Thursday, 18 April 2024

วิธีและขั้นตอนการทําจุลินทรีย์สังเคราะห์ ไว้ใช้แทนปุ๋ย เ ค มี

สวัสดีสมาชิกทุกคนค่ะ พบกันอีกครั้งแล้วกับแหล่งความรู้และแนวไอเดียเกษตรที่มีเรื่องราวดีๆมากมายมานำเสนอผู้อ่านเพื่อเป็นความรู้ วันนี้เราจะพาทุกคนมาดูวิธีการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงและการขยายเชื้อของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง วิธีการทำและขั้นตอนเทคนิคเป็นของ อาจารย์นิติ ดวงวันทอง เจ้าของสวนเกษตรผสมผสานจังหวัดมหาสารคาม รายละเอียดต่างๆและขั้นตอนการทำแบบละเอียดเราไปรับชมกันต่อได้เลย

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงคือ จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่พบได้ทั่วไปตามธรรมชาติทั้งในดินและน้ำ ทำหน้าที่ กำ จั ด ข อ ง เสี ย ก๊าซและ ส า ร พิ ษ ต่าง ๆ

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเป็นสารอินทรีย์ที่หาได้ตามธรรมชาติ การทําจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเป็นการเพาะเลี้ยงเพื่อที่จะทำให้เป็นปุ๋ยไว้ใช้งานแทนปุ๋ยเคมี จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมีประโยชน์ต่อพืช สามารถใช้กับพืชผักสวนครัวได้ การทําจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมีทั้งหมด 3 สี จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสามารถนำไปย่อยโปรตีนให้กับพืช และยังมีกรดอะมิโนที่สามารถใช้แทนปุ๋ยได้ แถมยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยใช้ ซึ่งในปัจจุบันนี้ ชาวสวน ชาวเกษตร ต่างหันมาให้ความสนใจการใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์ เพราะช่วยประหยัดต้นทุน ประหยัดเวลา แถมใช้ผลได้ดีกันเลยทีเดียว ซึ่งการทำนั้นไม่ยุ่งยาก เรามาดูกันเลยต้องใช้อุปกรณ์อะไรกันบ้าง

เตรียมอุปกรณ์

1. ขวดพลาสติกเปล่าขนาด 1.5 ลิตร บรรจุน้ำ (สำหรับน้ำที่ใช้ทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงต้องเป็นน้ำจากบ่อธรรมชาติ เช่นน้ำฝน น้ำในบ่อ น้ำประปาที่ไม่ผ่านการผสมคลอรีน ไม่สามารถใช้น้ำดื่มบรรจุขวดสำเร็จรูปมาทำได้)
2. น้ำปลา , ไข่ 1 ฟอง , ช้อน , ถ้วย

วิธีทำ
1. ตอกไข่ลงไปในถ้วยแล้วผสมน้ำปลาเล็กน้อย (ให้ทำเหมือนเจียวไข่)
2. ละลายไขกับน้ำปลาให้เป็นเนื้อเดียวกัน ด้วยการใช้ช้อนคน

3. เติมไข่ที่ผสมแล้วลงไปในขวดบรรจุน้ำ ใช้อัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ
4.เขย่าขวดเพื่อให้น้ำผสมกันดี ซึ่งอุปกรณืต่างๆที่นำมาใช้เป็นอุปกรร์ที่สามารถหาได้เองใกล้มือเรา

การเก็บรักษา
หลังจากทำเสร็จให้นำไปตากแดด ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน สีน้ำก็จะถูกเปลี่ยนไปเป็นสีของจุลินทรีย์ วิธีการทำนี้เราไม่สามารถกำหนดสีของจุลินทรีย์ได้ขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำธรรมชาติที่เรานำมา ก็สามารถนำไปใช้งานได้เลย ส่วนสีที่ได้อาจจะเป็นสีแดงหรือสีเขียวก็ได้ครับ

การขยายเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่แล้ว
สำหรับวิธีการขยายเชื้อหรือการต่อเชื้อจุลินทรีย์ หลังจากที่ทำจุลินทรีย์ตามข้างบนแล้วให้นำจุลินทรีย์ที่มีสีเข้มแล้วมาเติมใส่ เทคนิคนี้เรียกว่าการต่อเชื้อครับ ส่วนอัตราส่วนที่ใช้ในการผสมให้เติมลงไปนิดหน่อยเท่านั้น การขยายเชื้อจะสามารถทำให้จุลินทรีย์นั้นใช้งานได้ไวกว่าโดยจะใช้ระยะเวลาเพียง 3 สัปดาห์เท่านั้นก็สามารถนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงไปใช้งานได้เลย

ตัวอย่างการใช้งาน
สามารถนำไปใช้งานรดน้ำผัก การใช้ในนาข้าว และยังสามารถนำไปใช้รดต้นไม้ที่เป็นไม้ผลไม้พืชไม้ดอกประดับ สำหรับอัตราส่วนที่นำไปใช้งานให้ใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 1000 เช่นจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 1 ส่วน ให้ใช้น้ำ 1,000 ส่วนเป็นยังไงบ้างค่ะ สำหรับวิธีการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงหวังว่าจะถูกใจหลายๆท่านนะค่ะ ยิ่งเป็นอาชีพเกษตรกร มั่นใจได้ว่าการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงวิธีนี้เป็นประโยชน์ให้กับทุกๆท่านอย่างแน่นอนและสามารถใช้งานจริงได้ หากท่านถูกใจสามารถนำไปทดลองประยุกต์ใช้ได้นะครับ