Thursday, 28 March 2024

แนะนำวิธีเลี้ยงไก่ ตามเกษตรทฤษฎีใหม่ สำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง

การเลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรือน สำหรับเป็นข้อมูลของเกษตกรมือใหม่ทุกๆท่าน รวมถึงพี่น้อง เกษตรท่านอื่นที่กำลังหัดเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นผู้เริ่มต้นเลี้ยงในครัวเรือนหรือผู้ที่คิดจะเลี้ยงเป็นอาชีพ ก่อนอื่นสิ่งหนึ่งที่เราควรรู้ก็คือ

บอกครบเลี้ยงไก่ไข่ไว้กินเองเริ่มจากไหน ดูแลไก่ยังไงบ้าง 3 สายพันธุ์ไก่ไข่ยอดนิยม
1 โรคไทยเป็นสายพันธุ์ที่พัฒนามาจากโรดไอแลนด์เรด
2 บาร์พลีมัทร็อก(Barred Plymouth Rock) เป็นสายพั น ธุ์ไก่ไข่ที่มาจากอเมริกาเหมือนโ s ดไอแลนด์เรด
3 เลกฮอร์นขาวหงอนจักร(White Leghorn) มีต้นกำเนิดจากประเทศอิตาลี มีสีขาวทั้งตัว หงอนสีแดงสดใสคล้ายกงจักร ให้ไข่ดกมาก ประมาณ 280 – 300 ฟองต่อปี เปลือกไข่จะมีสีขาวเหมือนไข่เป็ด

การสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่
สำหรับการเลี้ยงไก่ไข่ไว้กินเอง โรงเรือนเลี้ยงไก่อาจจะไม่ต้องทำเหมือนรูปแบบฟาร์ม แต่เน้นเป็นลานกว้าง ๆ ให้ไก่ได้คุ้ยเขี่ยตามธรรมชาติ แม่ไก่จะได้อารมณ์ดี มีความสุขและออกไข่มามีคุณภาพ แต่ถ้ามีพื้นที่จำกัด ควรสร้างโรงเรือนที่มีขนาดเหมาะสมกับจำนวนไก่ไข่ที่เลี้ยง ต้องไม่อึดอัดจนเกินไป และอากาศถ่ายเทสะดวก พื้นที่ 5 ตัว/ ตารางเมตร รอบโรงเรือนมีลานปล่อยอิสระ 10 -15 ตารางเมตร/ ตัว

ค่าโรงเรือนถ้าเป็นโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่เล็กๆ ควรเตรียมงบไว้อย่ างน้อย 15,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่หาได้สะดวกในท้องถิ่นนั้นๆ และค่าแรงในการจ้างคนสร้างโรงเรือนด้วยค่าอุปกรณ์ต่างๆ

1 ถาดให้อาหารไก่ ราคาประมาณ 60 – 70 บาท
2 รางอาหารไก่ ราคาประมาณ 50 – 60 บาท
3 กระปุกให้น้ำไก่ ราคาประมาณ 40 บาท

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่
1 การสร้างโรงเรือนเลี้ยงไข่ไก่ควรมีพื้นที่ให้ไก่หลบแดด/ หลบฝนได้
2 หันหน้าโรงเรือนไปทางทิศตะวันออก
3 มีรั้วป้องกันศัตรูและสั ทว์พาหะ
4 มีดินให้ไก่ขุดหลุม คลุกดินคลุกฝุ่น เพื่อทำความสะอาดร่างกายตัวเองจากไรแดง
5 มีตะกร้าหรือบ็อกซ์ใส่ฟางไว้สำหรับให้ไก่ออกไข่
6 มีไม้ย าวพาดในเล้าให้ไก่เกาะเวลานอน เพราะไก่จะไม่นอนหลับบนพื้นดิน
7 โรยวัตถุรองพื้น เช่น แกลบ ทราย ฟางสั บ เปลือกถั่ว uี้เลื่อย โดยครั้งแรกให้ใส่ที่ความหนาประมาณ 3-4 ซม. นับจากพื้นดิน ต่อไปทุก 2-3 เดือน ให้ใส่เพิ่มอีก ครั้งละ 1-2 ซม.
8 โรยปูนขาวบ้างเป็นครั้งคราว เพื่อกำจัดเ ชื้ อโ s คและช่วยให้วัตถุรองพื้นแห้งยิ่งขึ้น หมั่นกวนกลับวัตถุรองพื้นทุก 4-5 สัปดาห์ เพื่อลดกลิ่นและความชื้นในโรงเรือน
9 ปลูกผัก ผลไม้ไว้ด้วยก็ดี นำมาเป็นอาหารเสริมให้ไก่ได้

