Thursday, 18 April 2024

การป้องกันและการกำจัด 5 ปัญหาโรคพืชที่ระบาดในหน้าฝน

ฤดูฝนที่มาพร้อมกับความชุ่มฉ่ำแล้ว ยังนำพาโรคพืช เชื้อราต่างๆ ที่มาพร้อมกับความชุ่มชื้นอีกด้วย เกษตรกรที่กำลังปลูกพืชต่างๆ ทุกระยะ ควรมีการวางแผนที่ดี เพื่อสกัดและป้องกันโรคพืชที่ตามมาได้ เชื้อราเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคพืชมากที่สุด หากฝนตกติดต่อกันเกินกว่า 2-3 วัน ต้นไม้เป็นเชื้อราได้ง่ายและมีการระบาดได้อย่างรวดเร็วเพราะสปอร์เชื้อราสามารถกระจายไปกับน้ำฝนและลม หรือสิ่งมีชีวิตเป็นตัวนำพาเชื้อราไปสู่ต้นไม้ได้ เชื้อราบางชนิดสามารถพักตัวได้เป็นเวลานานเป็นปี โดยเชื้อรามีความสามารถในการเข้าไปทำลายพืชทั้งทางแผลช่องเปิดธรรมชาติหรือเข้าทำลายเนื้อเยื่อพืชได้โดยตรงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อรา

โรคราน้ำค้าง เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Peronospora parasitica

ลักษณะอาการ :ใบจะเป็นจุดละเอียดสีดำอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ด้านใต้ใบ จุดเหล่านี้จะมีราสีขาวอมเทาอ่อนคล้าย ผงแป้งขึ้นเป็นกลุ่มๆ กระจายทั่วไป มีแผลเกิดก่อนแล้วลุกลามขึ้นไปยังใบที่อยู่สูงกว่า ใบที่มีเชื้อราขึ้นเป็นกลุ่มกระจายเต็มใบจะมีลักษณะเหลืองและใบจะร่วงหรือแห้ง
การระบาด: ระบาดได้ทั้งแต่ระยะที่เป็นต้นกล้าจนเจริญเติบโตเต็มที่ สร้างความเสียหายมากเพราะทำให้ใบเสีย เจริญเติบโตช้า ทำให้น้ำหนักลดลง เพราะต้องตัดใบที่เป็นโรคทิ้ง
การป้องกันกำจัดให้ฉีดพ่นด้วยชีวภัณฑ์ ป้องกันกำจัดเชื้อรา ไตรโคเดอร์มา สลับกับ บีเอส ซึ่งใช้ได้ระยะที่ยังเป็นต้นกล้า-ระยะการเติบโต

คเน่าคอดิน (Damping off) เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Pythium sp. หรือ Phytophthora sp.

ลักษณะอาการ : เป็นโรคที่เกิดขึ้นเฉพาะในแปลงต้นกล้า เนื่องจากการหว่านเมล็ดที่แน่นทึบ อับลม และต้นเบียดกันมาก เนื้อเยื่อตรงแผลจะเน่าและแห้งไปอย่างรวดเร็ว ถ้าถูกแสงแดดทำให้ต้นกล้าหักพับ ต้นเหี่ยวแห้งตายในเวลารวดเร็ว บ
เชื้อแพร่ระบาดได้โดย : เชื้อราติดมากับเมล็ด หรืออยู่ในดินดิน น้ำ ฝน พบโรคได้บ่อยในฤดูฝนหรือปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว
การป้องกันกำจัด
เตรียมแปลงให้มีการระบายน้ำดี อย่าให้น้ำขังแฉะในแปลงใช้เมล็ดพันธุ์ดีไม่มีเชื้อจุลินทรีย์ติดมากับเมล็ด และมีความงอกสูง ไม่หว่านเมล็ดแน่นเกินไป ก่อนปลูกคลุกเมล็ดด้วยสารชีวภัณฑ์ อัตรา 100 กรัม/ เมล็ด 1 กิโลกรัม
สำหรับแปลงปลูกให้ปรับดินด้วยปูนขาวและปุ๋ยอินทรีย์ให้มากใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผสมกับดินปลูก
ตรวจแปลงสม่ำเสมอ พบต้นเป็นโรค รีบขุดเอาดินและต้นเป็นโรค ทำลายหรือฝังลึกนอกแปลง

