Friday, 19 April 2024

เปิดอาชีพใหม่ “เลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่า” แก่เกษตรกร

ส า ห ร่ า ย ส ไ ป รู ลิ น า ห รื อ ส า ห ร่ า ย เ ก ลี ย ว ท อ ง เป็นสาหร่ายขนาดเล็กมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เกษตรก้าวหน้าได้หาข้อมูลประกอบพบว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) เคยยืนยันว่า ไม่มีพืชชนิดใดมีความหลากหลายในคุณค่าทางโภชนาการเท่ากับสาหร่ายชนิดนี้ และในการประชุมเรื่อง “อาหารโลก” ขององค์การสหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2517

ได้มีการประกาศว่า สาหร่ายสไปรูลินาเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับอนาคต เป็นแหล่งโปรตีน มีอะมิโนโปรตีน เช่น ไอโซลิวซีน ลูซีน ไลซีน เมไธโอนีน เทรโอนีน ในปริมาณที่สูงกว่าเนื้อสัตว์ มีวิตามินจำพวกเบตาคาโรทีนสูงกว่าในผักถึง 25 เท่า มีธาตุเหล็กในปริมาณมากกว่าตับ 28 เท่า เป็นแหล่งรวมของวิตามินบี 12 จากคุณสมบัติดังกล่าว

การผลิตสาหร่ายเกลียวทอง

1. ก า ร เ พ า ะ เ ลี้ ย ง ส า ห ร่ า ย  

สายพันธุ์สาหร่ายเกลียวทอง ที่เพาะเลี้ยงในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เป็นสายพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกมาจากคลังเก็บสายพันธุ์สาหร่าย ของห้องปฏิบัติการสาหร่าย สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การเพาะเลี้ยงในห้องควบคุม นำสาหร่ายเกลียวทองที่ต้องการมาใส่ในหลอดแก้วปลายแหลมขนาด 200 มิลลิลิตร เพาะเลี้ยงในตู้ที่ควบคุมอุณหภูมิ 30oC ความเข้มข้นแสง 10-12 กิโลลักซ์ ช่วงเวลาให้แสง 16 ชม. และมืด 8 ชม. ให้อากาศที่มีแกสคาร์บอนไดออกไซด์ผสม 1-2% อาหารเพาะเลี้ยงใช้สูตรอาหาร Zarrouk’s ควบคุมการเจริญเติบโต โดยการวัดความเข้มเซลล์ (OD 560), pH, น้ำหนักแห้ง ฯลฯ และตรวจสอบการปนเปื้อนด้วยกล้องจุลทรรศน์

การเพาะเลี้ยงในอ่างขยายกลางแจ้ง ขยายหัวเชื้อสาหร่ายจากห้องควบคุม มาเพาะเลี้ยงกลางแจ้งในถาดโยก (Rocking tray) จำนวน 12 ถาดๆ ละ 6 ลิตร ใช้เวลาเพาะเลี้ยงประมาณ 1 สัปดาห์ จะส่งหัวเชื้อสาหร่ายทั้งหมดไปยังโครงการเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองสวนจิตรลดา 3 ที่สวนอุไทยธรรม ขยายต่อในอ่างน้ำวน ขนาด 250 ลิตร เพื่อเป็นกล้าเชื้อเริ่มต้นของอ่างผลิต

การเพาะเลี้ยงในอ่างผลิต เป็นอ่างซีเมนต์ขนาดใหญ่ จะใช้เวลาเพาะเลี้ยง 10-15 วัน จึงทำการเก็บเกี่ยว การเพาะเลี้ยงทุกขั้นตอนจะต้องควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญของสาหร่ายให้เหมาะสม 

2.   ก า ร เ ก็ บ เ กี่ ย ว  
         การเก็บเกี่ยวสาหร่ายเกลียวทอง โดยใช้ผ้ากรองละเอียดขนาด 30-50 ไมครอน กรองและล้างน้ำจนสะอาด จะเก็บเกี่ยวหมดทั้งอ่าง ล้างอ่าง นำน้ำเลี้ยงที่ผ่านผ้ากรองกลับอ่างเติมกล้าเชื้อสาหร่าย, สารอาหาร และทำการเพาะเลี้ยงต่อไป

3.   ก า ร ทำ แ ห้ ง  
         นำสาหร่ายเกลียวทองที่ผ่านการกรอง มาอบแห้งด้วยตู้อบลมร้อน อุณหภูมิ 60-70oC เวลา 6-8 ชม. นำไปบดละเอียด บรรจุในถุงฟอลย์ และส่งไปห้องบรรจุแคปซูล
        
         ผลิตภัณฑ์สาหร่ายเกลียวทองที่ผลิตออกมา จะผ่านมาตรวจคุณภาพความปลอดภัย และคุณค่าทางอาหารอย่างสม่ำเสมอ จากงานควบคุมคุณภาพและงานประกันคุณภาพ ของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

จึงได้รับความนิยมใช้เป็นวัตถุดิบหลักสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร งานวิจัยดังกล่าวมี สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เป็นเจ้าภาพในการสนับสนุนทีมวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการศึกษาแนวทางดังกล่าว ณ โรงเอทานอลมิตรผล กาฬสินธุ์ ของบริษัท มิตรผล ไบโอฟูเอล จำกัด โดยเริ่มต้นการวิจัยมาตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา (พ.ศ. 2561)

รศ.ดร.สมเกียรติ จตุรงค์ล้ำเลิศ หัวหน้าโครงการให้ข้อมูลที่เป็นรายละเอียดด้านวิชาการว่า ตามธรรมชาติพืชรวมถึงสาหร่ายล้วนต้องการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับสังเคราะห์แสง ซึ่งในระบบการเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลินาทั่วไป คาร์บอนไดออกไซด์ที่สาหร่ายตรึงมาจากอากาศไม่เพียงพออยู่แล้ว

จึงต้องมีการเติมอาหารเข้าไปช่วย ต้นทุนค่าอาหารจึงคิดเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนในการเลี้ยงสาหร่ายชนิดนี้/ครอป (ประมาณ 14 วัน) แต่ระบบฟาร์มเลี้ยงสาหร่ายอัจฉริยะที่เพิ่มเทคโนโลยีดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตเอทานอลที่มีค่าเฉลี่ยสูงถึง 200 ตัน/วันมาใช้ ด้วยการเติมคาร์บอนไดออกไซด์ให้สาหร่ายที่เลี้ยงไว้โดยตรงได้ จึงช่วยประหยัดค่าอาหารได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งได้ผลผลิตมากขึ้นกว่าเดิมถึง 20-30 เปอร์เซ็นต์ และไม่มีผลกระทบต่อคุณค่าเชิงโภชนาการแต่อย่างใด

เกษตรกรควรทำได้ง่ายไม่ยุ่งยาก ใช้แรงงานน้อยและผู้สูงอายุสามารถทำได้

เ ก ษ ต ร ก้ า ว ห น้ า ก็หวังว่า โครงการวิจัยนี้จะปิดจ๊อบได้ตามเป้าหมาย ช่วยให้เกิดอาชีพใหม่ที่ไม่เพียงช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มพูนขึ้น แต่สภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นยังเป็นประโยชน์ทางอ้อมที่ไม่อาจประเมินค่าได้จากโครงการวิจัยจากฝีมือคนไทยชิ้นนี้