Saturday, 27 July 2024

5 เคล็ดลับง่ายๆ ที่ช่วยให้คุณเก็บเงินแสนได้ภายใน 1 ปี

การออมเงินที่เหมือนจะง่าย แต่กลับเป็นเรื่องยากสำหรับหลายๆคน ซึ่งเงินออมนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยเราได้หากเกินเหตุการณ์ฉุกเฉิน วันนี้เราจึงมาแนะนำเคล็ดลับ ที่จะช่วยให้คุณมีเงินเก็บ 1 แสนภายใน 1 ปี ด้วย 5 วิธีดังนี้

1.แบ่งบัญชีให้ชัดเจนเราควรเก็บเงินไว้ในแต่ละบัญชีให้ชัดเจน เวลาจะใช้จ่ายก็จะได้รู้ว่า เดือนนี้เราสามารถใช้เงินได้แค่เท่าไหร่ เงินสำหรับเก็บออม ก็ให้แยกไว้ในบัญชีเก็บออม เงินสำหรับใช้จ่ายรายเดือน ก็ให้แยกไว้ในบัญใช้จ่าย เงินสำหรับใช้หนี้ค่าบ้าน ค่ารถ ก็ให้แยกไว้อีกบัญชี เราจะได้ไม่หลงเอาเงินส่วนอื่นมาใช้ปะปนกับค่าใช้จ่ายประจำวัน แล้วสุดท้ายจะกลายไม่มีเหลือเก็บ

2 .อย่าให้รางวัลตัวเองมากเกินไปกว่าจะหาเงินมาได้แต่ละเดือน ใช้ร่างกายทำงานจนเหนื่อย เวลาเงินเดือนออกก็อยากจะให้รางวัลตัวเองบ้าง เช่น ซื้อกระเป๋า รองเท้า หรือของที่อยากได้(แต่ไม่ได้จำเป็น) ซึ่งสาเหตุนี้ก็มักจะทำให้เราไม่มีเงินเหลือเก็บได้เช่นกัน แต่ถ้าเราห้ามใจตัวเองได้แล้วเก็บเงินไว้ก่อน ก็จะช่วยให้เราเก็บเงินได้ตามเป้า

3.ทำอาหารกินเองมากขึ้นถ้าเราต้องซื้อข้าวข้างนอกตลอด ก็ทำให้รายจ่ายเราเพิ่มขึ้นและทำให้เรามีเงินเหลือเก็บน้อยลงได้ แน่นอนว่าค่าอาหารเป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องจ่ายทุกวัน แต่เราสามารถลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ได้ด้วยการทำกินเองที่บ้าน อาจจะไม่ต้องทำทุกวัน แต่ถ้าเราลองทำกินเองสักครึ่งเดือน อีกครึ่งเดือนอาจจะไปทานนอกบ้านบ้าง ก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลงได้ และทำให้เรามีเงินเก็บได้มากขึ้น

4.เก็บให้ได้เดือนละ 8,300 บาทหากใครขี้เกียจมานั่งเก็บรายวัน หรือเงินออกเป็นเดือน ก็หักจำนวนนี้ออมได้เลย ถ้าเราออมเงิน 8,300×12 = 99,600 รวมดอกเบี้ยก็ได้ครบแสนใน 1 ปีแล้ว

5 .เก็บเงินให้ได้วันละ 275 บาทถ้าใครมีรายได้เข้ามาเป็นรายวัน ก็หักใส่บัญชีออมได้เลยวันละ 275 บาท ถ้าเราออมเงิน 275×365 = 100,375 เท่านี้เราก็มีเงินเก็บครบแสนใน 1 ปีแล้ว

หากเรารู้ว่ารายได้ที่มีนั้นไม่พอต่อการเก็บออม เราก็ต้องมองหาช่องทางรายได้ทางอื่มเพิ่มขึ้น เพื่อที่จะได้มีเงินเหลือเก็บ หรือเราอาจจะเริ่มต้นจากจำนวนที่น้อยลง แต่ฝึกวินัยการออมให้เป็นนิสัยเมื่อเราเก็บเงินก้อนได้ ก็นำไปต่อยอดเพื่อให้เงิจำนวนนี้งอกเงยยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญไม่ใช่ว่าคุณเก็บเงินได้เดือนเท่าไหร่ แต่อยู่ที่วินัยในการออมและการวางแผนการเงินของคุณ เริ่มต้นลงมือทำตั้งแต่วันนี้เริ่มต้นเร็วเท่าไหร่ก็ได้เปรียบเท่านั้น

ขอบคุณแหล่งที่มา