โรคราสนิมขาวในผัก (White Rust) เชื้อสาเหตุ : เชื้อราAlbugo ipomoea-aquaticae Sawada

อาการ : มีจุดสีเหลืองซีดด้านบนของใบ ด้านใต้ใบตรงกันข้ามจะเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ ขนาด 1-2 มิลลิเมตร อาจพบลักษณะปุ่มปม หรือบวมพองโตขึ้นในส่วนของก้านใบและลำต้น
การป้องกันกำจัด
หากเกิดโรคระบาดให้ฉีดพ่นใต้ใบด้วยไตรโคเดอร์มา สลับกับ บีเอส อัตราที่แนะนำ หากมีฝนตกชุกให้ผสมสารจับใบ
คลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วย ไตรโคเดอร์มา และเลือกใช้เมล็ดจากแหล่งที่ไม่มีโรคระบาดมาก่อน
ดูแลระบบการให้น้ำในแปลงปลูกอย่าให้ชื้นแฉะจนเกินไป
โรคใบจุด (Alternaria leaf spot) สาเหตุของโรค : เกิดจากเชื้อรา Alternaria brassicae

ลักษณะอาการของโรค :ในต้นกล้าจะพบจุดแผลเล็กๆ สีน้ำตาลที่บริเวณใบ/ โคนต้น ต้นโตแล้วใบมีแผลวงกลมสีน้ำตาลซ้อนกันหลายชั้น เนื้อเยื่อรอบๆ แผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ขแผลมีทั้งเล็กและใหญ่ บนแผลมักจะมีเชื้อราชั้นบางๆ เป็นผงสีดำ ผักบางชนิดและบางพันธุ์มีแผลที่ก้านใบเล็ก เป็นจุดสีน้ำตาล ปนดำ เนื้อเยื่อบุ๋มลงไปเล็กน้อย
การแพร่ระบาด : สปอร์ของเชื้อสาเหตุสามารถปลิวไปได้ไกลๆโดยไปตามน้ำ ลม แมลง สัตว์ เครื่องมือการเกษตร มนุษย์ และสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ ได้หรืออาศัยอยู่กับวัชพืชในแปลง
สภาพที่เหมาะต่อการเกิดโรค: ความชื้นสูง สภาพอากาศร้อนชื้น โดยเฉพาะในฤดูฝน อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส
การป้องกันกำจัดแบบอินทรีย์ :
ทำลายต้นเป็นโรคโดยการขุดถอนไปเผาทิ้ง
ปลูกพืชหมุนเวียนไม่ควรให้น้ำแบบฉีดพ่นฝอย
แช่เมล็ดในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส 30 นาที (ยกเว้นกะหล่ำดอก) คลุกเมล็ดด้วยชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดเชื้อรา ไตรโคเดอร์มา
ฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดเชื้อรา ไตรโคเดอร์มา ทุกๆ 7 วันจะช่วยป้องกันกำจัดเชื้อรานี้

โรคเหี่ยว (wilt) เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Fusarium oxysporum

อาการ เกิดอาการเหี่ยวอย่างช้า ๆ ใบที่อยู่โคนต้นเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และร่วง ต่อมาใบจะเหี่ยวทั้งต้น เมื่อผ่าลำต้นบริเวณเหนือระดับดินตามยาวจะพบว่าท่อน้ำท่ออาหารเป็นสีน้ำตาล การผิดปกติของท่อน้ำท่ออาหารนี้จะลงไปถึงส่วนรากด้วย พริกที่เป็นโรคนี้ขั้นสุดท้ายจะแห้งตาย
การระบาด การเกิดโรคนี้มักจะเกิดเป็นหย่อม ๆ ถ้าสภาพอากาศมีอุณหภูมิสูง และดินมีความชื้นสูง จะทำให้โรคนี้ระบาดได้ดี
การป้องกันกำจัดแบบอินทรีย์
ถ้าพบโรคในแปลงต้องถอนต้นที่เป็นโรคเผาทำลาย
ก่อนปลูกพริกควรปรับสภาพดินด้วยปูนขาว และปุ๋ยคอก

ขอขอบคุณ : กรมวิชาการเกษตร