Friday, 29 March 2024

วิธีปลูก ‘มะละกอ’ มืออาชีพ ต้นเตี้ย ลูกดก ผลผลิตงาม และวิธีคัดพันธุ์มะละกอ

‘มะละกอ’ นับว่าเป็นผักที่ใครๆ หลายคนชอบกันอย่างปฏิเสธไม่ได้เลยทีเดียวเลยนะครับ โดยเฉพาะสาวๆ คงชอบกันอย่างมาก สำหรับเมนู “ส้มตำ” วันนี้เราจึงจะพาไปชมวิธีการปลูกมะละกอแบบมืออาชีพกันครับ และหลายๆ คนยังไม่ทราบว่าในการปลูกมะละกอให้มีต้นเตี้ย ลูกดก ได้ผลผลิตงาม และยังเก็บผลผลิตได้ง่าย ทำอย่างไรบ้าง เราจึงได้รวบรวมวิธีการต่างๆ ที่จะได้มะละกอต้นเตี้ย ลูกดก ผลผลิตงามมาให้ลองศึกษากัน จะมีวิธีการอย่างไรบ้างนั้น ลองไปชมกันเลยครับ

1. การเพาะมะละกอ
หลังจากได้เมล็ดมาแล้วยังใหม่สด ไม่จำเป็นต้องตากให้แห้ง ถ้าไม่ต้องการเก็บ การเพาะเมล็ดให้แช่น้ำ ล้างเมือกออก ใช้มือขยำเอา เมือกจะหลุดไปเอง (เหตุที่ต้องล้างเมือกออก เพราะเมื่อเพาะและรดน้ำ มีความชื้น เมือกจะเกิดร าทำให้เมล็ดเน่าได้ นี่คือสาเหตุว่าทำไมเพาะมะละกอ ยากจัง) การแช่น้ำ ให้แช่สามคืน เปลี่ยนน้ำทุกวัน ในการเปลื่ยนน้ำ ถือโอกาส ล้างเมือกออกไปด้วย หลังจากนั้น นำลงถุงเพาะได้เลย หรือลงกะบะเพาะ ก็ตามสะดวก

2. เทคนิคแปลงเพศมะละกอ
เทคนิคนี้ถือว่าได้ผลครับ แต่ไม่ 100 % ครับ จากที่ลองทดลองปลูก 30 ต้น พบว่าเป็นต้นกระเทย 28 ต้น เป็นตัวเมีย 2 ต้น ซึ่งก็ถือว่าโอเคในระดับหนึ่ง

วิธีทำ
1. ย้ายกล้ามะละกอจากแปลงเพาะ ควรรดน้ำต้นกล้าให้ชุ่ม
2. ให้ตั ดร ากแก้วของกล้ามะละกอออกประมาณ 2 ข้อนิ้วมือหรือประมาณ 5 เซนติเมตร ซึ่งวัดจากปลายร ากขึ้นไป
3. นำต้นมะละกอลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ควรวางต้นมะละกอเอียง 30 -45 องศา หันไปทางทิศตะวันออก เพื่อให้รับได้รับแสง

ขั้นตอนการเตรียมดินและปลูกมะละกอ เราจะเตรียมดินโดยการไถ ทำการต ากดินไว้ประมาณ 5 วัน ขุดหลุมลึกประมาณ 30ซม.ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 2.5X 2.5 เมตร 1 ไร่ จะปลูกได้ ราว 250 ต้น และรองก้นหลุมด้วยแกลบดำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ การขุดหลุม จะขุดลึก 30×30 ซ.ม แล้วใช้แกลบดำผสมปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกรองก้นหลุม หลุมละ 5 กิโล 1:1:1

ข้อดีของแกลบดำ
1. มีแร่ธาตุโปตัสเซียมและแคลเซียม
2. มีรูมากมายซึ่งจะเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์
3. เมื่อนำไปคลุมดินหรือนำไปผสมกับอินทรีย์วัตถุอย่างอื่น ช่วยลดความร้อนที่เกิดขึ้นเนื่องจากผ่านการย่อยสลาย
4. ช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้แก่หน้าดิน แกลบดำ เก็บความชื้นได้ดี สะอาด ไม่เป็นก รด นิยมใช้แกลบดำผสมในดินเพาะปลูกพืช เนื่องจากว่าจะช่วยเก็บความชื้นในดินและเนื่องจากว่าเป็นแกลบที่สะอาดเพราะผ่านการเ w ามาแล้วจึงช่วยล ดปัญหาการติดโ ร คของพืชได้

**** ไม่ควรเอาแกลบดิบรองก้นหลุมเพราะมีธาตุชิส์กอนที่ยังไม่ย่อยสลาย ซึ่งจะเป็นตัวดึงก๊าซออกซิเจนและไนโตรเจน ที่มีอยู่ในอากาศไปใช้ในการย่อยสลาย ซึ่งก็คือการแย่งอาหารจากต้นพืชผักของเรานั่นเอง ฉะนั้น จึงไม่แนะนำให้เอาแกลบดิบเป็น ส่วนผสมรองพืชก้นหลุม หรือผสมกับวัตถุอินทรีย์ชนิดอื่น เพื่อปลูกต้นไม้ และไม่ควรเอาขี้เถ้ารองก้นหลุม เพราะในขี้เถ้ามีความเป็นด่าง ทำให้พืชต้นแคระแกรนไม่เจริญเติบโต

3. วิธีโน้มต้นมะละกอ
มะละกอโน้มต้น เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคนปลูกมะละกอ ต้นเตี้ย ดก และเก็บง่าย ลดการปะทะกับแรงลม

วิธีการคือ ให้ปลูกหลุมละ 2 ต้นหลังจากคัดดอกแล้วตัดให้เหลือ 1 ต้นต่อ 1 หลุมนับจากยอดลงมาประมาณปล้องที่ 4 – 5 จากยอด ใช้เชือกฝางมัดแล้วดึงให้ต้นมะละกอเอียงประมาณ 45 องศา แล้วมัดติดกับหลักไม้ปล่อยไว้ประมาณเดือน 4 – 5 มะละกอก็จะเริ่มตั้งต้นขึ้นเองตามธรรมชาติ

4. วิธีการคัดเลือกดอก
การคัดดอกกะเทย(ลูกยาว) อย่างมืออาชีพ เนื่องจากหลายคนยังสับสนว่าจะดูดอกอย่างไร ระหว่างดอกตัวเมีย ลูกกลม กับดอกกะเทย ลูกยาวชาวสวนมะละกอทั่วไปจะดู ต้องให้เห็นดอกชัดเจนซึ่งจะต้องเสียเวลาประมาณเดือนที่ 3-4 ถึงจะเห็นชัดเจนและมีโอกาสพลาดได้

ซ้าย คือ ดอกกะเทย ลูกยาว รูปร่างคล้ายขวดน้ำปลา
ขวา คือ ดอกตัวเมีย ลูกกลม รูปร่างอวบอ้วนวงรี
ดอกกะเทยลูกยาว ตลาดต้องการ ราคาสูง

แต่ชาวสวนต้องดูดอก โดยการฉีกดอกออกดู ซึ่งจะพบว่าภายในกลีบดอกจะมีก้านยาวๆอยู่หลายก้านล้อมรอบรังไข่กลมๆอยู่ โดยปลายก้านจะมีสีเหลืองๆติดอยู่ แบบนี้จะเห็นได้เร็วภายในเดือนที่ 2 ก็เห็นดอกแล้วและสามารถคัดเลือกต้นได้แล้ว ดอกตัวเมีย ลูกกลม รูปร่างอวบอ้วนวงรี ถ้าปลูกเพื่อข ายให้ตั ดทิ้งได้เลย แต่ถ้าจะปลูกเพื่อไว้กินเองก็ไม่ต้องตัด ดอกตัวเมีย ลูกกลม เมื่อฉีกกลีบดอกออกจะพบว่ามีลักษณะกลมอวบรี ซึ่งจะมีแต่รั งไข่ ไม่มีก้านปลายสีเหลือง ลูกกลม ตลาดไม่ต้องการ ร าคาไม่ดี

5. วิธีทำสาวมะละกอ
หลายคนยังไม่ทราบว่า ในการทำสาวต้นมะละกอมีข้อดีหลายประการ อาทิ ได้ลักษณะและคุณภาพผลเหมือนต้นแม่พันธุ์เดิม ไม่ต้องปลูกมะละกอใหม่ทุกปี ช่วยให้เก็บผลผลิตได้ง่าย เนื่องจากต้นมะละกอจะเตี้ยเหมือนกับเริ่มต้นปลูกใหม่ซึ่งจะส่งผลในเรื่องการจัดการแปลง มีส่วนลดการร ะบ า ดของโ ร คและแมลงได้ เกษตรกรตัดต้นมะละกอทำสาวทุกปีจะตั ดวงจรโ รคและแม ลงได้

ที่สำคัญพบว่าต้นมะละกอที่มีการทำสาวทุกปีจะมีการติดดกเหมือนกับต้นมะละกอปลูกใหม่ซึ่งผิดกับต้นมะละกอที่ไม่เคยทำสาวเลยจะมีการออกดอกและติดผลน้อยลง