Friday, 10 May 2024

น้องอิงค์ เด็กอัจฉริยะ สอบเข้ามหาวิทยาลัยดังได้ ด้วยอายุเพียง 13 ปี

หากเพื่อนๆ ยังจำกันได้ เมื่อครั้งที่ปริญญาชีวิตได้เคยนำเรื่องราวของเด็กไทยอัจริยะคนหนึ่งมาลงให้ได้อ่านกัน หลายคนไม่เชื่อ หลายคนบอกว่าเป็นไปไม่ได้ หลายคนบอกว่าแอดโกหก มันจะเป็นไปได้อย่างไร ตอนแรกแอดมินก็ไม่เชื่อหรอกคะ แต่เรื่องบางเรื่องเราก็ไม่สามารถตอบด้วยความรู้ หรือแม้แต่ความรู้สึกที่เรามีได้
ล่าสุดน้องได้รางวัลเยาวชนแห่งชาติ (ข้อมูลอัพเดทจากเฟซบุ๊กของคุณแม่)
รอรับรางวัลพระราชทานในวันที่ 2O ก.ย. 2563
ได้ที่สุดของรางวัลจากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธรด้วยในปีนี้ เท่ากับได้ 2 ปีซ้อนติดต่อกันค่ะ

ถ้าใครจำไม่ได้เดี๋ยวแอดมินเล่าประวัติคร่าวๆ ของน้องให้ฟังอีกรอบนะคะ
น้องอิงค์ ภัสสรา จันทร์โชติเสถียร ขณะที่อายุ 15 ปี น้องเรียนอยู่ในระดับชั้นปีที่ 2 (ย้ำว่า ปีที่ 2 นะคะ) สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งน้องสอบเข้าวิศวะได้ตั้งแต่อายุ 13 ปีแล้ว และเคยลงแข่งขันคอมพิวเตอร์มาหลายต่อหลายรายการ

ความสามารถพิเศษคือ สามารถพูดได้ถึง 5

1.ภาษาไทย
2.อังกฤษ
3.จีน
4.เยอรมัน
5.ฝรั่งเศส
รวมทั้งสอบ TOEFL ได้คะแนน 111 คะแนนจากคะแนนเต็ม 12O คะแนน และเธอวางแผนการการศึกษาไว้ว่า เธอจะต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก ภายในอายุ 2O ต้นๆ
ทั้งนี้ยังเป็นตัวแทนเด็กไทย คว้ารางวัลคอมพ์นานาชาติ ผู้ที่ได้รางวัลใหญ่สุดของการแข่งขันด้วย คือ รางวัล Grand Winner เป็นรางวัลที่ให้แก่ผู้แข่งขันที่ได้คะแนนการแข่งขันทางด้าน design and engineering สูงที่สุดของทุกรุ่นอายุรวมกัน (โห….แทบไม่น่าเชื่อเลยใช่ไหมคะ ยิ่งอ่านยิ่งขนลุกแล้วล่ะสิ ขนาดคนเรียบเรียงยังทึ่งในความสามารถของน้องเลย)

“ตอนน้องอิงค์อยู่ ป.2 คุณแม่โดนคุณครูเรียกพบ โดยคุณครูได้แจ้งกับแม่ว่า น้องอิงค์ชอบชวนเพื่อนในห้องคุย แม่ก็ตำหนิน้องว่า ทำไมลูกไปชวนเพื่อนคุย ทำไมไม่ตั้งใจเรียน น้องก็ตอบกลับมาว่า หนูรู้เรื่องหมดแล้วนี่คะแม่”

ความสามารถที่ไม่ธรรมดาของน้องอิงค์ ได้ก้าวกระโดดจากเกรด 6 โรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี เพื่อสอบเทียบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ตอนอายุ 13 ปี ก่อนจะย้ายมาศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 2

“เมื่อน้องอายุ 12 อยู่ในช่วงวัยที่จะเข้า ม.1 น้องสามารถสอบผ่านในระดับชั้น ม.6 ได้ ปกติเด็กจะใช้เวลาถึง 2 ปี ในการเรียนคือ ม.5-ม.6 แต่น้องทำได้ใน 1 เทอม แม่ก็ลองไปสมัครมหาวิทยาลัยให้เขาดู ไปยื่นที่ลาดกระบัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขานวัตกรรมคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ก็ไปยื่นรับตรง น้องก็ผ่านหมดทุกอย่าง แล้วก็ได้ทุน 1OO เปอร์เซ็นต์

