Thursday, 28 March 2024

วันนี้เรามาทำความรู้จักที่มาของ ยาคูลล์ ต้นกำเนิด และ ประวัติของยาคูลท์

ต้นกำเนิดและประวัติของยาคูลท์
เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1900 นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ชื่อ ดร. เอไล แมทชนิคอฟฟ์ (มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1845 – 1916) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเคล็ดลับของการมีอายุยืนยาว โดยเขาได้ตั้งข้อสังเกตว่าความไม่สมบูรณ์ทางสุขภาพของคนเรานั้นน่าจะเกิดจากการบูดเน่า และสารพิษต่างๆ ที่มาจากการกระทำของแบคทีเรียในลำไส้

ในขณะที่เขาทำการศึกษาและทำวิจัยเรื่องนี้อยู่เขาอาศัยอยู่ในประเทศบัลแกเลีย และได้สังเกตว่าที่ประเทศนี้มีผู้สูงอายุอยู่มาก อีกทั้งผู้สูงอายุเหล่านี้ก็รับประทานโยเกิร์ต

ในขณะนั้นทฤษฎีนี้สร้างความตื่นเต้น และเป็นที่น่าสนใจกันมาก ทำให้ผู้คนทั่วโลกหันมารับประทานโยเกิร์ตเพื่อสุขภาพกันมากขี้น ถึงเเม้จะมาทราบในภายหลังว่า Lactobacillus Bulgalicus ซึ่งเป็นแบคทีเรียกรดนมชนิดหนึ่งที่พบในโยเกิร์ตนั้นถูกฆ่าตายโดยกรดในกระเพาะอาหารและน้ำดีจากตับ และไม่สามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้ในลำไส้คนเราได้ ต่อมาทฤษฎีนี้ถูกลืมไปหลังจาก ดร. เอไล แมทชนิคอฟฟ์ ได้เสียชีวิตลงเมื่อเขาอายุ 71 ปี

จากนั้นจุดเริ่มต้นมาจากเมื่อปี 2473 ดร.มิโนรุ ชิโรต้า เป็นผู้ประสบความสำเร็จและเป็นคนแรกของโลก ที่ค้นพบจุลินทรีย์กรดนมในลำไส้ที่ทนต่อกรด-ด่างในร่างกายมนุษย์ และมีชีวิตอยู่รอดในลำไส้ได้ คือ แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ สายพันธุ์ ชิโรต้า หรือจุลินทรีย์ชิโรต้า และมีแนวคิดที่จะให้ทุกคนได้รับจุลินทรีย์ที่มีดี มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยการนำมาทำเป็นเครื่องดื่มที่ชื่อว่า “ย า คู ล ท์ ” เป็นภาษาเอสเปอแรนโต (ภาษาสากล) มีความหมายว่าโยเกิร์ต แปลว่า การมีอายุยืนยาว จากนั้นเป็นต้นมา ยาคูลท์ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2478 เป็นต้นมา

ส่วนจุลินทรีย์ชิโรต้าจะทำงานอย่างไรนั้น ต้องบอกว่าจุลินทรีย์ดังกล่าวจะเข้าไปช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ ยับยั้งการเจริญเติบโตและหยุดการสร้างสารพิษของแบคทีเรียก่อโรค ลดอาการท้องผูก-ท้องเสีย ที่สำคัญจุลินทรีย์ชิโรต้าสามารถแบ่งตัวเพิ่มมากขึ้นได้อีกด้วย

ลองคิดดูหากร่างกายเรามีจุลินทรีย์ชนิดดีที่ช่วยรักษาสมดุลในร่างกาย ดูแลระบบภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสการติดเชื้อในร่างกายได้จะดีขนาดไหน?
อาณาจักรยาคูลท์ไม่ได้ขายแค่ “นมเปรี้ยว” อย่างเดียว
นอกจากยาคูลท์จะมีนมเปรี้ยวที่มีส่วนผสมของจุลินทรีย์สายพันธุ์ชิโรต้าเป็นตัวชูโรงแล้ว ยาคูลท์ได้แตกไลน์ผลิตภัณฑ์ในหลายรูปแบบด้วย ไม่ว่าจะเป็น โยเกิร์ต, เครื่องดื่ม, เครื่องสำอาง ยา และอื่นๆ โดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยพัฒนา ต่อยอดรูปแบบผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น ให้มีความหลากหลายตอบโจทย์ทั้งการเก็บรักษา การขนส่ง และความต้องการของผู้บริโภค
สำหรับโรงงานผลิตยาคูลท์ในประเทศญี่ปุ่นมีทั้งหมด 12 แห่ง ครอบคลุมทั่วประเทศ กำลังการผลิตสินค้ายาคูลท์ต่อวันจะอยู่ที่ 1,200,000 ชิ้น
ซึ่งหนึ่งในนั้นมีฐานการผลิตอยู่ใกล้กับ ภู เ ข า ไ ฟ ฟู จิ โดยเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญในโรงงานบอกถึงสาเหตุของการตั้งโรงงานแห่งนี้เพราะสามารถเข้าถึงน้ำแร่ที่ดีรวมถึงมีพื้นที่กว้างขวางเหมาะสม

“จุลินทรีย์กรดนม” ที่มีความสามารถและทนต่อสภาวะกรดและด่างที่รุนแรงในร่างกายคน และมีชีวิตอยู่ได้ในลำไส้ ก็คือ…แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ สายพันธุ์ชิโรต้า   ต่อมาในปี ค.ศ. 1935 ได้มีการผลิตเป็นนมเปรี้ยวขึ้น และวางขายในญี่ปุ่น ตั้งชื่อว่า “ย า คู ล ท์ ”  ซึ่งเป็นภาษา Esperanto มีความหมายเช่นเดียวกับโยเกิร์ต 

ปัจจุบันมีการผลิตและจำหน่าย ย า คู ล ท์ ไปทั่วโลก ซึ่งในปี พ.ศ. 2514 เริ่มวางจำหน่ายครั้งแรก  ย า คู ล ท์ ก็กลายเป็นกระแสที่โด่งดังในประเทศไทย เพราะในปีนั้นเกิดอหิวาตกโรคระบาด ผู้ป่วยที่ดื่ม ย า คู ล ท์ อาการดีขึ้นไม่ถ่ายท้อง จึงได้รับความนิยมตั้งแต่นั่นมา ทั้งในเรื่องรสชาติที่กลมกล่อมอีกอย่างนั่นเอง