Saturday, 27 July 2024

เปลี่ยนนาข้าวเป็น แปลงผัก พืชน้ำน้อย ปลูก 2 เดือน เพิ่มรายได้ 10,000-35,000 บาท/ไร่

เกษตรกร อ.ไชโย จ.อ่างทอง พลิกจากการทำนาสู้ภัยแล้งหันมาปลูก พืชน้ำน้อย แทนการทำนา ที่เป็นการสนับสนุนจาก บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด เพื่อตอบโจทย์ทางภาครัฐร่วมฝ่าวิกฤตภัยแล้งแทนการปลูกพืชชนิดเดิม เพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกรที่เคยทำพืชที่ต้องใช้น้ำเยอะมาก่อน อาทิเช่น การทำนา เป็นต้น เพราะในปีที่ผ่านมาจนถึงปีนี้สภาพอากาศค่อนข้างที่จะมีปัญหาเป็นอย่างมากกับการทำเกษตรผสม ทางบริษัทฯ จึงเล็งเห็นว่าเกษตรกรควรที่จะมีรายได้เสริมในช่วงฤดูแล้ง จึงได้จัดโครงการ “ศรแดง พืชน้ำน้อย จากร้อยสู่ล้าน” ขึ้นมา โดยมีทีมเจ้าหน้าที่ให้ความรู้ด้านการปลูก การจัดการต้นทุน บริการให้ แต่เกษตรกรที่สนใจอยากที่จะหันมาปลูกพืชที่ให้ผลผลิตได้ไว และได้รายได้ดี

โดยทางบริษัทฯ นั้นก็มีพืช 7 ชนิด ที่ใช้น้ำน้อยนั้น ก็คือ 1) แตงกวา-แตงร้าน 2) ฟักทอง 3) แตงโม 4) ข้าวโพดหวาน 5) ข้าวโพดข้าวเหนียว 6) แฟง 7) ถั่วฝักยาว ซึ่งทั้ง 7 ชนิดนี้สามารถให้ผลตอบแทนได้ดีมากในระดับเดียวกับพืชไร่ เมื่อเปรียบเทียบจากต้นทุนต่างๆ ในการเพาะปลูก

คุณสงวน นามนนท์ เปลี่ยนจากการทำนามาเป็นไร่ข้าวโพด
นอกจากนี้ทางบริษัทฯ ยังได้เริ่มนำร่องมาในจังหวัดอ่างทองและสิงห์บุรี เพื่อส่งเสริมเกษตรกรให้หันมาทำ พืชน้ำน้อย เสริม เพื่อให้มีรายได้ในฤดูที่แล้ง จึงได้พาลงพื้นที่ ทั้ง จ.สิงห์บุรี และ จ.อ่างทอง เพื่อไปดูเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการทำ พืชน้ำน้อย ที่ผันจากการทำนามาปลูก พืชน้ำน้อย แทน อย่าง คุณสงวน นามนนท์ เกษตรกร อ.ไชโย จ.อ่างทอง ที่เปลี่ยนจากการทำนามาเป็น ไร่ข้าวโพด เพื่อเพิ่มรายได้

มีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าการทำนาถึงไร่ละกว่า 10,000 บาท โดยมีพื้นที่การปลูก ไร่ข้าวโพด 6 ไร่ และถั่วฝักยาว 1 ไร่ และแตงกวา 1 ไร่ โดยเฉลี่ยจะได้ผลผลิตปีละ 3 รอบ จากการเพาะปลูก คุณสงวนเผยว่า ปลูกพืชน้ำน้อยของทางบริษัทฯ สามารถลดการใช้น้ำไปได้ประมาณ 75% ของน้ำที่ใช้ในการทำนาได้ดี และพืชทนต่อศัตรูพืชได้ดีเป็นอย่างมาก และลดการใช้ปุ๋ยยาได้ในจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าการทำนาถึงไร่ละกว่า 10,000 บาท โดยคุณสงวนเผยอีกว่า ข้อดีของการเปลี่ยนมาปลูกพืชน้ำน้อยนั่นก็คือ รายได้เฉลี่ยต่อไร่ดีกว่า และยังสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วกว่า

คุณสงวนบอกว่าแนะนำให้เกษตรกรรายอื่นๆ ท่านที่กำลังปลูกพืชที่ต้องให้น้ำเป็นจำนวนมากในช่วงฤดูที่แล้งๆ แบบนี้ ให้หันมาปลูกพืชน้ำน้อย ซึ่งจะต้องศึกษาข้อมูลการปลูกอย่างละเอียด เพื่อเป็นข้อมูล เพิ่มผลผลิต และสร้างรายได้ทดแทนในช่วงที่ไม่มีรายได้จากการทำนา

