Friday, 29 March 2024

อดีตหัวหน้าภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม และรองคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ทิ้งเงินเดือนหลักแสน เปิดบ้านเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

ศาสตร์พระราชา” ไม่เพียงแต่จะสร้างแรงบันดาลใจให้คนในอาชีพเกษตรกรเท่านั้น ยังส่งแรงกระเพื่อมโดยตรงถึงคนในอาชีพอื่นๆ ที่มีความฝันอยากเดินตามรอยพ่อของแผ่นดิน ด้วยแนวทางศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น ต่อวงศ์ ปุ้ยพันธวงศ์” อดีตหัวหน้าภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม และรองคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ดีกรีปริญญาโทด้าน การอ อก แบบอุตสาหกรรม จาก กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

อาจารย์หนุ่มอนาคตไกลในวงการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ผู้นำศาสตร์และศิลป์มาออกแบบชีวิตให้อยู่กับธรรมชาติตามรอยศาสตร์พระราชาอย่างมีสุนทรียะ ริเริ่มการรวมกลุ่มทำงานเป็นทีมในกลุ่มชุมชนกสิกรรมธรรมชาติตามลุ่มน้ำเพชรบุรี (ชตพ.) เปิดบ้านเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้าน ไร่ยายลิ้ม มุ่งมั่นสืบสานศาสตร์พระราชาให้เป็นทางรอดอย่างยั่งยืน

พ่อแม่ผมเป็นคนนครศรีธรรมราช พ่อรับราชการ ย้ายบ้านไปหลายจังหวัด จนมาปักหลักอยู่ที่เพชรบุรี พ่อเลี้ยงลูกแบบให้อิสระทางความคิด แต่จะคอยเตือนให้เป็นคนดีมีศีลธรรม โตขึ้นผมเข้ามาเรียนกรุงเทพฯ ที่ ร.ร.อำนวยศิลป์ ชอบวิชาเขียนแบบและทำได้ค่อนข้างดี สอบได้ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถ าบั นเท คโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรียนการออกแบบทุกอย่างตั้งแ ต่ ไม้จิ้มฟัน ยันของชิ้นใหญ่ๆ

จากวัสดุทุกประเภท ซึ่งผมเลือกเรียนด้านเ ฟอร์ นิเจอร์ พอจบมีองค์กรใหญ่มาทาบทาม แต่ผมคิดว่าเราจะได้เรียนรู้งานเฉพาะจุด จึงเลือกไปทำงานกับบริษัทเล็กๆ ที่เพิ่งเปิดใหม่ ได้ทำ ทุกอย่างจริงๆ ตั้งแต่เริ่มต้นกิจการกับเขา ทำให้ผมได้เรียนรู้ทั้งด้านการบริหาร การตลาด จิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ และทุกๆ อย่าง รวมถึงการออกแบบให้สวยงามมีศิลปะ และตอบโจทย์ลูกค้าด้านการใช้งาน จนถูกปลูกฝังด้านความคิดว่า ทำอะไรก็ตามต้องทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อกำไรสูงสุด”

ภายหลังสอนหนังสือได้ 4 ปี ได้ทุนไปเรียนต่อปริญญาโทด้านการออกแบบอุตสาหกรรมจาก เซ็นทรัล เซนต์ มาร์ตินส์ คอลเลจ ออฟ อาร์ต แอนด์ ดีไซน์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ วิทยาลัยเก่าแก่ด้านศิลปะของยุโรป “ต่อวงศ์” ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้นำสิ่งที่เรียนรู้จากต่างประเทศมาถ่ายทอดให้ศิษย์ ทำให้ภาควิชาการออกแบบเฟอร์นิเจอร์เป็นที่นิยมมากขึ้น มีคนเลือกเรีย นสูงเป็น อัน ดับหนึ่งของ คณะสถาปัตย์ฯ และทำให้เกิดเงินทุนให้คณะฯ สูงถึง 20 ล้านบาท

ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในคณะ เมื่อเป็นหัวหน้าภาควิชาอยู่ 6 ปี จึงถอยกลับมาอยู่ในฐานะอาจารย์ผู้สอน และทำงานด้านวิชาชีพเสริมเพื่อหาประสบการณ์เพิ่มความรู้ควบคู่ไปด้วย ช่วงนั้นได้เริ่มกลับมาที่ของยายลิ้ม คุณยายของภรรยา ที่ อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี สมัยก่อนถือว่าเป็นพื้นที่กันดารมากๆ ก็เริ่มสร้างบ้านด้วยหลักการสร้างบ้านไทย ซึ่งทันสมัยเหมาะกับสภาพอากาศบ้านเรา จึงไม่ต้องติดแอร์ และเริ่มทำตัวเป็นเกษตรวัน หยุด ทุกเย็นวันศุกร์ จะขับรถกลับมาที่เพชรบุรี

