Friday, 19 April 2024

รู้หรือไม่ ? เวลาทำบุญต้องเอ่ยคำว่า “อนุโมทนาบุญ”

หลายคนคงเคยสงสัย ว่า เวลาไปทำบุญมาแล้วอยากให้คนอื่นได้รับบุญด้วยต้องทำอย่างไร? ถึงต้องเอ่ยคำว่า “อนุโมทนา บุญ” กันไหมครับ วันนี้มีคำตอบครับ ผมเคยอ่านเจอบทความนึง (จำไม่ได้) ของหลวงพ่อท่านนึง แล้วคิดว่าเป็นเหตุเป็นผล ดี สำหรับการเอ่ยคำว่าอนุโมทนาบุญครับ

ตัวอย่างแรก เวลาเราไปทำบุญกันมาครับ ไม่ว่าจะทอดผ้าป่า ทอดกฐิน ใส่บาตร สร้างโบสถ์ สร้างศาลา หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่เกี่ยวกับการไปทำบุญ

พอเสร็จแล้ว เรากลับบ้านมา เจอเพื่อสนิทมิตรสหาย หรือคนอื่นๆ เราก็บอกว่าวันนี้ไปทำบุญที่นู้น ที่นี่นั่นมา ให้ร่วมอนุโมทนาบุญกัน เพื่อนเรา บางคนก็เอ่ย อนุโมทนาสาธุ บางคนก็สาธุ บางคนก็ไม่พูดอะไรเลย จริงๆแล้วการกล่าวเอ่ย อนุโมทนาบุญ มีความหมายนะครับ

หากเราไม่ได้เอ่ย อนุโมทนาบุญ ก็เหมือนกับเราไม่ได้บุญนั้น ที่เพื่อนเราไปทำมาแล้วมาบอกบุญครับ เหตุผลคือ เช่น นายแดง กับ นายดำ นายแดงเป็นคนรวยมาก มีเงินเยอะ(อาจเพราะถูกหวยมา) เลยนำเงิน 500 มาให้นายดำ (ฉันมีเงินอยู่ 500 บาท ฉันให้แก่โว้ยเพื่อน แล้วก็ยื่นเงิน 500 บาทให้กับนายดำ) นายดำอาจกระทำดังนี้

ขอบคุณมากเพื่อน แล้วก็ยื่นมือไปรับเงินที่นายแดงส่งให้ (เงิน500 บาทนั้นก็เป็นของนายดำ) หรือนายดำยืนเฉยๆ แล้วก็ไม่ได้เอาเงินนั้นมา หรืออาจจะบอกนายแดงว่า ไม่เอาเพื่อน ไม่เป็นไร

ก็เหมือนกับการเอ่ย อนุโมทนาบุญ กับ ไม่เอ่ยแหละครับ ถ้าเราเอ่ย “อนุโมทนาบุญสาธุ” บุญที่เพือนส่งให้นั้น ก็ถือว่าเป็นของเรา เพราะเราเอ่ยปากรับคำนั้นแล้ว แต่หากเราไม่เอ่ย “อนุโมทนาบุญ สาธุ” ก็เหมือนบอกปัดไม่รับบุญนั้นครับ ที่นี้พอเข้าใจนะครับว่า ทำไมถึงต้องเอ่ย คำว่า “อนุโมทนาบุญ สาธุ” แล้วนะครับ

ตัวอย่างที่สอง (เวลาเราใส่บาตร ทำบุญอุทิศส่วนกุศล ให้ผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วให้ได้รับผลบุญนั้นด้วย เราจะรู้ได้อย่างไรว่าได้รับ หรือ ได้รับเมื่อไหร่ หรือมีโอกาสได้รับไหมครับ ) มาดูตัวอย่างกัน

ปกติดคนเรานั้น เวลามีชีวิตทำบุญ ทำกรรมมาไม่เหมือนกัน บางคนทำบุญเยอะ บางคนทำกรรมหนัก เสียชีวิตไป คนทำบุญเยอะ (ความเชื่อ) ก็คือได้ขึ้นสวรรค์ คนทำกรรมมาก (ตายไปก็อาจจะตกนรก ) แล้วแต่ว่า กรรมหนัก กรรมเบา โอกาสที่จะได้กลับมารับผลบุญก็ต่างเวลากัน บางคนก็กรรมหนักมาก ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ตีพ่อตีแม่ ก็อาจจะไม่ได้ผุดไม่ได้เกิด เลยด้วยซ้ำกดผลบุญตา เพราะฉะนั้นการทำบุญนั้นขึ้นอยู่สิ่งที่เราตั้งทำและปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลบุญตามมานั้นเอง

ประตูยมบาล จึงมีเวลาเปิด ปิด ที่โบราณบอกว่า วันนี้วันโกน หรือวันพระ จะมีวิญญาณมาขอส่วนบุญ ดังนั้น เวลาเราใส่บาตรทำบุญ อุทิศส่วนกุศลให้ใครก็แล้วแต่ หากคนที่ทำกรรมหนักเอาไว้ บุญที่ลูกหลานทำให้ ก็จะไปกองไว้หน้าประตู รอเวลามีคนมาอนุโมทนาบุญ

ดังนั้น เวลาเราทำบุญให้เอ่ยว่า บุญกุุศลที่ได้ทำนี้ ขออุทิศให้………… หากมีโอกาสครั้งใด ขอให้ได้อนุโมทนาบุญสาธุ ด้วยเทอญเมื่อดวงวิญญาณ ดวงนั้นมีโอกาส มีเวลา ได้ออกมารับส่วนบุญส่วนกุศล ก็จะมีโอกาสได้อนุโมทนาบุญ กับบุญที่ลูกหลานได้ทำบุญส่งผลมาให้นั้น และผลบุญนั้นจะกลับย้อนมาหากับคนที่ทำบุญ ไม่มากก็น้อย จิตใจอันเป็นกุศล ย่อมส่งผลให้ได้รับผลบุญนั้นกลับคืนให้กับตัวเองพร้อมครอบครัว อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ

อนุโมทนา” หมายถึง การพลอยชื่นชมยินดีในกุศลที่ผู้อื่นได้กระทำแล้ว ขณะใดที่มีใจเบิกบาน พลอยชื่นชม ยินดี ในความดีของผู้อื่น ไม่ว่าประการใดๆ ขณะนั้น เป็นกุศลจิต ดังนั้น กุศลจิต จึงไม่ได้จำกัดเลยว่า จะต้องยินดีในความดีประเภทใดประเภทหนึ่ง ไม่จำกัด แม้ในบุคคล โอกาส และสถานที่