Friday, 19 April 2024

อย่ารีบทิ้ง “ต้อยติ่ง” สรรพคุณโคตรเยอะ เป็นยาแก้ปวด แก้พิษ และเป็นยาขับเลือด สมานบาดแผล ผดผื่นคัน

ต้อยติ่ง มีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ ต้อยติ่งไทย เป็นต้อยติ่งดั้งเดิมของบ้านเรา ซึ่งในปัจจุบันจะพบเห็นได้น้อยลงทุกที และอีกชนิดคือ ต้อยติ่งฝรั่ง เป็นชนิดที่พบเห็นได้ทั่วไปในช่วงฤดูฝน ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน ทั้งสองชนิดจะมีลักษณะของดอกที่คล้ายคลึงกัน แต่จะแตกต่างกันตรงส่วนของใบ ซึ่งใบของต้นต้อยติ่งฝรั่งจะมีขนาดเล็กกว่าต้อยติ่งไทย แต่ต้อยติ่งฝรั่งจะโตเร็วกว่าต้อยติ่งไทย

ต้อยติ่งชนิดที่ออกดอกเป็นสีม่วงคราม สีชมพู หรือดอกสีขาว จะพบได้ไม่บ่อยนัก ซึ่งชนิดนี้เราจะเรียกว่าต้อยติ่งฝรั่ง ลักษณะของใบจะเรียวยาวแคบ สรรพคุณทางยาของต้อยติ่งฝรั่งโดยรวมแล้วจะคล้ายคลึงกับต้อยติ่งไทย

ต้นต้อยติ่งฝรั่ง

ลักษณะของต้อยติ่งฝรั่ง
ต้นต้อยติ่ง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร (ถ้าเป็นต้อยติ่งไทยจะมีความสูงประมาณ 60-100 เซนติเมตร) ตามลำต้นจะมีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่เล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นได้ง่ายตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป สามารถเพาะปลูกได้ง่าย จึงนิยมนำมาปลูกไว้ตามหน้าบ้าน
ต้นต้อยติ่ง

ใบต้อยติ่ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อของลำต้น แผ่นใบมีสีเขียว ลักษณะใบเป็นรูปมนรี ปลายใบมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบไม่มีจักและอาจมีคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 นิ้ว และยาวประมาณ 2.5-3 นิ้ว
ดอกต้อยติ่งฝรั่ง ออกดอกเป็นช่อหรือบางทีออกเป็นดอกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบบริเวณส่วนยอดของต้น ดอกเป็นสีม่วง ดอกมีลักษณะเป็นรูปกรวย ปลายดอกแยกออกเป็น 5 กลีบ กลางดอกมีเกสร 4 ก้าน แบ่งเป็นก้านสั้น 2 ก้านและก้านยาว 2 ก้าน
ดอกต้อยติ่งดอกต้อยติ่งฝรั่ง

ผลต้อยติ่ง หรือ ฝักต้อยติ่ง (เม็ดเป๊าะแป๊ะ, เมล็ดต้อยติ่ง) ผลมีลักษณะเป็นฝักยาว มีความยาวได้ประมาณ 1 นิ้วกว่า ถ้าฝักได้รับความชื้นหรือถูกน้ำมาก ๆ ก็จะแตกออกเป็น 2 ซีก ภายในฝักมีเมล็ดอยู่ 8 เมล็ด
ดอกต้อยติ่งเทศเม็ดเป๊าะแป๊ะ
สมุนไพรต้อยติ่ง จัดเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่มีดอกสวยงามที่คนส่วนใหญ่จะคุ้นตากันอยู่บ้าง ยิ่งในหน้าฝนต้อยติ่งจะออกดอกสีม่วงบานสะพรั่งไปทั่วริมทางหรือบริเวณริมสระน้ำ ยิ่งใบสีเขียวเข้มของมันยิ่งช่วยขับให้ดอกดูมีความโดดเด่นยิ่งนัก หลาย ๆ คนอาจชมความงามของมันในฐานะที่มันเป็นวัชพืช ตอนเด็ก ๆ เรามักใช้ใบไม้ ดอกไม้ นำมาทำเป็นของเล่นเพื่อความสนุกสนาน ต้อยติ่งก็เช่นกัน โดยจะเก็บเมล็ดแก่ ๆ ใช้น้ำหยดแล้วขว้างใส่กันสนุกสนานเหมือนกับการเล่นปาระเบิด เสียงดังเปรี๊ยะ…ปร๊ะ ซึ่งไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด แต่คุณรู้หรือไม่ว่าวัชพืชที่ว่านี้ไม่ใช่วัชพืชที่ไร้ประโยชน์ เพราะต้อยติ่งสามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้อีกมากมาย ไปดูกันเลย…

สรรพคุณของต้อยติ่ง
รากใช้เป็นยารักษารักษาโรคไอกรน (ราก)
รากใช้เป็นยาขับเลือด (ราก)
รากต้อยติ่งสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคไตได้ (ราก)
รากช่วยดับพิษในร่างกาย (ราก)
ช่วยทำให้อาเจียน (ราก)

ใบใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ (ใบ)
รากหากนำมาใช้ในปริมาณที่เจือจางสามารถช่วยจำกัดสารพิษในเลือดได้ (ราก)
ช่วยบรรเทาอาการสารพิษตกค้างในปัสสาวะ (ราก)
ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ (ราก)
ใบใช้พอกแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ (ใบ)
เมล็ดใช้พอกฝีเพื่อดูดหนองและช่วยลดการอักเสบ (เมล็ด)
เมล็ดใช้พอกแผลเรื้อรัง ช่วยสมานบาดแผล แผลมีฝ้ามีหนอง และช่วยเรียกเนื้อ (เมล็ด)
เมล็ดมีสรรพคุณช่วยทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น (เมล็ด)
เมล็ดช่วยแก้อาการผดผื่นคัน (เมล็ด)

ต้อยติ่งทั้งต้นเอาชนิดที่ไม่แก่ ดอกยังไม่ร่วงโรย นำมาถอนเอาทั้งรากไม่ให้รากขาดและอย่าให้เมล็ดแตก ประมาณ 4-5 ต้น แล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาด โขลกต้นเอาแต่น้ำมาดื่ม จะช่วยแก้อาการปวดเข่า ขาชา ร้าวลงได้ ซึ่งใช้เวลาในการรักษาเพียง 7 วันก็หาย (ทั้งต้น)
รากใช้ผสมเป็นยาแก้พิษ ดับพิษ และทำเป็นยาเบื่อ (ราก)
ประโยชน์ของต้อยติ่ง

ฝักใช้เป็นของเล่นของเด็ก ๆ ด้วยการสะสมฝักแก่จัด (สีน้ำตาลเข้มเกือบดำ) เก็บไว้ในที่แห้ง เมื่อมีโอกาสก็นำมาจุ่มน้ำ (หรือน้ำลาย) แล้วเอาไปโยนใส่เพื่อน ๆ สักพักหนึ่งฝักก็จะแตกตัวออกดังแป๊ะ พร้อมกับดีดเมล็ดออกโดยรอบ ทำให้เพื่อนตกใจหรือเจ็บ ๆ คัน ๆ หรือบางครั้งก็แอบเอาไปใส่ในกระเป๋าเสื้อ กระเป๋ากางเกง หรือแม้แต่คอเสื้อ ซึ่งแม้จะรู้ตัวแต่ก็มักจะเอาออกไม่ทัน ฝักก็จะแตกออกเสียก่อน (ฝัก)

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5, ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, เว็บไซต์ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, เว็บไซต์หมอชาวบ้าน (เดชา ศิริภัทร), หนังสือสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2516, เว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)