Tuesday, 23 April 2024

4 วิธีแก้ดินเปรี้ยว ลดความเป็นกรด เติมธาตุอาหาร ให้สามารถปลูกพืชได้ผลดี

ดินเปรี้ยวหรือดินกรดจัด เป็นดินที่มีปัญหาเกี่ยวกับความเป็นกรดจัดของดิน โดยทั่วไปมีค่าความเป็นกรด เป็นด่าง ของดินต่ำกว่า 5.5 ปัญหาดินกรด ดินมีความเป็นพิษของไฮโดรเจนและอะลูมิเนียม ขาดธาตุอาหารพืช เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และโมลิบดีนัม เป็นต้น

ดินกรด จึงเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จำกัดการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืชที่ปลูก ขาดแคลนน้ำ สภาพความเป็นกรดจัดของดินมีผลทำให้ระบบรากพืชถูกจำกัดการเจริญเติบโต จำกัดการพัฒนาการของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน เช่น เชื้อไรโซเบียม ไมคอร์ไรซา และแอคติโนมัยซิส เป็นต้น มีแนวโน้มว่ามีกรดกำมะถันอยู่ในชั้นดินและจะต้องมีจุดสีเหลืองฟางข้าวอยู่ในดินชั้นล่างจึงทำให้ดินเป็นกรดสูง ลักษณะของดินเปรี้ยว ดินเปรี้ยวหรือดินกรดจัดจะมีดินชั้นบนเป็นดินเหนียวสีเทาหรือสีเทาเข้มถึงดำลึกประมาณ 20-40เซนติเมตรอาจจะมีจุดประสีนํ้าตาลหรือสีนํ้าตาลแดงโดยดินชั้นล่างเป็นดินเหนียวสีนํ้าตาลหรือสีนํ้าตาลปนเทาถึงสีเทามีจุดประสีเหลืองปนนํ้าตาลสีแดงหรือสีเหลืองฟางข้าว

ส่วนใหญ่เป็นลักษณะของดินเหนียวที่มีกรดกำมะถันอยู่มากในชั้นดินโดยชั้นดินที่ลึกลงไปประมาณฟุตจะสังเกตเห็นมีจุดสีเหลืองสีน้ำตาล พืชที่ปลูกบนพื้นที่ดินเปรี้ยวจะมีการเจริญเติบโตช้าสภาพต้นจะเตี้ยแคระแกร็น ใบไหม้ ไม่ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ย ผลผลิตถดถอยอ่อนแอต่อโรคและแมลงสภาพดินโดยรวมจะแน่นแข็งเนื่องจากโครงสร้างทางด้านระบบนิเวศน์ไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของจุลิทรีย์ขาดสิ่งมีชีวิตเข้ามาทำกิจกรรมหนุนเนื่อง ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตแบบแร้นแค้น

สาเหตุของการเกิดดินเปรี้ยว ดินเปรี้ยวเกิดจากการทับถ่มของตะกอนนํ้ากร่อยซึ่งเป็นบริเวณที่เคยได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลท่วมถึงมาก่อน เช่นบริเวณที่เคยเป็นป่าชายเลนและบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่นํ้าใหญ่ๆ โดยจุลลินทรีย์ในดินจะเปลี่ยนสารประกอบพวกกำมะถันในนํ้าทะเลให้เป็นแร่ไพไรท์ซึ่งเป็นสารประกอบของเหล็กและกำมะถันสะสมอยู่ในสภาพนํ้าขังต่อมาเมื่อฝั่งทะเลยื่นออกไปเรื่อยๆและถ้ามีการระบายนํ้าออกไปจนทำให้ดินแห้งก็จะเกิด การเปลี่ยนแปลงทางเคมีแร่ไพไรท์จะถูกเปลี่ยนแปลงไปในที่สุดจะได้กรดกำมะถัน

ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ดินเป็นกรดจัดและมักจะพบสารประกอบของเหล็กที่สำคัญตัวหนึ่งคือจาโรไซท์ที่มีสีเหลืองคล้ายฟางข้าวซึ่งเป็นสิ่งที่เราใช้สังเกตลักษณะของดินเปรี้ยว ดินเปรี้ยวส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเราใช้เป็นสิ่งสังเกตลักษณะของดินเปรี้ยวหรือจะสังเกตอีกวิธีหนึ่งจากตัวเลขที่ใช้น้ำยาตรวจและเทียบสีโดยค่าที่อยู่ตรงเลข7คือเป็นกลาง มากกว่า 7 เป็นด่าง น้อยกว่า 7 เป็นกรดยิ่งมีค่าน้อยมากเท่าไดก็เป็นกรดมากขึ้นเท่านั้น

วิธีสังเกตดินเปรี้ยว พื้นที่ที่พบดินเปรี้ยวมักเป็นพื้นที่ในบริเวณที่ลุ่มมีนํ้าแช่ขังปีละหลายๆเดือนในช่วงฤดูฝน นํ้าในบ่อคูคลองในพื้นที่ที่เป็นดินเปรี้ยวจะใสเหมือนแกว่งด้วยสารส้มมีรสเปรี้ยวและเฝื่อนเมื่อบ้วนนํ้าหมากลงไปนํ้าจะเปลี่ยนเป็นสีดำ พืชที่ขึ้นได้โดยธรรมชาติในบริเวณนี้มักมีลำต้นค่อนข้างแข็งเช่นกกทรงกระเทียมจูดหนูเป็นต้น เนื้อดินเป็นดินเหนียวเมื่อขุดลงไปจะพบสารสีเหลืองคล้ายกำมะถัน(จาโรไซท์) อยู่ในชั้นดินและลึกลงไปจะพบโคลนสีนํ้าเงินปนเทาและซึ่งเป็นดินตะกอนนํ้าทะเล

การแบ่งชนิดของดินเปรี้ยว ดินเปรี้ยวแบ่งออกเป็น ชนิดตามระดับความเป็นกรดดังนี้
1. ดินเปรี้ยวน้อยคือดินที่มีความเป็นกรดน้อยหรือดินที่มีค่าพีเอช(pH) ในช่วงระหว่าง4.7-6.0เช่นดินชุดบางนํ้าเปรี้ยวชุดฉะเชิงเทราชุดมหาโพธิ์ชุดอยุธยาชุดอยุธยา-มหาโพธิ์ชุดเสนาชุดท่าขวาง
2. ดินเปรี้ยวปานกลางคือดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่างหรือมีค่าพีเอช(pH) ในช่วงระหว่าง4.1-4.7เช่นดินชุดรังสิตชุดธัญญบุรีชุดดอนเมือง
3. ดินเปรี้ยวจัดคือดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่างหรือมีค่าพีเอช(pH) ตํ่ากว่า4.1เช่นดินชุดรังสิต

สาเหตุที่ดินเปรี้ยวใช้เพาะปลูกพืชไม่ได้ผล
1. เนื่องจากดินมีความเป็นกรดสูงหรือมี(pH) ตํ่าทำให้มีผลต่อเนื่องต่อพืชคือ
พืชดูดธาตุอาหารบางธาตุไปใช้ได้น้อยลงเช่นไนโตรเจนและแคลเซียม
พืชที่ปลูกจะขาดธาตุฟอสฟอรัสเนื่องจากฟอสฟอรัสเปลี่ยนไปอยู่ในรูปที่พืชใช้ประโยชน์ไม่ได้
ดินมีปริมาณธาตุอาหารบางธาตุอยู่ในปริมาณน้อยเช่นแมกนีเซียมและโปตัสเซียม
มีสารบางอย่างละลายออกมามากจนเป็นพิษต่อพืชเช่นเหล็กอลูมิเนียมและแมงกานีส
2. จุลินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตเล็กๆในดินไม่สามารถเจริญเติบโตได้และไม่สามารถดำเนินกิจกรรมได้ตามปกติทำให้ปริมาณไนโตรเจนฟอสฟอรัสและกำมะถันในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืชลดลงไปด้วย
3. เนื้อดินเปรี้ยวเป็นดินเหนียวอัดตัวกันแน่นระบายนํ้าและถ่ายเทอากาศได้ยากดินแข็งมากเมื่อแห้งและเป็นโคลนเหนียวจัดเมื่อเปียกทำให้การเตรียมดินก่อนการปลูกพืชทำได้ลำบาก