อาหารของไก่ไข่
สำหรับคนที่อย ากเลี้ยงไก่ไข่ไว้กินเอง สามารถให้อาหารสำเร็จรูปได้เลย หรือจะให้รำผสมกับปลายข้าวก็ได้ อาจจะมีการเสริมเศษผัก เศษอาหาร ผลไม้สุกตามฤดูกาลให้ไก่ด้วย แนะนำตะขบ เพราะออกลูกทั้งปี ไก่ชอบกินมาก
น้ำ สามารถให้น้ำประปาได้ แต่ควรพักน้ำก่อน โดยการรองทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน เพื่อกำจัดเ ชื้ อโ s คและให้ค ล อ รีนระเหยจนหมด หากตั้งให้รับแสงแดดจะใช้เวลา 1-2 วัน

ค่าอาหาร
1 อาหารสำเร็จรูป (30 Kg.) 450 บาท อยู่ได้ 45 วัน (สำหรับไก่ 15 ตัว)
2 รำข้าว (1 Kg.) ประมาณ 9.50 บาท
3 ปลายข้าว (1 Kg.) ประมาณ 11 บาท

การดูแลไก่ไข่
1 ไก่ไข่ที่อายุ 5 เดือนขึ้นไป ควรให้น้ำ 0.5 ลิตรต่อวัน หากขาดน้ำไข่จะฟองเล็ก
2 อาหารไก่ไข่ช่วงเริ่มให้ไข่ ควรให้ 1.5 – 2 ขีดต่อตัว
3 ทำความสะอาดเล้าไก่อยู่เสมอ อย่ าให้มีกลิ่นและอับชื้น เพื่อป้องกันไก่ติดเ ชื้ อ แนะนำให้โรยสเม็คไทต์บางๆ ทับมูลไก่หรือวัสดุรองพื้นในเล้า จะช่วยลดกลิ่น ไร และโ s คหน้าบ ว มในไก่ได้
4 พื้นที่เลี้ยงไก่ควรมีอากาศถ่ายเทสะดวก เ นื่ องจากไก่ไม่มีต่ อ มเหงื่อ จะระบายความร้อนได้จากการหายใจเข้า-ออกเท่านั้น
5 ล้างรางและเปลี่ยนน้ำวันละ 1 ครั้ง
6 ควรให้วัคซีนรวมถึงเสริมวิ ต า มิ นต่างๆ เพิ่มด้วย
7 ควรมีตาข่ายคลุมกันยุ งให้ไก่ตอนกลางคืน เพราะเป็นพาหะนำโรคบางชนิด

วิธีดูความพร้อมในการออกไข่
สามารถสังเกตได้จากหงอน ซึ่งจะใหญ่ขึ้น มีสีแดงสดใส และอ่อนนุ่ม อีกวิธีหนึ่งคือให้กดหลังของไก่ ถ้าเขาฟุบลงแสดงว่าพร้อมออกไข่แล้ว แต่โดยเฉลี่ยไก่ไข่จะเริ่มให้ไข่ฟองแรกเมื่ออายุ 4 เดือนขึ้นไป ไก่ไข่ออกไข่ได้กี่ปีจริงๆ แล้วไก่ไข่สามารถออกไข่ได้ถึง 3 ปีเลยทีเดียว แต่ฟาร์มไก่ไข่ส่วนใหญ่มักจะปลดระวางไก่หลังจากที่ออกไข่ไปแล้ว 12-18 เดือน เพราะหลังจากนี้จะออกไข่ได้น้อยลง และมองว่าได้ไม่คุ้มเสีย จึงขายเป็นไก่เ นื้ อแทน

ข้อควรรู้
อากาศที่ร้อนเกินไปมีผลต่อการออกไข่ที่น้อยลงประโยชน์ของการเลี้ยงไก่ไข่ไว้กินเอง
ประโยชน์ของการเลี้ยงไก่ไข่
1 ประหยัดเงินค่าซื้อไข่ระยะยาว
2 ได้กินไข่สด สะอาด ปลอดภั ยจากฮ อ ร์โ ม นเร่งไ ข่
3 หากไ ข่ไก่เยอะเกินไปจนกินไม่ทัน สามารถขายให้เพื่อนบ้าน เป็นรายได้เสริมได้
4 เมื่อปลดระวางไก่แล้ว ขายเป็นไก่เ นื้ อต่อได้

ขอบคุณแหล่งที่มา https://shortrecap.co/home-space

เรียบเรียงโดย เฟจธรรมะเกษตรก้าวหน้า