Friday, 29 March 2024

ร่วมทำบุญ ผ้าป่าสามัคคี สร้างหอคำหลวงครูบาขาวปี จอมทอง

พิธีทอดผ้าป่ า เป็นการทำบุญอีกอย่างหนึ่งของชาวพุทธ คล้ายกับพิธีทอดกฐิน แต่ไม่มีกำหนดระยะเวลาจำกัด คือสามารถจะทอดเมื่อใหร่ก็ได้ และวัดหนึ่ง ๆ ในแต่ละปีจะจัดให้มีการทอดผ้าป่ ากี่ครั้งก็ได้เช่นกัน อีกทั้งยังไม่เจาะจงเกี่ยวกับภิกษุที่จะรับผ้ากฐินแต่อย่างใด

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 ร่วมทำบุญ ตานผ้าป่าสามัคคี สร้างหอคำหลวงครูบาขาวปี จอมทอง ส.ส.ศรีนวล บุญลือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเชียงใหม่ เขต 8 พร้อมทีมงานผู้ช่วย ร่วมงานตานผ้าป่ าสามัคคีร่วมกับนายอำเภอจอมทอง คณะสงฆ์อำเภอจอมทอง พ่อค้าประชาชน ชาวอำเภอจอมทอง สร้างหอคำหลวงประดิษฐ์รูปเหมือนครูบาขาวปี ขึ้นหลังใหม่

เนื่องจากอำเภอจอมทองได้งบประมาณสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ใช้พื้นที่ก่อสร้างมากกว่าเดิม จึงได้รื้อหอคำหลวงมาสร้างใหม่ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ พ่อค้าประชาชนร่วมบริจาคในการก่อสร้างเป็นอย่างดียิ่ง

อานิสงส์ของการทอดผ้าป่า ทอดกฐิน ขึ้นอยู่ที่มุมมองของแต่ละคน เพราะมีความเชื่อกันว่าการทอดกฐินนั้นได้อานิสงส์ผลบุญมากกว่าการทอดผ้าป่า แต่ถ้าหากว่าเราจัดทอดผ้าป่าตลอดทั้งปี ก็ได้บุญมากบุญใหญ่ไม่ต่างกัน สิ่งสำคัญคือการทำบุญที่ดี ไม่ควรคาดหวังถึงผลกำไรที่ได้ชื่อว่าบุญจนเกินงาม เดี๋ยวจะกลายเป็นบาปเพราะไม่สามารถตอบสนองความพอใจของตัวเองได้

สำหรับการทอดกฐิน มีที่มาจาก ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติการจำพรรษา เพื่อป้องกันพระไปเดินเหยียบต้นพืชต้นข้าวที่ชาวบ้านเขาปลูกไว้ในฤดูฝนไม่ให้เสียหาย เมื่อออกพรรษาแล้ว ภิกษุชาวปาฐา 30 รูป เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เวลานั้นพระสงฆ์ทั้งหลายมีผ้าจำกัดเพียง 3 ผืนท่านั้น

เมื่อนางวิสาขาที่กำลังเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่พอดี เห็นพระมีผ้าสบงจีวรเปียกโชกด้วยน้ำฝนและน้ำค้าง จึงได้กราบทูลขอพรแด่พระพุทธเจ้าว่า “หลังจากออกพรรษาแล้ว ขอบรรดาประชาชนทั้งหลายมีโอกาสถวายผ้าไตรจีวรแก่คณะสงฆ์ด้วยเถิด” พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุมัติ

วันที่ชีวิตไม่ขาดทุน คือ วันที่ทำบุญ และให้อภัย วันที่ชีวิตมีกำไร คือ วันที่ตั้งใจทำความดี

เรียบเรียงโดย ธรรมะเกษตรก้าวหน้า