Friday, 19 April 2024

หลายคนยังไม่รู้ “เจ้าของบ้าน” กับ “เจ้าบ้าน” ที่ถูกระบุไว้ในทะเบียนบ้าน เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

บางคนอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ อำนาจหน้าที่ของเจ้าบ้าน อันถูกปรากฎชื่อในทะเบียนบ้าน ว่าสามารถมีอำนาจเต็มที่ในการบริหารจัดการสมาชิกในบ้านเท่านั้น

เจ้าบ้านในทะเบียนบ้านกับเจ้าของบ้านแตกต่างกันอย่างไร
เจ้าของบ้าน คือ เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน มีอำนาจใช้สอย จำหน่าย จ่ายโอน ได้ดอกผลจากการติดตามและเอาคืน
ชื่อเจ้าบ้าน ในทะเบียนบ้าน ไม่มีสิทธิไล่ หรือ คัดชื่อคนในทะเบียนบ้านออก ยกเว้นชื่อเจ้าบ้านเป็นชื่อเดียวกับเจ้าของบ้านเท่านั้น
หลายคนเริ่มอาจสงสัยความหมายของคำว่า ” เ จ้ า ข อ ง บ้ า น ” กั บ ” เ จ้ า บ้ า น “ ที่ถูกระบุไว้ในทะเบียนบ้าน นั้นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เพราะดูเหมือนบางคนอาจจะเข้าใจผิดกับอำนาจกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง ซึ่งตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2538 ได้อธิบายบทบาทของทั้ง 2 คำว่าไว้

เ จ้ า บ้ า น ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้าน ในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือ ในฐานะอื่นใดก็ตาม โดยในกรณีที่ไม่ปรากฎเจ้าบ้านหรือไม่อยู่ ตาย สูญหาย สาบสูญ หรือไม่สามารถปฏิบัติกิจการได้ ให้ถือว่าบุคคลผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านในขณะนั้นเป็นเจ้าบ้าน
เ จ้ า ข อ งบ้ า น เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย โดยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายถึง ผู้ทรงกรรมสิทธิ์ หรือผู้มีอำนาจใช้สอย จำหน่าย จ่ายโอน ปล่อยเช่า ได้ดอกผลจากการติดตามและเอาคืน ซึ่งทรัพย์สินของตนรวมถึงขัดขวางมิให้ผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบกฎหมาย

หน้าที่ของเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านมีอะไรบ้าง
เมื่อเข้าใจความหมายของคำว่าเจ้าบ้านแล้ว มารู้บทบาทสิ่งที่คนเป็นเจ้าบ้านต้องทำ ซึ่งตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ได้กำหนดให้ผู้เป็นเจ้าบ้าน มีหน้าที่ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนดังต่อไปนี้
1. แจ้งคนเกิดในบ้าน
2. แจ้งคนตายในบ้าน
3. แจ้งคนย้ายเข้า-ย้ายออก
4. สร้างบ้านใหม่หรือรื้อถอน
5. ขอเลขที่บ้าน

โดยการแจ้งเกิด ย้ายเข้า-ออก สร้างบ้านใหม่หรือรื้อถอน และขอเลขที่บ้าน ต้องแจ้งภายใน 15 วัน ส่วนการแจ้งตายต้องแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือพบศพ และถ้าไม่ปฏิบัติจะต้องเสียค่าปรับ 1,000 บาท

ทั้งนี้ หากเจ้าบ้านมีกิจธุระไม่สามารถมาแจ้งด้วยตนเองได้ สามารถมอบอำนาจให้สมาชิกภายในบ้านเข้ามาแจ้งกับเจ้าหน้าที่ได้ โดยเจ้าหน้าที่จะระบุว่าบุคคลอันได้รับมอบหมาย เป็นผู้ดูแลบ้านแทนเจ้าบ้าน

ใครเป็นผู้มีสิทธิ? คัดชื่อคนในทะเบียนบ้านออก
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า กรรมสิทธิ์ของชื่อเจ้าบ้านอันถูกระบุไว้ในทะเบียนบ้านนั้น จะสามารถทำกิจการใด ๆ ได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นคัดชื่อ เข้า ออก ทั้งการอยู่เอง หรือเช่า จะต้องมีความเกี่ยวข้องกับทะเบียนราษฎรเท่านั้น แต่จะไม่มีสิทธิครอบครองบ้าน

ดังนั้นหากวันดีคืนดีเกิดไม่พอใจสมาชิกในบ้าน แล้วต้องการไล่ออกจากบ้าน พร้อมคัดชื่อออก กรณีนี้เจ้าบ้านไม่มีสิทธิทำได้ ยกเว้นชื่อเจ้าบ้านเป็นชื่อเดียวกับเจ้าของบ้านเท่านั้น

วันดีคืนดี เจ้าบ้านหายตัวหรือตายไป กรรมสิทธิ์เป็นของใคร?
หากเกิดเหตุการณ์เจ้าบ้านที่ปรากฎชื่อในทะเบียนบ้าน ได้เกิดหายตัวหรือตายไปจนระยะเวลาล่วงเลยไปกว่า 180 วัน สามารถไปแจ้งสำนักงานเขตเพื่อแก้ไข โดยสามารถคัดชื่อเจ้าบ้านไปทะเบียนกลางได้ พร้อมคัดชื่อเจ้าบ้านใหม่ จากความเห็นชอบของสมาชิกในบ้าน

ขอบคุณข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน