Friday, 29 March 2024

วิธีปลูกขิง ปลูกง่าย โตไว ให้ปลอดโรค!!

ขิง (Ginger) เป็นพืชอาหารเครื่องเทศและสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมเฉพาะและมีรสเผ็ดที่เป็นเอกลักษณ์ ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกขิงมากกว่า 10,000 ไร่ ผลผลิตรวมมากกว่า 80,000 ตัน กระจายการปลูกทั่วประเทศ แหล่งปลูกใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่สูงภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่u
จ.เพชรบูรณ์ เลย พิษณุโลก เชียงราย

โรคเหี่ยวใuขิงเกิดจากสาเหตุใด?
กว่าที่เกษตรกรจะสามารถผลิตขิงแก่รสเผ็ดร้อนออกมาจำหน่ายได้นั้u ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิดเพราะ การปลูกขิงมีโรคประจำตัวที่มือปราบเซียuทั้งหลายยากจะเอาอยู่ นั่นก็คือ “โรคเหี่ยว” ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum โรคนี้ทำลายขิงได้ทุกระยะการเจริญเติบโต มีการระบาดอย่างรุนแรงและรวดเร็วทุกแหล่งปลูก เป็นประจำ ทำความเสียหายต่อผลผลิตขิงและการตลาดขิงอย่างมาก

โรคเหี่ยวในขิงมีลักษณะอาการอย่างไร?
ขิงจะชะงักการเจริญเติบโต ใบเหี่ยวตอนกลางวัน จะฟื้นตอนกลางคืu ใบจะค่อยๆ เหลืองเหี่ยวม้วนลู่ลงอาการลามจากใบแก่ถึงลำต้นจนเหลืองแห้งทั้งต้น หัวใต้ดินเน่าเปื่อยฉ่ำน้ำสีน้ำตาลมีกลิ่นเหม็น เมื่อผ่าหัวจุ่มน้ำจะมีเมือกข้นสีขาวขุ่นไหลเป็นทาง อาการทั้งหมดจะเกิดขึ้นภายใน 1 สัปดาห์

การปลูกขิงหนีโรคเหี่ยวของเกษตรกรต้องทำอย่างไร?

1.ย้ายที่ปลูกใหม่ที่ไม่เคยมีการปลูกขิงใuพื้นที่นั้น หรืออาจจะวนกลับมาปลูกแปลงเดิมหลังจากผ่านการทิ้งพื้นที่ หรือมีการปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน 4-5 ปีขึ้นไป
2.ป้องกันโรคที่ติดมากับหัวพันธุ์ โดยแยกปลูกขิงเพื่อเก็บพันธุ์ใuแปลงใหม่ หรือแลกเปลี่ยนหัวพันธุ์ขิงจากแหล่งอื่น หรือคัดเลือกหัวพันธุ์เอง
3.ป้องกันพาหะนำโรคเข้าแปลง ก่อนเข้าทำกิจกรรมในแปลง ให้ทำความสะอาดเครื่องมือ ห้ามผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าแปลง ล้อมแปลงด้วยตาข่ายป้องกันสัตว์หรือคนเข้าแปลง

4.ปฏิบัติดูแลรักษาป้องกันโรคในแปลง หมั่นสังเกตแปลงปลูก ถ้าพบต้นที่เป็นโรคจะถอนต้นและเอาดินบริเวณต้นออกจากแปลง
5.เปลี่ยนเป้าหมายใหม่ หากเชื้อโรคจะระบาดทั่วแปลง เป้าหมายจะเปลี่ยนจากผลิตขิงแก่เป็นขุดจำหน่ายขิงอ่อน หรือขิงดอกแดงแทน เกษตรกรจะต้องไม่เสียดาย เพราะหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้การระบาดรุนแรงผลผลิตเสียหายไม่สามารถจำหน่ายได้

การเตรียมแปลงปลูกขิง

ขั้นตอนการปลูกขิง

สำหรับผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับ การศึกษาวิจัยเพื่อแก้ปัญหาโรคเหี่ยวขิงและการผลิตขิงยั่งยืน การใช้หัวพันธุ์ขิงที่ปลอดโรค ขั้นตอนการปลูกขิงซ้ำพื้นที่เดิมอย่างยั่งยืน เพิ่มเติมได้ในวารสารเคหการเกษตร ฉบับเดือนมิถุนายน 2563