Saturday, 27 July 2024

เคล็ดลับ การปลูกแตงโมสายพันธุ์ต่างๆให้ผลดอก ลูกใหญ่ ได้ผลผลิตดีที่สุด

แตงโม หนึ่งในผลไม้ยอดนิยมของคนไทย ด้วยรสชาติที่หวานฉ่ำ ทั้งยังช่วยเพิ่มความสดชื่นคลายร้อน แตงโมจึงเป็นที่ต้องการของตลาดเสมอมา โดยช่วงที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการปลูกคือช่วงปลายฝนต้นหนาวหรือประมาณเดือนตุลาคม ซึ่งผลิตผลที่ได้จะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม และในช่วงนี้ก็เข้าใกล้ฤดูเพาะปลูกแตงโมกันแล้ว เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตพี่น้องเกษตรกรและเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร จึงขอชวนพี่น้องเกษตรกรมาเตรียมความพร้อมในการปลูกแตงโมเพื่อสร้างรายได้ ด้วยเคล็ด (ไม่) ลับที่จะช่วยให้การปลูกแตงโมได้ผลิตผลงาม ขายง่าย รายได้ดี

การ“ปลูกแตงโม”สายพันธุ์ต่างๆให้ได้ผลผลิตดี ต้องเตรียมพื้นที่ พื้นที่สำหรับปลูกแตงโมพื้นที่ที่ไม่ชื้นแฉะ เพราะแตงโมไม่ชอบพื้นที่น้ำแฉะแต่ก็ขาดน้ำไม่ได้เหมือนกัน ในช่วงเดือนมกราคม – กันยายน แต่ไม่ใช่ช่วงฤดูหนาว เนื่องจากว่าฤดูหนาวแตงโมจะโตช้าต้องใช้เวลาถึง 90-100 วันกว่าจะได้เก็บผลผลิต แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูร้อนหรือฤดูฝนโดยเฉพาะในช่วงเดือนเมษายนจะใช้เวลา55-75วัน สามารถเก็บผลผลิตขายสู่ท้องตลาดได้

วิธีการปลูกแตงโมที่ถูกต้อง แตงโมแต่ละพันธุ์นั้นจะมีวิธีการปลูกที่เหมือนๆกัน ดังนี้
1. เตรียมแปลงปลูกไถพรวนกว้าง 7 เมตร ไม่จำกัดความยาว จากนั้นคลุมแปลงด้วยผ้าพลาสติกสำหรับคลุมแปลงโดยเฉพาะ เป็นผ้าสังเคราะห์แสง ลักษณะด้านหนึ่งสีขาว อีกด้านหนึ่งสีดำ เป็นตัวควบคุมความชื้นและอุณหภูมิในดิน และผ้าพลาสติกยังช่วยป้องกันวัชพืชอีกด้วย โดยคลุมแปลงฟากเดียวเพียงครึ่งแปลงตามแนวยาว

2. หลังจากคลุมแปลงด้วยผ้าพลาสติกแล้ว ให้เจาะหลุมบนผ้าพลาสติกให้ขาดเป็นวงกลมรัศมีความกว้าง 5 เซนติเมตร ในระยะห่าง ประมาณ 50 เซนติเมตร ให้เหมาะพอดีสำหรับการปลูกต้นกล้าแตงโม

3. จากนั้นนำต้นกล้าลงปลูก ต้องสังเกตดูต้นกล้า ซึ่งต้นกล้าจะต้องสมบูรณ์ยาวประมาณ 1 คืบ และต้องตัดใบออกให้เหลือ 4 ใบที่สมบูรณ์ที่สุดไว้ ซึ่งต้นกล้าที่นำมาปลูกนั้นจะต้องได้มาจากการเพาะในถาดจานหลุมจนด้วนขี้เถ้าแกลบจนโตเต็มที่เป็นต้นกล้าที่แข็งแรง

4. รดน้ำวันละ 1 ครั้งในต้อนเช้าหรือตอนเย็นก็ได้ จากนั้นเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 3 วัน ให้ใส่ปุ๋ย

5. เมื่อเวลาผ่านไป 5 วันต้นแตงโมที่ปลูกจะออกใบใหม่มาอีก รวมเป็น 7 -8 ใบ ให้เกษตรกรตัดทิ้งให้เหลือใบที่สมบูรณ์ที่สุดเพียง 4 ใน

6. เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ ต้นแตงโมจะเริ่มแตกเถา ให้เกษตรกรสังเกตดูความสวยและความสมบูรณ์ของเถาแตงโม ถ้าเถาไหนไม่สมบูรณ์หรือแตกเถามากเกินไป ให้ตัดทิ้งให้เหลือไม่เกิน 4 เถา เพราะถ้าไม่ตัดเถาทิ้งจะทำให้แตงโมติดลูกในระยะเวลาที่ต่างกัน ผลแตงโมจะโตไม่พร้อมกันและขาดคุณภาพ

