Saturday, 27 July 2024

เทคนิคการปลูกข้าวโพดฝักอ่อนให้ได้ผลผลิตสูง

สวัสดีครับสมาชิกและแฟนเพจ ธรรมะเกษตรก้าวหน้าทุกท่าน วันนี้เรานำเนื้อหาเกี่ยวกับเทคนิคการปลูกข้าวโพดฝักอ่อนมาให้ท่านที่ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นเกษตรกร ที่คิดว่าจะทำก่อนหรือหลังวัยเกษียณควรอย่างยิ่งที่ต้องทำความเข้าใจและศึกษาให้ละเอียดถี่ถ้วนลงรายละเอียดจนสร้างแนวคิดกับรูปแบบการเกษตรก่อนลงมือปฏิบัติครับ การปลูกพืชแบบเกษตรแบบผสมผสาน นั้นก็ถือเป็นกิจกรรมที่จะต้องทำกันอย่างต่อเนื่องกันเลยด้วยนะครับ เพราะมันจะมีผลผลิตต่างๆให้เราได้เลือกทำกันตลอดทั้งปีและที่สำคัญนั้น การทำเกษตรในลักษณะแบบนี้นั้น มันก็จะทำให้เรามีความสุข ที่เราได้เลือกทำการเกษตรที่ดีและต่อเนื่องนั่นเอง ลองมาพิจารณาดูกันครับว่ามีอะไรบ้าง

พั น ธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนที่ดี เป็นปัจจัยที่สำคัญข้อหนึ่งที่จะได้ผลผลิตคุณภาพดี คือมีปริมาณฝักเสียไม่ได้มาตรฐานน้อย ตามความต้องการของโรงงานแปรรูป ขณะเดียวกันพันธุ์นั้น ก็ควรให้ผลผลิตสูง และง่ายต่อการจัดการของเกษตรกรผู้
ปลูกด้วย พั น ธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนที่เกษตรกรใช้มีดังนี้

1.พั น ธุ์ผ ส มเปิดต่างๆ ได้แก่ สุวรรณ 1 สุวรรณ 2 สุวรรณ 3 รังสิต 1 และเชียงใหม่ 90 เป็นต้น จะสังเกตได้ว่า นอกเหนือจากพั น ธุ์รังสิต 1 เชียงใหม่ 90 และพั น ธุ์ข้าวโพดหวานแล้ว พั น ธุ์สุวรรณ 1, 2, 3 ต่างเป็นพั น ธุ์ที่ได้รับการปรับ
ปรุงและพัฒนาเพื่อใช้ในการผลิตเป็นข้าวโพดไร่

2.พั น ธุ์ลูกผสมของทางราชการและบริษัทเอกชนต่างๆ พั น ธุ์ข้าวโพดอ่อนเหล่านี้มีข้อดี คือ มีความสม่ำเสมอของทรงต้น และอายุเก็บเกี่ยวตลอดจนจำนวนฝักอ่อนได้มาตรฐานสูงกว่าพั น ธุ์ผ ส มเปิด ทั้งนี้ ต้องมีการดูแลรักษาที่ดีด้วย
เ ม ล็ ดพั น ธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนลูกผสม แม้จะมีราคาสูง แต่ในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อน ปัจจุบันซึ่งเป็นการผลิตเพื่ออุตสาหกรรม ซึ่งต้องคำนึงถึงคุณภาพ ความสม่ำเสมอของผลผลิต และปัญหาค่าแรงงานการเก็บเกี่ยวสูงแล้ว การใช้ พั น ธุ์ลู กผสมก็มีความจำเป็นมากขึ้น

การปรับปรุงดินข้าวโพดฝักอ่อนสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่การที่จะปลูกข้าวโพอฝักอ่อนให้ได้ผลดีนั้น ควรปลูกในดินร่วน ตั้งแต่ดินร่วนเหนียวและดินร่วนทราย พื้นที่ปลูกต้องเป็นดินที่ระบายน้ำดีเพราะข้าวโพดฝักอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตได้ในดินเปียกแฉะและระบายน้ำยาก ข้าวโพดฝักอ่อนสามรถปลูกได้ในสภาพดินที่มีปฏิกิริยาตั้งแต่ pH 5.5-7.0 และสามารถปลูกในดินที่เป็นกรดค่อนข้างจัดการปรับปรุงและบำรุงดินสำหรับข้าวโพดฝักอ่อน ควรทำดังนี้

1.ใส่ปูน กรณีที่ดินเป็นกรด เช่น ในท้องที่ภาคกลาง ถ้าเกษตรกรยังไม่ได้วิเคราะห์ดิน ก็อาจทำได้โดยการใส่ปูนขาว ในอัตราต่ำ เช่น 100-200 กก.ต่อไร่
2.ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยให้โครงสร้างของดินดี ชุ่มน้ำและระบายน้ำดีอย่างสม่ำเสมอ ผลผลิตสูง และเปอร์เซ็นต์ฝักมาตรฐานสูง ปุ๋ยอินทรีย์สามารถใช้ได้ถึง 5 ตันต่อไร่