การปรับปรุงดินเปรี้ยว การปรับปรุงดินเปรี้ยวมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเป็นกรดและปริมาณสารที่เป็นพิษในดินรวมทั้งป้องกันการเกิดกรดเพิ่มขึ้นควบคู่กันไปกับการเพิ่มเติมธาตุอาหารพืชลงไปในดินเพื่อให้สามารถปลูกพืชได้ผลดี การปรับปรุงดินเปรี้ยวมีหลายวิธีการที่จะเลือกใช้วิธีใดหรือใช้หลายวิธีร่วมกันนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความจำเป็นและความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่วิธีการปรับปรุงดินเปรี้ยวมีดังนี้

1. การล้างดินเป็นการใช้นํ้าล้างกรดและสารที่เป็นพิษอื่นๆออกไปจากดินวิธีนี้สามารถใช้ได้ผลดีในบริเวณที่มีนํ้าเพียงพอ
2. การควบคุมระดับนํ้าใต้ดิน
วิธีนี้เหมาะสำหรับพื้นที่ดินเปรี้ยวที่เกิดใหม่หรือดินเปรี้ยวแฝงโดยการควบคุมระดับนํ้าใต้ดินให้อยู่ในระดับนํ้าที่เหมาะสม(หรือไม่ระบายนํ้าออกจากดินจนถึงระดับที่มีแร่ไพไรท์สะสมอยู่) ซึ่งจะทำให้เกิดการขาดออกซิเจนเป็นการป้องกันไม่ให้แร่ไพไรท์ที่อยู่ในดินถูกเปลี่ยนเป็นกรดรวมทั้งลดความเป็นพิษของเหล็กด้วย
3. การใส่วัสดุลดความเป็นกรดของดินเช่นปูนขาวปูนมาร์ลเปลือกหอยเผาหินปูนบดนอกจากจะช่วยลดความเป็นกรดของดินแล้วยังมีผลต่อเนื่องในการลดปริมาณสารเป็นพิษที่ละลายออกมามากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อพืชอีกด้วยในทางปฏิบัตินิยมใช้ปูนมาร์ลเพราะมีราคาถูกที่สุดและใส่เพียงครั้งเดียวก็สามารถแก้ความเป็นกรดของดินได้นาน 3-5 ปี โดยอัตราการใช้ปูนมาร์ลเพื่อปรับปรุงดินเปรี้ยวมีดังนี้ ดินเปรี้ยวน้อยควรใส่ปูนมาร์ลหรือปูนขาวไร่ละ 0.5 ตัน ดินเปรี้ยวปานกลางควรใส่ปูนมาร์ลไร่ละ1ตัน ดินเปรี้ยวจัดควรใส่ปูนมาร์ลไร่ละ2ตัน

4 การใส่ปุ๋ยเคมีควรใรการใส่ปุ๋ยเคมีแก่พืชที่ปลูกให้ถูกต้องตามสูตรอัตราและเวลาที่ราชการแนะนำ แล้วแต่ชนิดพืชเนื่องจากดินเปรี้ยว(โดยเฉพาะดินเปรี้ยวปานกลางถึงเปรี้ยวจัด) จะมีปัญหาการขาดไนโตเจนและฟอสฟอรัสอย่างรุนแรง

ขอขอบคุณที่มาจาก : kasetkawna.com