Friday, 19 April 2024

การกุยช่าย พืชสองสี ปลูกครั้งเดียว เก็บผลผลิตได้หลายรุ่น รายได้ดี

กุยช่าย เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ ตัดใบข ายเป็นกุยช่ายเขียวที่ใช้กินกับผัดไท ทำขนมกุยช่าย ทำผักดอง และเมนูอื่นๆได้อีกมากมาย หรือปล่อยให้ออกดอกเก็บดอกข ายใช้นำไปผัดกับหมูกับเครื่องในก็แสนอร่อย หรือจะอัพมูลค่าขึ้นไปอีกด้วยการทำเป็นกุยช่ายขาว อวบๆกรอบๆ นำไปทำ หมูกรอบผัดกุยช่าย กุยช่ายขาวผัดเต้าหู้หมูสับ เป็นต้น การปลูกกุยช่ายนั้นแสนจะง่ายดาย ปลูกครั้งเดียวได้ผลผลิตถึงสามอย่าง อีกทั้งยังสามารถให้ผลผลิตได้หลายรุ่น ไม่ต้องปลูกบ่อยๆให้เสียเวลา ใช้เวลาในการปลูกแค่ 40 วันก็สามารถให้ผลผลิตได้แล้ว นับว่าเป็นพืชอีกตัวที่น่าจับตามองเลยทีเดียว วันนี้ วีดีโอ เกษตร เลยจะขอนำเสนอขั้นตอนและวิธีการในการปลูกกุยช่าย ว่าเขาทำกันอย่างไร

การเตรียมดินในการปลูกกุยช่าย
การเตรียมดินนั้นเราจะทำการไถตากดิน 15-20 วัน โดยการหว่านปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกไปด้วย จากนั้นตีดินให้ร่วน แล้วยกแปลงให้พูนขึ้นเป็นเนิน เพราะกุยช่ายชอบความชุ่มชื้นแต่ไม่ชอบน้ำขัง

การเตรียมต้นพันธุ์กุยช่าย
ก่อนอื่นเราต้องไปหาซื้อต้นพันธุ์กุยช่ายมาก่อน โดยร าคาจะอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 3000-4000 บาท โดยหนึ่งกิโลกรัมสามารถปลูกได้ประมาณ 4 ไร่ เมื่อได้เมล้ดพันธุ์มาเร าก็จะเตรียมแปลงต้นกล้าด้วยการหว่านปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักแล้วไถตากดิน 15-20 วัน จากนั้นย่อยดินให้ร่วน ยกแปลง รดน้ำให้ชุ่ม หว่านเมล็ดแล้วหว่านแกลบคลุมอีกที จากนั้นคอยรดน้ำเช้าเย็นให้แกลบชุ่มชื้นอยู่ตลอดจนเมล็ดงอก โดยเมล็ดจะงอกใน 7-14 วัน จากนั้นก็ดูแลต้นกล้าไปเรื่อยๆจนต้นกล้ามีอายุประมาณ 40 วันจึงย้ายไปปลูกลงแปลงได้

การปลุกกุยช่าย
หลังจากที่เราเตรียมดินและทำแปลงไว้แล้วก็ถึงขั้นตอนในการปลูกกุยช่าย การปลูกกุยช่ายทั่วไปนิยมปลูกโดยใช้ระยะระหว่างต้นและระหว่างแถว 20-30 เซนติเมตร เราอาจใช้วิธการขึงเชือกหรือใช้คราดตีตารางก็ได้ จากนั้นเร าก็จะขุดต้นพันธุ์กุยช่ายมาแยกต้นออกโดยขุดลึกลงใต้ร าก แล้วมาแยกต้น ตัดใบให้เหลือประมาณ 5-6 เซนติเมตร แล้วนำไปปักดำตามระยะ จากนั้นเอาฟางคลุมอีกทีเพื่อเก็บความชื้น

การดูแลรักษากุยช่าย
ส่วนการดูแลนั้นกุยช่ายเป็นพืชที่ชอบชื้นไม่ชอบแฉะ การให้น้ำก็ขึ้นอยู่กับฤดูกาล ให้ดินมีความชื้นอยู่เพียงพอตลอด และควรมีการถ่าย/วิดน้ำในร่องสวน 3 หรือ 4 เดือนครั้ง เพื่อลดความเป็นกรดในดิน ส่วนการให้ปุ๋ยในช่วงแรกหลังปลูกได้ 7 วัน จะใส่ปุ๋ยเคมี ยูเรีย (46-0-0) หรือสูตร 25-7-7 เพื่อเร่งต้น ให้แต กร ากและตั้งตัวได้ พอตั้งต้นได้ดีแล้วก็จะไม่เร่งต้นมากเพราะเดี๋ยวโครงสร้างจะอ่อนแอ โ ร คเข้าทำลายได้ง่าย ปุ๋ยที่ให้จะเปลี่ยนเป็นสูตรเสมอผสมกับปุ๋ยชีวภาพบ้า

ง ซึ่งสัดส่วนที่ใช้ก็จะดูจากสภาพต้นหรือความต้องการของพืชเป็นหลัก รวมทั้งการแก้ปัญหาในแต่ละฤดูกาลเพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตตามที่ต้องการ อย่างเช่น หน้าร้อน ผักไม่ค่อยโต ใบไม่ค่อยงาม ก็ต้องมีการกระตุ้นด้วยยูเรียหรือปุ๋ยสูตรตัวหน้า(N) สูง หน้าฝน ผักได้ไนโตรเจนจากฝนเยอะแล้ว ก็จะใส่ปุ๋ยสูตรเสมอหรือสูตรตัวกลาง (P) กับตัวท้าย (K) สูง เพื่อกดใบไว้ไม่ให้งามเกิน เพราะจะทำให้เกิดโร คเ น่ าง่ายและหน้าหนาว ใบจะงามเองโดยธรรมชาติอยู่แล้ว แต่พืชไม่ค่อยออกดอกติดผล ก็จะใส่ปุ๋ยสูตรที่หนักไปทางตัวกลางกับตัวท้ายสูง เพื่อช่วยให้กุยช่ายออกดอกมากขึ้นในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงที่ดอกกุยช่ายมักจะมีร าคาแพง

