Saturday, 27 July 2024

เรามาเปลี่ยนใบไม้ ที่ถูกมองว่าเป็นขยะ ให้เป็นเงินกันเถอะ ลงทุนน้อย ผลตอบแทนคุ้มค่า

ปุ๋ยหมักใบไม้แห้งประโยชน์..สุดคุ้ม ส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรที่ปลูกผลผลิตในพื้นที่ปริมาณมากๆ มักทำปุ๋ยคอกไว้ใช้เอง วัสดุที่หาได้ง่ายอีกอย่างหนึ่งที่เหมาะสมและนำมาหมัก ทำปุ๋ยหมักแบบไม่ต้องพลิกกอง อีกสูตรหนึ่ง ก็คือการทำปุ๋ยหมักจากใบไม้แห้ง ที่สามารถทำได้ง่าย และเป็นสูตรเร่งรัดสำหรับเกษตรกรที่ต้องการนำปุ๋ยหมักไปใช้โดยไม่ต้องการรอเวลานาน แม้ไม่ต้องรอเวลานาน แต่การทำปุ๋ยหมักสูตรนี้ จำเป็นต้องดูแลใกล้ชิดทุกวัน เอาใจใส่เฝ้าสังเกต อยู่ตลอดของการเปลี่ยนแปลงในระหว่างการหมักวิธีการทำนั้นเริ่มต้นจากส่วนผสมที่ต้องการก่อนนั่นก็คือ

ปุ๋ยใบไม้หมักเอง มีประโยชน์

1.เศษใบไม้แห้ง 100 ส่วน
2.ปุ๋ยคอก 10 ส่วน
3.ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 1 ส่วน

หรืออาจจะใช้ปุ๋ยเคมี สูตรอื่นได้ขึ้นอยู่กับความต้องการสารอาหารของพืชชนิดนั้นๆ ที่มีปุ๋ยเคมีด้วย จริงๆแล้ว ปุ๋ยเคมีคืออาหารพืชที่ดีที่สุดของพืช หากเราใช้ในปริมาณที่เหมาะสม เเละพืชสามารถดูดซึมปุ๋ยได้หมดต่อรอบ ก็จะไม่มีผลผระทบต่อดินตามมา ส่วนการเพิ่มปุ๋ยคอกก็เพื่อช่วยในการย่อยสลายที่ดีขึ้น ปุ๋ยเคมีก็เป็นการเพิ่มสารอาหารหลักลงไป ส่วนใบไม้แห้ง หากเป็นใบเล็กๆ อยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องทำการย่อยหรือสับให้เล็กลงสามารถนำมาคลุกเคล้ากับส่วนผสมอื่นได้เลย

หรือหากต้องการย่อยให้เล็กลงอีกเพื่อที่จะได้ย่อยสลายได้ดีและเร็วยิ่งขึ้นหรือใบไม้เป็นใบใหญ่ และมีเศษกิ่งไม้ปนมาด้วย ก็ให้หักหรือสับให้ละเอียด ก่อนทำการคลุก

ขั้นตอนการคลุกเคล้า
ส่วนผสมปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้แห้งทั้ง 3 อย่างนั้น ควรคลุกเคล้าใบไม้แห้งกับปุ๋ยคอกให้เข้ากันดีก่อนแล้วค่อยโรยปุ๋ยเคมีสูตรลงไปทีหลังและคลุกให้เข้ากันดีอีกครั้งทำการกองปุ๋ยให้เป็นรูปสามเหลี่ยมสูง 5 เมตร ความยาวไม่จำกัดการดูแลที่จะต้องทำทุกวันคือรดน้ำให้กองปุ๋ยทุกวันในตอนเช้า

วิธีสังเกตความชื้นในกองปุ๋ยหมัก ด้วยการล้วงมือเข้าไปในกองปุ๋ยควรทำตอนบ่ายหรือเย็นเพื่อตรวจสอบว่าปุ๋ยยังชื้นอยู่หรือไม่ หากกองปุ๋ยแห้งหรือเริ่มแห้งแล้วทุกๆ 7 วัน ให้แทงรูลงไปในกองปุ๋ยระยะห่างระหว่างรู 40 เซนติเมตร เพื่อกรอกน้ำสะอาดลงไปในกองปุ๋ยเป็นการเพิ่มความชื้น และเติมอากาศเข้าไปเพื่อให้ จุลินทรีย์ที่ต้องใช้อากาศจะได้ทำหน้าที่ย่อยสลายปุ๋ยกองนี้ได้ดียิ่งขึ้น

นับจากวันแรกที่ก่อกองปุ๋ย ดูแลทุกๆ วันไปอีก 30 วัน ก็จะได้ปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้แห้ง คุณภาพและช่วงเวลาของการใช้ประโยชน์ดูว่าหากปุ๋ยนั้น ยุบลงเหลือ 1 เมตร มีกลิ่นที่เป็นธรรมชาติ ไม่มีกลิ่นฉุน หรือเหม็นเปรี้ยว เนื้อปุ๋ยละเอียดดี แตกง่ายเมื่อเอามือไปยีหรือขยำ ร่วนซุย มีสีน้าตาลเข้มหรือสีดำ ถือเป็นอันใช้ได้ ปุ๋ยกองนี้ ที่ทำจากใบไม้แห้ง ท่ีมีอยู่เต็มสวน

ใบไม้แห้งที่ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์อะไร บางครั้งก็กวาดเพื่อนำไปเผาทิ้ง เป็นการสร้างมลพิษ สามารถนำกลับมามีประโยชน์ให้เป็นอาหารสำหรับพืช ปุ๋ยคอกที่อยู่ในเล้า บวกกับปุ๋ยเคมีที่ซื้อมาไม่กี่บาท ก็สามารถนำไปใช้งานได้แล้วถือเป็นการลงทุนน้อย แต่ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า หรือ รวมกลุ่มกันทำสักสามสี่บ้าน หาสถานที่ในการจัดเก็บ บ้านนั้นซื้อปุ๋ยบ้านนี้มีใบไม้ก็เอามากองเยอะหน่อย ช่วยกันทำ ช่วยกันหมัก ช่วยกันหมั่นดูแลช่วงเช้า เมื่อถึงเวลาเอาไปใช้ ค่อยมาขนกลับไปยังสวน ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางหนึ่ง และเป็นการเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันอีกด้วยนะคะ