Friday, 19 April 2024

วิธีสร้างโรงเรือนเลี้ยงโค สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเป็นที่พักอาศัย

โรงเรือนโคขุนหรือโรงเรือนเลี้ยงโค ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคสำหรับเป็นที่พักอาศัยของโค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงโคขุนที่จำเป็นต้องเลี้ยงโคในโรงเรือนเพื่อขุนโคให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น สถานที่
1. ควรเป็นที่ดอน ระบายน้ำได้ดี หรืออาจจะต้องถมพื้นที่ ให้สูงกว่าระดับปกติเพื่อไม่ให้น้ำขังในฤดูฝน
2. ควรมีทางให้รถบรรทุกเข้าออกได้ เพื่อความสะดวกในการนำโคเข้าขุนและส่งตลาด
3. ควรให้ความยาวของคอกอยู่ทิศตะวันออก-ตะวันต ก
4. วางแผนให้สามารถขยายกิจการได้ในວนาคต

ขนาดของคอก
1. โรงเรือนอาจะประกอบด้วย คอกขังเดี่ยวหลายๆ คอกตามจำนวนโคที่ต้องการขุน แต่ละคอกควรมีขนาด กว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร
2. หากต้องการขุนแบบรวมหลายตัวในคอกเดียวกัน พื้นที่คอกไม่ควรน้อยกว่า 8 ตารางเมตร/ตัว ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวควรมีหลังคาอยู่ประมาณ 1 ใน 3 ก็เพียงพอแล้ว ส่วนที่เหลือให้เป็นที่โล่งหรือมีร่มไม้ก็ยิ่งดี
3. ถ้าพื้นที่ต่อตัวน้อยเกินไป จะมีปัญหาเรื่องพื้นคอกแฉะ แม้กระทั่งฤดูแล้ง แต่ถ้ามากเกินไปก็จะต้องเสี ยพื้นที่มากและเปลืองค่าใช้จ่ายในการสร้างคอกมากขึ้น
4. ถ้าจะสร้างหลังคาคลุมพื้นที่คอกทั้งหมดก็ได้ มีข้อดีที่ไม่ทำให้พื้นคอกแฉะในฤดูฟน แ ต่ ก็มีข้อเสี ยหลายประการคือ สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุและโคอาจจะขาดวิตามินดี เพราะไม่มีโอกาสได้รับแสงแ ด ดเลย

พื้นคอก
1. พื้นคอกสามารถเทคอนกรีต ทั้งหมดได้ก็เป็นการดี เพราะในฤดูฝนได้จะช่วยได้เยอะมาก แต่ถ้าต้องการประหยัดก็อาจจะเทคอนกรีต เฉพาะพื้นคอกส่วนที่อยู่ใต้หลังคาก็ได้
2. พื้นคอนกรีตหนา 7 ซ.ม. โดยไม่ต้องผูกเหล็ก สามารถรับน้ำหนักได้ สำหรับฟาร์มขนาดใหญ่ ถ้าต้องการให้รถแทรกเตอร์ รถไถ เข้าไปในคอกได้ จำเป็นจะต้องเทคอนกรีตให้หนา 10 ซ.ม. และผูกเหล็กหรือไม้รวกก็ได้
3. ผิวหน้าของพื้นคอนกรีต ควรทำให้หยาบ และพื้นคอกควรลาดเอียงจากด้านหน้าลงด้านหลังคอก ประมาณ 2-4% หรือทำมุมประมาณ 15 องศากับพื้นราบ เพื่อให้น้ำสิ่งต่างๆลงท้ายคอกได้ง่ายขึ้น
4. พื้นคอกส่วนใหญ่ ที่เป็นคอนกรีตใต้หลังคา ควรจะปูด้วยวัสดุที่ซับความชื้นได้ดี ได้แก่ แกลบ ฟาง หรือซังข้าวโพด เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดคอกทุกวัน การเปลี่ยนวัสดุรองพื้นคอกควรทำ 1-2 ครั้งต่อเดือน
5. ควรทำบ่ากั้นแกลบไม่ให้ไหลจากส่วนใต้หลังคาคอนกรีตไปยังส่วนที่เป็นพื้นดิน
6. การปูวัสดุรองพื้นนี้อาจจะไม่จำเป็นเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ผู้เลี้ยงโคขุนบางรา ยนิยมการล้างทำความสะอาดพื้นคอกทุกวัน ซึ่งได้ผลดีเช่นเดียวกัน แต่สิ้นเปลืองแรงงานค่อนข้างมาก จากประสบการณ์สรุปว่าในฤดูแล้งควรใช้วิธีปูวัสดุรองพื้น ส่วนในฤดูฝนควรใช้วิธีทำความสะอาดคอกทุกวัน
7. มีผู้ทดลองใช้ซีเมนต์บล็อคเป็นพื้นคอกแทนการเทคอนกรีต ปรากฏว่าไม่สามารถทนน้ำหนักได้

หลังคา
1. สามารถทำด้วยวัสดุต่างๆ กัน เช่น กระเบื้อง สังกะสี จาก หรือ เเฝก
2. ถ้าหลังคามุงด้วยสังกะสี ควรให้ชายล่างหลังคาสูงจากพื้นดินประมาณ 250 ซ.ม. มิฉะนั้นจะทำให้อากาศภายในคอกในฤดูร้อน
3. ถ้าหลังคามุงจาก หรือแฝก ชายล่างของหลังคาควรให้สูงจากพื้นดิน 250 ซ.ม. เช่นกัน ถ้าต่ำกว่านั้นโคจะกัดกินหลังคาได้