ต่อวงศ์” วางแผนภาพชีวิตตัวเองในอนาคตเอาไว้คร่าวๆ ว่า อยากเกษียณตอนอายุ 50 และอยากมีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ อยากชิล อยากลั้นลานั่นเอง ยังไม่ได้ใส่ใจจริงจังกับเรื่องศาสตร์พระราชา และเมื่อ ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล อดีตคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. บอกว่าเขามีวิธีคิดในการทำงานใช้ศาสตร์พระราชา ทำให้เขาจำไม่ลืม กระทั่งได้พบกับ อาจารย์ยักษ์-วิวัฒน์ ศัลยกำธร นายกสมาคมดินโลก ที่ปรึกษามูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และอดี ตรัฐม นตรีช่วยว่ าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงปวารณาตัวขอเป็นศิษย์ เลือกแนวทางกสิกรรมตามอาจารย์ยักษ์ เริ่มทำที่ของตนเองให้เห็น ก่อนจะไปช่วยทำให้คนอื่น เป็นตัวอย่างที่จับต้องได้

ผมเริ่มเดินตามอาจารย์ยักษ์ ทำงานอยู่ 2 ปี เรียนรู้ ลงมือทำ กลับมาจดสรุปเป็นมายด์แม็ปว่า คุยกับยักษ์ ได้อะไร ทั้งศาสตร์พระราชา หลักกสิกรรม ดิน น้ำ ป่า คน ข้อธรรมะ จึงกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่เป็นทางออก ผมลาออกตอนอายุ 46 ปีเลย ก่อนเป้าหมายที่วางไว้ ท่ามกลางความแปลกใจของคนรอบข้าง ทิ้งรายได้เกือบแสนต่อเดือน เหลือเงินบำนาญ 9,300 แทน เพราะอาจารย์ยักษ์ทำให้ผมตระหนักในความรู้มากขึ้น ถ้าย้อนกลับดูวิชาที่เราเรียนมา เป็นวิชาที่ว่าด้วยศิลป์และศาสตร์ คนเรียนดีไซน์จะต้องผสมทุกอย่างให้อยู่ด้วยกันได้ เป็นศิลปะของการประนีประนอม แล้วสิ่งที่พระราชาทรงทำมาตลอดทั้งหมด จริงๆ แล้ว คืองานศิลปะ การทำความเข้าใจ พื้นที่ ภูมิประเทศ ดิน ฟ้า อากาศ ให้สอดคล้องกัน”

ทุกวันนี้ “ต่อวงศ์” ยังคงเป็นครู ทำบ้านไร่ยายลิ้มเป็นศูนย์เรียนรู้ บนเนื้อที่ 3 ไร่เศษ โดยมีอาจารย์ยักษ์ช่วยมาดูแลให้คำแนะนำ นอกจากนี้ยังรวมกลุ่มกับเพื่อนๆ ที่ทำเกษตรผสมผสาน บางคนทำเกษตรท่องเที่ยวตามศาสตร์พระราชา บางคนเป็นปราชญ์ชาวบ้าน หมอดิน หลายคนเป็นเกษตรกรมือใหม่ ข้าราชการ ผู้บริหารระดับสูง เจ้าของกิจการ แพทย์แผนไทย กราฟิกดีไซเนอร์ เกิดเป็น “ชุมชนกสิกรรมธรรมชาติตามลุ่มน้ำเพชรบุรี” ครอบคลุมพื้นที่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สมุทรสงคราม ไปจนถึง กาญจนบุรี และเข้าร่วมกิจกรรมเอามื้อของโครงการพลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน ในการขยายผลศาสตร์พระราชา

ส่วนอีกความฝันของเขา อยากเขียนตำราการออกแบบที่เอาศาสตร์พระราชาเข้ามาประกอบ ตั้งแต่วิธีคิด หลักการของพระราชา ไปจนถึงระบบธุรกิจใหม่ๆ ที่ทำเพื่อสังคม เข้ามา ผสมผสา นกับงาน ออกแบบ งานดีไซน์ งานสร้างสรรค์ “ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงสอนว่า Our loss is our gain การให้ไม่มีทางขาดทุน ไม่ว่าจะเป็นการให้ในรูปแบบใด ผมเชื่อว่าจะเป็นการสร้างสรรค์แบบทวีคูณ น่าจะเกิดมุมมองใหม่ มิติใหม่ของการออกแบบ เกิดผลิตภัณฑ์อีกมากมายที่สะท้อนความเป็นศาสตร์พระราชา และจะทำให้สังคมดีขึ้นอีกเยอะเลย เพราะผมเชื่อมั่นและศรัทธาเสมอว่า ศาสตร์พระราชา คือ ทางรอดอย่างยั่งยืนของคนไทยอย่างแท้จริง”

ที่มา : thairath