การเตรียมดินปลูกขุดดินหรือพรวนดินให้ร่วนโปร่ง และมีความลึกประมาณ 25 เซนติเมตร แล้วยกร่องเป็นลูกฟูกสูง 25 เซนติเมตร ให้ร่องระบายน้ำได้ สำหรับฤดูฝนให้พื้นที่นาใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักตามที่หาได้เพื่อปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย
วิธีปลูกโดยทั่วไปจะปลูกในหลุมที่ขุดเตรียมเอาไว้ ก่อนหน้านั้นจะให้น้ำก่อนประมาณ 3 วัน เพื่อหลังจากปลูกแล้วจะทำให้เ ม ล็ ดงอกได้รับความชื้นพอดี ก่อนปลูกเอาปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองก้นหลุมประมาณ 1 กะลามะพร้าวต่อหลุม แล้วใส่ปุ๋ยเ ค มีหลุมละ 7 กรัมหรือฝาน้ำอัดลมใช้สูตร 20-20-0 หรือ 16-20-0 คลุกเคล้าปุ๋ยกับดินให้เข้ากัน เอาดินกลบบางๆ หยอดเ ม ล็ ดหลุมละ 4-5 เ ม ล็ ด (เม ล็ ดควรทดสอบความงอกแล้วคลุกย า เอพรอน 35 หรือย ากันราก่อนปลูก)เอาดินกลบหนาประมาณ 1-2 ซม. เมื่อเ ม ล็ ดงอกแล้ว 2 สัปดาห์ หรือต้นข้าวโพดสูงประมาณ 1 คืบ ถอนต้นที่อ่อนแอออกเหลือต้นที่แข็งแรงไว้ 3 ต้นต่อหลุมระยะปลูกผลผลิตข้าวโพดจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้คือ

1.จำนวนต้นต่อพื้นที่ (ในกรณีที่มีปัจจัยอื่นๆ เหมาะสม)
2.พั น ธุ์ข้าวโพด
3.ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
4.ปริมาณปุ๋ยที่ใส่
5.การชลประทาน

อัตราเ ม ล็ ดพั น ธุ์ที่ใช้ปลูกถ้าเป็นข้าวโพดหวานจะใช้เ ม ล็ ดพั น ธุ์ประมาณ 3-5 กก.ต่อไร่ ส่วนการหยอดจำนวนเ ม ล็ ดต่อหลุมนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของจำนวนต้นต่อหลุม เช่น หากต้องการ 3 ต้นต่อหลุมก็จะหยอดเ ม ล็ ด 4-5
เ ม ล็ ดต่อหลุมเป็นต้นการใส่ปุ๋ยข้าวโพดฝักอ่อนเมื่อข้าวโพดอายุ 25-30 วัน ครั้งละครึ่งของปริมาณทั้งหมด ในดินนาตามหลังข้าว ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียว อัตรา 15-30 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีใส่เช่นเดียวกับข้อ 1 ในพื้นที่ไร่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงต่ำ ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้มาก 1-2 ต้นต่อไร่ ปุ๋ยเคมีใช้ 15-15-15 อัตรา 75-100 กก.ต่อไร่ รองก้นหลุมตอนปลูกและปุ๋ยไนโตรเจน 10-15 กิโลกรัม ต่อไร่ โรยข้างแถวเมื่ออายุ 25-30 วัน ถ้าดินดีใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียว20 กก.ต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง

การถอดยอดเมื่อข้าวโพดมีอายุประมาณ 38 วัน หรือเมื่อมีใบจริงครบ 7 คู่ ช่อดอกตัวผู้จะเริ่มโผล่ออกมาจากใบธง (ใบยอด) ให้ดึงช่อดอกตัวผู้ทิ้งโดยใช้มือหนึ่งจับลำต้นไว้ อีกมือหนึ่งจับใบข้าวโพดที่บานอยู่ตรงกลางของยอด ดึงออกมาตรงๆการถอดยอดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผสมเกสร การเก็บเกี่ยวข้าวโพดฝักอ่อนจะเก็บเกี่ยวได้หลังจากดึงช่อดอกตัวผู้แล้วประมาณ 3-5 วัน การเก็บเกี่ยวมีข้อพึงปฏิบัติดังนี้

สังเกตจากไหน เริ่มโผล่พ้นปลายฝัก มีความยาว 1-2 เซนติเมตร จะเป็นช่วงที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวที่สุด เก็บเกี่ยวจากฝักบนสุดเป็นฝักแรกและฝักอื่นๆ ถัดต่ำตามลงมา การหักฝักควรหักให้ติดลำต้นไปด้วยเพราะจะทำให้มองเห็นต้นที่เก็บเกี่ยวแล้ว ตั้งแต่ 40-60 วัน เกษตรกรจึงควรเก็บตัวอย่างข้าวโพดที่มีไหมยาวแตกต่างกันมากรีดดูรูปร่างและขนาดของฝัก จะทำให้รู้ว่าควรเก็บฝักตอนที่ไหมยาวขนาดไหน การเก็บฝักเพื่อส่งออกในรูปฝักสด ควรเก็บเกี่ยว 2 ฝักต่อต้นเกษตรกรไม่ควรเก็บฝักที่ 3 เนื่องจากฝักมักจะไม่สมบูรณ์เป็นหัวใจสำคัญของการปลูกข้าวโพดฝักอ่อน คุณภาพจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับช่วงนี้ หากเก็บเกี่ยวไม่ถูกต้อง เช่น ช้าไป ไหมโผล่ยาวจากฝักมากจะได้ฝักที่มีขนาดใหญ่เกินมาตรฐานความต้องการของโรงงานหรือผู้ส่งออกฝักสด ซึ่งต้องคัดออกเป็นปัญหาที่สำคัญประการหนึ่ง

แหล่งที่มา https://www.baanjomyut.com เรียบเรียงโดย: ธรรมะเกษตรก้าวหน้า