เสาคอก
1. เสาคอกด้านหน้าควรอยู่ในแนวขอบรางอาหารด้านหลัง ไม่ควน เลยออกมาจากขอบรางทั้งด้านภายในรางและภายนอกรางด้านหลัง สามารถทำด้วยวัสดุต่างๆ กันเช่น ไม้เนื้อแข็ง ไม้ไผ่ ไม้สน เหล็ก แป๊ปน้ำ หรือคอนกรีต
2. เสาไม้ เสาเหล็ก และแป๊ปน้ำ มักพบว่าเสาขาด คอดิน แก้ไขโดยการหล่อคอนกรีตหุ้มโคนเสาสูงจากพื้นดินประมาณ 30 ซ.ม. การหุ้มโคนเสามัก จะเกิดการเเ ต กร้าวของคอนกรีต ซึ่งสามารถแก้ได้โดยใช้ท่อแอสล่อนเป็นปลอกหุ้มภายนอกอีกชั้นหนึ่ง
3 เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก มีความคงทนถาวรดีมาก แต่ไม่สามารถตอกตะปูหรือเจาะรูน๊อตได้
4 เสาไม้สนขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง 4 นิ้ว มีอายุใช้งานเพียงประมาณ 1 ปี หรือผ่านเพียง 1 ฤดูฝนเท่านั้น โคนเสาระดับพื้นดินก็จะหักเสาไม้ไผ่ (ไม้ซอ) มีความคงทนกว่าไม้สนเล็กน้อย
5. การใช้เสาคอนกรีตฝังดิน และโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นดินเล็กน้อย แต่ต่อด้วยเสาไม้นั้น มักจะเกิดปัญหาโคนเสาบริเวณรอยต่อหัก เมื่อถูกเเรงกระเเทก

รั้วกั้นคอก
1. สามารถทำด้วยวัสดุต่างกันเช่น ไม้เนื้อแข็ง ไม้ไผ่ ไม้สน แป๊ปน้ำ เป็นต้น
2. ไม้สน และไม้ไผ่ มีอายุใช้งานได้ประมาณ 1 ปี หรือผ่าน 1 ฤดูฝนเท่านั้น
3. รั้วกั้นคอกรอบนอก ควรกั้นอย่างน้อย 4 แนว แนวบนสุดสูงจากพื้นดินอย่างน้อย 150 ซ.ม. ส่วนรั้วที่แบ่งคอกย่อยภายใน ควรกั้นอย่างน้อย 3 แนว
4. การกั้นรั้วคอก ควรให้ไม้หรือแป๊ปน้ำที่ใช้กั้นอยู่ด้านในของเสาเพราะเมื่อถูกแรงกระแทกจากโค เสาจะได้ช่วยรับแรงไว้

รางอาหาร
1. ควรอยู่ด้านหน้าคอก สูงประมาณ 60 ซ.ม. กว้างประมาณ 80-90 ซ.ม. ก่ออิฐฉาบปุนและขัดมัน ขอบรางด้านนอกเป็นแนวตรงดิ่งไม่เอียงเฉียงออกมา ขอบรางด้านหน้าสูงกว่าด้านหลังประมาณ 10-20 ซ.ม
2. พื้นผิวภายในรางฉาบเรียบโดยด้านล่างของรางทำเป็นแนวโค้งมนไม่มีมุม เจาะรูที่ก้นรางด้านหนึ่งเพื่อให้น้ำระบายออกได้ ท้องรางลาดเทเล็กน้อยไปทางด้านที่มีรูระบายน้ำ
3. รางอาหารที่แคบไป จะมีปญหาเรื่องอาหารตกหล่นขณะที่โคยืนเคี้ยวอาหาร
4. การทำรางอาหารเตี้ยไป ทำให้โคต้องก้มมากในขณะกินอาหาร แต่ถ้าสูงเกินไปจะมีปญหาสำหรับโคขนาดเล็ก
5 โคขุนระยะแรกต้องการรางอาหารยาวประมาณ 50 ซ.ม. ต่อโคขุน 1 ตัว และประมาณ 65 ซ.ม. ในระยะปลาย

อ่างน้ำ
1. อ่างน้ำควรวางอยู่ในจุดต่ำสุดของคอก หรืออาจจะวางอยู่นอกคอกแล้วทำช่อง ให้โคโผล่หัวออกไปดื่มน้ำได้
2. ขนาดของอ่างน้ำสูงประมาณ 60 ซ.ม. กว้าง 80 ซ.ม. ยาว 90 ซ.ม. ก่ออิฐ ฉาบปูนขัดมัน มีรูระบายน้ำด้านล่าง


มุ้งที่ใช้เป็นมุ้งไนล่อนสีฟ้าควรเป็นเบอร์ 16 หน้ากว้าง 2.5 เมตร ราคาม้วนละ 350-400 บาท (ยาว 30 เมตร) จะใช้มุ้งตาถี่กว่านี้ (เบอร์ 20) ก็ได้ แต่ราคาแพงขึ้น และทำให้การระบายอากาศในคอกไม่ดีนัก การเย็บมุ้งให้เข้ากับรูปทรงของคอกสามารถเย็บด้วยมือหรือจ้างร้านเย็บผ้าใบก็เป็นการสะดวกในอัตราค่าแรงคิดเป็นม้วนๆ ละ ประมาณ 40 บาท