การจัดการโ ร คและแม ลงกุยช่าย
การจัดการด้านโ ร ค-แม ลง นั้นจะเน้นการป้องกันเอาไว้ก่อนโดยดูจากสภาพอากาศเป็นหลัก เช่น อากาศร้อน อบฝน ที่มักจะเกิดโ รค แม ลงได้ง่าย ก็จะต้องมีการฉีดยาป้องกันเอาไว้ โ รคที่มักระบาดและเจอบ่อยในแปลงกุยช่ายก็จะมีใบเ น่ า ยุบ ถ้าระบาดรุนแรงใบจะเ น่ าเสียหาย ทำให้ต้นเ น่ าเป็นหย่อมๆหรือเสียหมดทั้งแปลง ส่วนใหญ่จะเกิดปัญหาช่วงฝนก็จะพ่นส า รเ ค มีในกลุ่มเมทาแลกซิลเพื่อจัดการกับโ รค ช่วงหนาวก็อาจใบจุดสนิมบ้างพ่นสารในกลุ่มคอปเปอร์หรือกำมะถันก็ช่วยได้ ส่วนแม ลงไม่ค่อยเป็นปัญหากับกุยช่ายพ่นเพียงไซเปอร์เมทรินและอะบาเม็คตินคุมไว้ก็พอแล้ว

การเก็บเกี่ยวกุยช่าย
หลังจากกุยช่ายมีอายุได้ 4 เดือนก็จะสามารถตั ดใบข ายได้แล้ว ในการตั ดมีดแรกจะต้องคลุมฟางใหม่ รดน้ำและใส่ปุ๋ย ผ่านไปได้ 10 วันก็จะมีดอกกุยช่ายทยอยออกมาให้เก็บดอกข ายต่ออีก หลังตัดใบครั้งแรก 2 เดือน ก็จะสามารถวนกลับมาตัดใบได้อีกครั้ง ถือเป็นครั้งที่ 2 หรือมีดที่ 2 เป็นอย่างนี้สลับหมุนเวียนไปเรื่อยๆ ในการตัดแต่ละครั้งจะทำให้ต้นเล็กลงไปเรื่อยๆและดอกก็จะสั้นลง จึงต้องมีการบำรุงเพื่อให้ต้นสมบูรณ์อยู่เสมอ โดยกุยช่ายแต่ละแปลงจะสามารถตัดใบข ายได้ประมาณ 4-5 มีด หรือหากดูแลดีๆ ต้นสมบูรณ์ก็จะสามารถตัดได้ถึง 7 มีด

การทำกุยช่ายขาว
การทำกุยช่ายขาวนั้นจะมีเทคนิคการทำคือหลังจากตัดกุยช่ายแล้ว จะใช้กระถางดินเ w าครอบ แล้วใช้ สแลนคลุมพรางแสงอีกทีเพื่อลดความร้อน ปล่อยทิ้งไว้ 10-12 วันก็จะสามารถตัดกุยช่ายขาวได้แล้ว

การทำกุยช่ายขาวด้วยกระบอกไม้ไผ่
มีเกษตรกรบางร ายประยุกต์ใช้วัสดุอื่นแทนกระถางดินเ w าเพื่อลดต้นทุน โดยการใช้กระบอกไม้ไผ่แทน โดยเขาจะมีเทคนิคคือ ตัดกุยช่ายแล้วปล่อยให้เจริญเติบโตไปประมาณ 25 วัน แล้วใช้กระบอกไม้ไผ่ครอบประมาณ 10 วัน ก็จะได้กุยช่ายขาวที่ขาวอวบ กรอบ อร่อย เหมือนกัน แถวยังลดต้นทุนอีกด้วย

ผลผลิตและร าคาของกุยช่าย
ร าคาและปริมาณการผลิตกุยช่ายนั้นขึ้นอยู่กับฤดูกาล อย่าง หน้าร้อนจะได้ดอก 180 กก.ต่อ 1 ไร่ต่อการเก็บเกี่ยว 3 วัน หน้าฝนก็เช่นกัน ส่วนหน้าหนาวดอกจะได้ 6 กก.ต่อ 1 ไร่ต่อ 3 วัน ส่วนต้นหรือใบหน้าร้อนจะได้ปริมาณ 4 ตันต่อไร่ ตัดทุก 2 เดือน หน้าฝนต้นหรือใบจะได้ 6 ตันต่อไร่ตัดทุก 2 เดือน หน้าหนาวจะได้ 8 ตันต่อไร่ ตัดทุก 2 เดือน ส่วนร าคาใบและต้น หน้าหนาวจะอยู่ที่ 12 บาทต่อกก. หน้าฝนจะได้ 27 บาทต่อกก. หน้าร้อน 25 บาทต่อกก. ร าคาดอกหน้าหนาว 60 บาทต่อกก.หน้าฝนดอกร าคา 40 บาทต่อกก.หน้าร้อน 30 บาทต่อกก. ส่วนกุยช่ายขาวนั้นร าคาจะแพงหน่อย อยู่ที่ 70-100 บาทต่อกิโลกรัมเลยทีเดียว

เรียบเรียงโดยเพจธรรมะเกษตรก้าวหน้า