมีอยู่ประมาณ 3 ชนิด คือ คะน้า คื่นช่าย และมะระ โดยจะวางแผนปลูกในช่วงที่คาดว่าร าคาน่าจะแพง แม้ผักจะเก็งร าคายากก็ตาม เสี่ยโปนบอกว่า ผักใบเสี่ยงตรงที่เก็บครั้งเดียวถ้าโดนร าคาก็โกย ถ้าไม่โดนร าคาก็เจ๊งเลย อีกทั้งร าคาเปลี่ยนแปลงเร็ว คาดการณ์ยากเหมือนกัน แต่มะระดีตรงที่สามารถเก็บผลผลิตได้นานหลายครั้ง ก็มีโอกาสที่จะโ ดนร าคาหรือขายร าคาแพงได้

ซึ่งโดยปกติแล้วมะระจะแพงช่วงที่ปลูกช่วงแล้งประมาณเดือน เม.ย.-พ.ค.และเก็บผลผลิตเมื่อเข้าฝนเพร าะทำยาก ค่อนข้างเสี่ยง คนปลูกน้อย เพร าะมะระที่ปลูกช่วงร้อนต้นจะไม่ค่อยโต แคระแกร็น เพลี้ยไร ไวรัสก็ระบาดหนัก กับอีกช่วงที่มะระมักจะมีร าคาแพงก็คือมะระที่ปลูกช่วงปลายฝนต้นหนาวนั้นมักจะมีปัญหา ยอดไม่ค่อยเดิน เถามักจะเหลือง เสี่ยงต่อเพลี้ ยไ ฟและไวรั ส ต้นโทรมเร็ว เก็บผลผลิตได้ไม่นาน จึงเป็นช่วงที่มีโอกาสโด นร าคา แปลงนี้เสี่ยโปนลงปลูกไป 12 ไร่

การปลูกมะระจะต้องเพาะกล้าก่อน ที่นี่จะใช้พันธุ์ ศรแดง เบอร์ 16 เพร าะเป็นพันธุ์ที่ติดดก ลายน้ำสวย ทรงผลสวย ก้นไม่แหลม ขนาดสม่ำเสมอเท่ากันทั้งผล เป็นที่ต้องการของตลาด โดยนำเมล็ดมาหยอดใส่ถุงดำ 12 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ 10 กระป๋องๆละ 1,200 บาท น่าจะประมาณ 500 หลุม เมื่อต้นกล้าอายุได้ 10-12 วัน ย้ายลงมาปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ ระยะการปลูก 1-1.2 เมตร การทำค้างของทางสวนจะใช้แบบกระโจมหรือสามเหลี่ยมซึ่งทำง่าย รวดเร็วและต้นทุนต่ำ ต้านลมได้ดี มะระ 12 ไร่ นี่ถ้าลงทุนค่าค้างใหม่เลยก็ประมาณ 30,000 กว่าบาท แต่เสี่ยโปนมีค้างเดิมอยู่แล้ว

หลังปลูกประมาณ 1 อาทิตย์ก็จะเริ่มให้ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยทุก 7 วันครั้งโดยจะใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-16 ในกรณีที่ยอดแตกไม่ค่อยดี ยอดไม่เดิน ยอดตัน ก็จะใช้ปุ๋ยสูตรตัวหน้าสูง อย่าง 25-7-7 พอยอดเดินดีแล้วก็ค่อยมาใช้ 16-16-16 พอมะระติดลูกแล้วเปลี่ยนมาใช้ 15-15-15 อัตร าการให้ปุ๋ยตอนนี้ก็ประมาณ 5 กระสอบ/ครั้ง เสี่ยโปนบอกว่า มะระถ้าปุ๋ยไม่พอ ลูกจะเล็ก ส่วนทางใบใช้ชุดทนแล้ง+แวกซีโกร+ดินดีฟู เพื่อช่วยให้ต้นเติบโตเร็ว เร่งต้น เร่งการแตกแขนง เถาเดินดี และใช้ธาตุอาหารเสริมรวม(เน้นแคลเซียม โบรอน สังกะสี) พ่นทุก 7 วัน