7. ในช่วงที่ต้นแตงโมเลื้อยเถา ( 6 วัน) ให้เกษตรกรหว่านปุ๋ย ในแปลงอีกฟากหนึ่งที่ยังไม่ได้คลุมผ้าพลาสติกจากนั้นไถกลบ เพื่อให้ปุ๋ยค่อยๆซึมไปหาลำต้นแตงโมที่ปลูกในระยะตรงข้ามกัน

จากนั้นอีก 7 วันหรือ 1 สัปดาห์ต้องให้ฮอร์โมนบำรุงต้นทางใบกับต้นแตงโม
หมั่นสังเกตปัญหาเกี่ยวกับโรคและแมลงที่มารบกวน ไม่ว่าจะเป็นโรคราน้ำค้าง โรคใบจุดหรือไฟลามทุ่ง โดยเฉพาะโรคไฟลามทุ่งจะรุนแรงมากที่สุดเพียงแค่ 3 วันจะทำให้แตงโมเหี่ยวแห้งทั้งสวน เกษตรกรต้องใช้สารจำพวก แอนแทรคโน๊ต และใช้เคมีเข้าช่วยในการกำจัดปัญหา

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

เมื่อปลูกครบ 1 เดือน ต้นแตงโมจะเริ่มเลื้อยเถา ลักษณะเถาแตงโมจะไม่มีเถาเดียวเรียวยาวออกไปแต่จะแตกกิ่งออกไปเป็นแขนง เมื่อมีกิ่งแขนงที่แตกออกไปมากๆเกษตรกรจะต้องกำจัดทิ้ง โดยการนับช่วงระหว่างใบจำนวน 5 ช่วงตั้งแต่ลำต้น เมื่อนับไปถึงช่วงข้อที่ 5 ให้เด็ดกิ่งแขนงออกให้เหลือแต่เถาหลักคงเอาไว้

เมื่อต้นแตงโมอายุครบ 35-40 วัน มันจะเริ่มออกดอกและติดผลเป็นลูกเล็กๆตามเถาที่เลื้อยบนดินในแปลง เกษตรกรต้องมั่นดูแลเรื่องโรคและแมลง นอกนั้นต้องสังเกตดูความสมบูรณ์ของผลแตงโมโดยสังเกตดูก้านผล ถ้าก้านผลเล็กและลูกไม่สมบูรณ์ต้องเด็ดทิ้ง การเด็ดผลด้อยแตงโมจะต้องนับจากช่วงใบตั้งแต่ลำต้นไป ถ้าติดผลในช่วงข้อที่ 6 ให้เด็ดทิ้ง แล้วนับไปอีก 4 ช่วงข้อถ้ามีผลติดอีกก็ให้เด็ดทิ้งเหมือนกัน จากนั้นนับไปอีก 4 ช่วงข้อสังเกตดูผลที่มันติดอยู่ถ้าผลสมบูรณ์ให้ปล่อยไว้ให้โตและถ้าไม่สมบูรณ์ให้เด็ดทิ้งทันที จากนั้นนับไปอีก 3 ช่วงข้อ ถ้ามีผลแตงโมติดอยู่ให้คงผลนั้นไว้เลี้ยงให้โตจะเป็นลูกแตงโมที่โตและสมบูรณ์ โดย แตงโม 1 ต้นจะต้องมีผล 1-2 ลูกเท่านั้น

เมื่อคัดเลือกผลที่สมบูรณ์ที่สุดแล้ว เกษตรกรต้องหมั่นดูแลเกี่ยวกับปัญหาโรคและแมลง ดูแลจนผลแตงโมมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ให้ใช้ปล้องไม้ไผ่ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ผ่าครึ่งนำมารองผลแตงโมไว้ เพื่อป้องกันแมลงในดินมาเจาะผลแตงโมและเป็นการรักษาผิวแตงโมให้สวย

จากนั้นเมื่อครบเวลา 55 วัน (ในช่วงฤดูร้อน)แล้วเป็นช่วงที่สามารถเก็บผลผลิตสู่ท้องตลาดได้ ซึ่งแตงโมทุกพันธุ์จะมีอายุการเจริญเติบโตที่ไม่แตกต่างกัน แตงโมที่เกษตรกรปลูกอยู่ในปัจจุบันมีอยู่หลายสายพันธุ์โดยแต่ละสายพันธุ์จะมีลักษณะเฉพาะและมีความแตกต่างกัน ดังนี้

“แตงโมพันธุ์จินตรา” ลักษณะผิวลายสีขาว ผลโต เนื้อละเอียดสีแดง กรอบ เปลือกอ่อน ผลกลมมีน้ำหนัก 4-6 กิโลกรัม
“แตงโมพันธุ์กินรี” ลักษณะลายดำ แถบดำ ผลโต เนื้อละเอียดสีแดง กรอบ เปลือกอ่อน ผลกลมมีน้ำหนัก 4-6 กิโลกรัม
“แตงโมพันธุ์ตอปิโด” ลักษณะเปลือกแตงโมจะทนต่อการขนย้าย ผิวลายเกือบดำ ผลเรียวยาว
“แตงโมพันธุ์ซ่อนย่า” ลักษณะผลกลม ผิวแถบสีเขียวเข้ม เปลือกแข็ง เนื้อสีแดง

ที่มา : ศูนย์รวมความรู้การเกษตร , kaijeaw.com