“ต่อมาไม่นาน ได้ย้ายไปอยู่สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”
คุณแม่เผยว่า การเลี้ยงลูกจะต้องวางแผนอย่างดีมากๆ หากใครอยากได้ลูกที่แบบนี้ ไม่จำเป็นว่าต้องมี D N A นี้อยู่ในสายเลือด

“ถ้าคุณมาบอกว่าแม่เป็นดอกเตอร์ ลูกก็เรียนได้ นั่นไม่ใช่ แต่มันอยู่ที่เราเลี้ยงดูยังไง ถ้าเราอยากได้ลูกเราแบบไหนใน 6 ปีแรก เราเลี้ยงแบบนั้น ”ช่วงแรกเกิดคุณแม่จะฝึกพัฒนาการก่อน ช่วงวัยอนุบาล น้องอิงค์สามารถเข้าใจการเรียนรู้ในชั้นเรียนได้หมดแล้ว
“ระหว่างเรียนอนุบาลแม่ก็เสริมของประถม ประถมทุกอย่างน้องได้หมดแล้ว พออยู่ประถมแม่ก็เอาของ ม.ต้น มาฝึก ส่วนเรื่องภาษาต่างประเทศ เราก็ต้องดูลูกเราด้วยว่าเขาชอบไหม เราอย่าไปบังคับ

ทั้งนี้ น้องอิงค์ยังเคยทำแบบทดสอบของมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ ซึ่งมีการทดสอบเด็ก Talented จากทั่วโลก สามารถทำคะแนนได้อยู่ในขั้นของเด็ก Talented ก็จะได้ใบเซอร์ว่าเป็นคนมีความสามารถของโลก
“พอแม่ดูแล้วเป็นเด็ก Talented เลยเอาวิชาการที่เข้มข้นมาให้น้องเรียนภายใน 1 ปี แต่ให้เรียนออนไลน์จากต่างประเทศบางทีถ้าติวภาษาไทยน้องเขาก็ไม่เข้าใจตรงกัน ถ้าโจทย์ยากๆ ครูไทยก็จะมีจุดอ่อน น้องเรียนเป็นภาษาอังกฤษหมดค่ะ”

ถ้าถามถึงข้อเสียของการเรียนแบบข้ามขั้นไม่มีเลย ถ้าเราพร้อมที่จะเรียนรู้จริงๆ อย่างน้องอิงค์มีความพร้อมที่จะเรียนรู้จริงๆ มันก็เลยไม่มีข้อเสีย

4 เทคนิคสร้างลูกอัจฉริยะ
1. ตั้งแต่ 6 ขวบ ครอบครัวของเรามีเงื่อนไขว่า ไม่ว่าจะไปไหน ใกล้ไกลให้ลูกถือหนังสือออกไป 1 เล่ม
2. พ่อแม่ต้องเป็นผู้ช่วยเลือกหนังสือให้ครูตั้งแต่เล่มพื้นฐานจนถึงเล่มสุดท้าย
3. สอนให้ลูกมีวินัยในการใช้ชีวิตตั้งแต่ยังอายุน้อยๆ ใช้ชีวิตได้อย่างมีระบบ
4. น้องดูซีรีส์ ดูภาพยนตร์ เล่นเกม เช่นเดียวกับเด็กวัยรุ่นทั่วไป แต่อย่าติด”
คุณแม่เล่าอีกว่า “เคยมีญาติๆ พูดกับแม่ว่า แม่ตึงกับลูกๆ เกินไปหรือเปล่า แม่ยังไม่ทันได้อธิบายอะไร ลูกๆ ก็ตอบให้ว่า ถ้ารักหนู ต้องให้หนูเรียน เพราะหนูชอบ และหนูก็สามารถทำมันได้อย่างมีความสุข”
ต้องยกให้คุณแม่เป็นแม่ดีเด่น​และเชื่อแล้วว่าอัจฉริยะ​สร้างได้ถ้าทุกอย่างพร้อม​ คนใกล้ตัวเด็กสำคัญที่สุดคือคุณแม่ขอปรบมือให้คุณแม่ค่ะ

เรียบเรียงโดย ปริญญาชีวิต