มะระเป็นพืชที่มีศัตรูพอสมควร ที่ชาวสวนกลัวกันมากก็คือ ไวรัส เพลี้ยไ ฟ ร าน้ำค้าง จึงต้องฉีดพ่นสารเคมีป้องกันไว้ตลอด โดยแปลงนี้เสี่ยโปนใช้สารป้องกันไวรัสฉีดพ่นอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันไวรัส ถ้าเจอเพลี้ยไฟก็จะใช้ คอนฟิดอร์ เอฟโฟเรีย เป็นหลัก ถ้ามีหนอนเจาะก็จะใช้โปรเคลม พรีวาธอน

หลังจากปลูกแล้ว 50-60 วันก็จะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งแรกหรือที่ชาวสวนนิยมเรียกกันว่ามีดแรกได้แล้ว ความถี่ในการเก็บ อย่างมีดที่ 1-4 ก็จะเก็บ 2 วันครั้ง ถ้าผลผลิตออกมาเยอะตั้งแต่มีดที่ 5 ไปจะต้องเก็บทุกวัน เพร าะเก็บ 2 วัน จึงจะหมดแปลง ปกติแล้วมะระดูแลดีๆจะเก็บได้ถึง 20 มีดขึ้นไป บางครั้งอาจไปถึง 30 มีด โดยจะให้ผลผลิตเยอะๆ ช่วงมีดที่ 5-10 ช่วงนี้จะเก็บได้มากถึง 4-5 ตัน หลังจากนั้นลูกก็จะเล็กลง เก็บได้น้อยลง หลังมีดที่ 10 ก็จะเหลือ 3 ตัน 2 ตัน ไปเรื่อยๆ แปลงนี้เสี่ยโปนเก็บมาแล้ว 12 มีด ยังดกอยู่เลย น่าจะเก็บได้ไม่ต่ำกว่า 20 มีดแน่นอน

หลังจากเก็บแล้วนำมาคัดแยกใส่ถุงๆละ 5 กก. คัดทั้งหมด 4 เบอร์ มีหน้า 3 หน้า 4 หน้า 5 แล้วก็ งอ ตัด หน้า 3 จะมีอยู่ประมาณ 6-7 ลูกต่อถุง แต่ถ้าเป็นหน้า 4 ก็จะมี 8-9 ลูกต่อถุง ถ้าเป็นหน้า 5 ก็จะมี 10-11 ลูกต่อถุง ราคาต่างกันไล่ระดับลงมาถุงละ 10 บาท ราคาตอนนี้ถ้าเบอร์สวยเลยก็จะเป็นหน้า 3 หน้า 4 ราคา 20 บาท/กก. ถุงละ 100 บาท หน้า 5 ราคา 90 บาท/ถุง แต่ถ้ามะระผลผลิตน้อยราคาอาจพุ่งไปสูงถึง 30 บาท/กก. แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 18-20 บาท/กก. ช่วงถูกที่สุดของมะระอยู่ที่ 4 บาท/กก. ราคานี้ชาวสวนข าดทุน ถ้ามะระราคา 10 บาท/กก. ชาวสวนก็ไม่ขาดทุนแล้ว โดยมะระ 12 ไร่ แปลงนี้ตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวลงทุนไปประมาณ 2 แสนบาท แปลงนี้เก็บมาแล้ว 10 กว่ามีด ถ้าราคานี้ไปตลอดก็น่าจะได้เงินกว่า 7-8 แสนบาท เหลือกำไรอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว จึงทำให้เสี่ยโปนเลือกที่จะปลูกมะระในช่วงแพงทุกรอบเพราะมันเกินคุ้มหากสามารถดูแลให้มะระมีผลผลิตเก็บเกี่ยวได้

ข้อมูลเพิ่มเติม คุณประหยัด ทัดดอกไม้(เสี่ยโปน) 25 ม.1 ต.บางคาเถร อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี 089-0016032
ขอขอบคุณ คุณสุนิสา ชาติกานนท์ (086-0162455) ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ชุดทนแล้ง-แวกซีโกร-ดินดีฟู-พุ่งปรี๊ด ที่พาเยี่ยมสวนในครั้งนี้