Tuesday, 16 April 2024

เทคนิคแก้ไขปัญหา มะม่วงไม่มีลูก ด้วยปุ๋ยสูตรแบบธรรมชาติชีวภาพ

สาเหตุเกิดจาก เพลี้ยจักจั่นหรือแมงกะอ้า มักมาในช่วงมะม่วงออกดอก เพลี้ยจักจั่นจะทำลายโดยดูดกินน้ำเลี้ยงช่อดอกมะม่วง ทำให้ช่อดอกขาดน้ำเลี้ยงไม่สามารถเจริญต่อเป็นผลได้ ดอกจึงร่วง

และในขณะเพลี้ยจักจั่นดูดน้ำเลี้ยงจะขับถ่ายของเหลวมีรสหวานออกมาติดตามใบ และกิ่ง สารของเหลวนี้เป็นอาหารของราดำเป็นอย่างดีจึงเจริญเติบโตได้ดีตามช่อมะม่วงเป็นสีดำ ประกอบกับในช่วงเช้าของฤดูหนาว(ฤดูออกดอกของมะม่วง)มักมีหมอกซึ่งเพิ่มความชื้นสูง ยิ่งทำให้ส่งเสริมการเจริญเติบโตของราดำได้เป็นอย่างดี จึงระบาดได้อย่างรวดเร็ว

วิธีการป้องกันกำจัด

1. ใช้น้ำฉีดล้างช่อดอกและใบ ช่วยแก้ปัญหาช่อดอกและใบดำจากเชื้อราได้บ้าง การฉีดน้ำแรงพอช่วยให้ตัวอ่อนเพลี้ยกระเด็นออกมาจากช่อดอก เพื่อชะล้างมูลน้ำหวานที่เกิดจากเพลี้ยจักจั่น เพื่อป้องกันการเกิดราดำไม่ควรฉีดน้ำแรงในช่วงติดผลอ่อน อาจทำให้ผลร่วงได้

2. ใช้ควันไล่ให้เพลี้ยจักจั่นหนีไป โดยการสุมควันที่โคนต้นมะม่วงให้มีควันมาก ๆ ส่วนการกำจัดโดยใช้สารเคมีกำจัดนั้น ให้ทำก่อนที่จะระบาดมาก หรือทำในระยะที่ยังเป็นตัวอ่อน จะสามารถกำจัดได้ง่าย ถ้าปล่อยไว้จนเป็นตัวแก่จะมีปีกบินหนีไปยังต้นอื่น เมื่อคนเดินเข้าไปใกล้ หรือเมื่อพ่นยาฆ่าแมลงซึ่งจะทำให้การกำจัดไม่ค่อยได้ผล

3. ช่วงที่ดอกมะม่วงยังไม่บานให้ใช้กาวเหนียวสำหรับดักแมลงทาขวดน้ำพลาสติกหรือแผ่นพลาสติกสีเหลือง หรือลูกเหม็น ใส่ถุงตาข่าย แขวนไว้บริเวณใต้พุ่มมะม่วงหลาย ๆ จุดเพื่อดักและไล่เพลี้ยจักจั่น แต่ถ้าช่วงดอกบานไม่ควรใช้ลูกเหม็นเพราะกลิ่นลูกเหม็นทำให้แมลงที่ช่วยผสมเกสรเช่น ผึ้ง ตัวต่อ แตน ไม่กล้าเข้ามาผสม หรือใช้ขวดพลาสติกซึ่งจะเป็นขวดเปล่าน้ำดื่มที่ใช้แล้ว หรือขวดพลาสติกอื่นในลักษณะเดียวกันนี้
ผูกเชือกหรือลวดสำหรับใช้แขวนที่ต้นมะม่วง

จากนั้นให้ใช้น้ำมันเครื่องรถยนต์ หรือน้ำมันพืชก็ได้เช่นกัน ทาชโลมให้ทั่วทั้งขวดพลาสติกนั้น
นำขวดไปแขวนไว้ตามต้นมะม่วงหรือในทรงพุ่มมะม่วงต้นละประมาณ 3-4 ขวด มากน้อยแล้วแต่ตามประสงค์
ขั้นตอนต่อไปก็ให้สั่นกิ่งมะม่วง / เขย่าต้นมะม่วง เพื่อให้แมลงต่างๆ รวมทั้งเพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่นบินออกมา เมื่อมาสัมผัสโดนกับน้ำมันที่ทาไว้ ความเหนียวหนืดของน้ำมันจะทำให้แมลงติดไปไม่ได้ จากนั้นก็ไม่ต้องทำอะไรปล่อยให้ติดอยู่อย่างนั้นจะแห้งตายไปเอง ซึ่งวันหนึ่งควรเขย่าไล่แมลงเช่นนี้ประมาณ 2-3 ครั้ง เท่าที่จะมีเวลา

4. แมลงศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยจักจั่น ได้แก่ ผีเสื้อตัวเบียน แมลงวันตาโต แตนเบียน สำหรับตัวห้ำได้แก่ มวนตาโต กิ้งก่า และตุ๊กแก

5. ใช้น้ำยาล้างจาน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ซึ่งได้ทดลองแล้วได้ผลดีมาก

6. ใบสาบเสือ : ใช้ส่วนใบ/ต้นแก่แห้ง บดป่น 1 กก. แช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. หรือต้ม 1 ชม.ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 1 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร ศัตรูพืช หนอนกระทู้ หนอนใย หนอนคืบ เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย


7. ยาฉุน ใช้ส่วนต้นสดแก่จัด(แกนกลางมีสารมากที่สุด) และใบสดแก่ บดละเอียดหรือสับเล็ก 1 กก. แช่น้ำ 20 ลิตร นาน 48 ชม. หรือต้มพอเดือดแล้วปล่อยให้เย็น ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 1 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร …
ใช้ยาเส้นหรือยาฉุน 2 กก. ผสมน้ำ 100 ลิตร คนบ่อยๆ จนน้ำเป็นสีน้ำตาลไหม้ ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อล้วนๆ ไม่ต้องเจือจางน้ำ

ยาฉุนหรือยาเส้น 1 กก. ผสมน้ำ 2 ลิตร ต้มจนเดือดนาน 30-60 นาที ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อที่ได้เจือจางน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน
แล้วหลังจากดอกบานและติดผลเท่าเล็ดถั่วเขียวแล้วค่อยพ่นด้วยน้ำหมักปลีกล้วยอีกทุก 7 วัน และหยุดพ่นเมื่อผลโตเท่าหัวแม่มือ

แหล่งข้อมูล : senesouk
ที่มา : www.penkrasae.com