คุณบำรุง พงษ์พุฒ เกษตรกรผู้ปลูกบวบเหลี่ยมพืชน้ำน้อยก็เป็นเกษตรกรที่หันมาปลูกพืชน้ำน้อยอีกเช่นกัน ใน อ.ไชโย จ.อ่างทอง นั่นก็คือ คุณบำรุง พงษ์พุฒ โดยมีพื้นที่กว่า 30 ไร่ ในการทำนา ต่อมาเกิดภัยแล้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2558 จึงทำให้คุณบำรุงตัดสินใจหันมาเริ่มปลูกพืชน้ำน้อย โดยทีแรกมีการปลูกมะระก่อน ต่อมาจึงมีการปลูกบวมพันธุ์วิกเกอร์ A ของศรแดง ซึ่งตอนนี้ปลูกพืชน้ำน้อยอยู่ในพื้นที่ 1 ไร่ แต่เห็นอย่างนี้อย่านึกว่าคุณบำรุงเป็นเกษตรกรมาก่อน แต่ด้วยเกษียณออกมาจากงาน จึงทำได้หันมาทำทางด้านเกษตรกรรมอยู่ที่บ้าน และได้มาทำพืชน้ำน้อยเพื่อเป็นอาชีพเสริม

การเพาะกล้า
ส่วนการปลูก ทีแรกคุณบำรุงบอกว่าจะใช้การเพาะกล้าใส่ถาด ซึ่งจะต้องใช้เวลา 1 สัปดาห์ ถึงจะเป็นต้นดี การเพาะต้นกล้านี้ก็จะใช้ขุยมะพร้าวกับดินที่เพาะกล้า และต่อมาก็จะทำการผสมน้ำให้ชุ่มๆ และเอาเมล็ดที่จะเพาะเป็นกล้าปักลงไปในถาด ก็จะเริ่มตากแดด และงดการให้น้ำ และนำถุงพลาสติกที่คลุมออกไป ใช้เวลา 1-2 วัน ก็จะเริ่มเห็นต้นกล้าโผล่ออกมา พอเริ่มมีใบจริงทางสวนก็จะเอาลงปลูกในแปลง โดยมีระยะอยู่ที่ 60 ซม. โดยการเพาะต้นกล้านั้นทางสวนก็จะใส่หลุมละเมล็ดเท่านั้น นอกจากนี้การให้น้ำก็จะเป็นการให้น้ำแบบน้ำหยด

สามารถสร้างรายได้ถึง 35,000 บาท ต่อไร่ ส่วนโรคแมลงก็มีบ้าง ซึ่งจะเป็นพวกเชื้อรา ก็จะมีการฉีดยากันไว้ โดยจะใช้ยาแบบมีฤทธิ์อ่อนๆ อย่าง เมทาแลกซิล และอะบา เป็นต้น ส่วนการดูแล ทางสวนก็จะใส่ปุ๋ยวันเว้นวัน และจะให้ในปริมาณที่น้อย โดยจะใช้ปุ๋ยสูตร 16-13-13-21 ซึ่งวันนี้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้วถึง 2 รอบ ซึ่งการเพาะปลูกสามารถสร้างรายได้ถึง 35,000 บาท ต่อไร่โดยการปลูกระบบน้ำ ใช้น้ำน้อยลงกว่าการทำนาถึง 25% ซึ่งการทำนาก็จะต้องใช้เวลาถึง 4 เดือน จึงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ซึ่งเมื่อเทียบกับการปลูกพืชน้ำน้อยแล้วก็จะใช้เวลาแค่ 2 เดือน ก็จะสามารถเก็บเกี่ยวได้ทันที จึงมีข้อดีเรื่องการดูแลพืชผักในพื้นที่น้อยกว่า แต่รายได้ต่อไร่มากกว่า และเวลาในการปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตสั้นกว่าการทำนา นอกจากนี้ผลผลิตที่ได้นั้นก็จะมีแม่ค้าจากตลาดไทมารับซื้อถึงที่ ซึ่งจะได้กิโลกรัมละประมาณ 10 บาท

การบริหารจัดการน้ำ
นอกเหนือจากการปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้เหมาะสมกับการปลูกพืชน้ำน้อยแล้ว การบริหารจัดการน้ำในภาวะวิกฤตเช่นนี้จำเป็นต้องดำเนินการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นการใช้ระบบน้ำหยดจึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกพืชน้ำน้อยในภาวะขาดแคลนน้ำแบบนี้ส่งผลให้ต้นพืชเจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งข้อดีของการให้น้ำด้วยระบบน้ำหยดนั้นจะทำให้พืชได้รับน้ำในปริมาณที่เหมาะสมและสม่ำเสมอทั้งแปลง ประหยัดเวลาและแรงงาน บำรุงรักษาระบบง่าย เกษตรกรสามารถดำเนินการได้เอง สามารถใช้กับพื้นที่และดินได้ทุกประเภท ที่สำคัญ คือ สามารถควบคุมวัชพืชได้ และเป็นการประหยัดน้ำ ที่ส่งผลไปถึงการลดต้นทุนการปลูกในที่สุด ซึ่งการปลูกพืชน้ำน้อยนอกจากจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในช่วงเวลาขาดแคลนน้ำแล้ว ยังถือเป็นการช่วยประเทศชาติในการใช้น้ำอย่างประหยัดอีกทางหนึ่งด้วย

เรียบเรียงโดย เกษตรก้าวหน้า