Saturday, 27 July 2024

อานิสงค์ผลบุญ การล้างห้องน้ำวัด ทำให้มีจิตใจเบิกบานแจ่มใส สติปัญญาดี แก้ดวงย่ำแย่ การงานตกต่ำ

อยากจะแนะการสร้างบุญสร้างกุศลให้กับทุกๆท่าน ในหลายคนเวลาที่เข้าวัดเวลาที่คิดอยากจะทำบุญก็มักจะใส่บาตร ถวายสังฆทาน ให้อาหารปลา แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการทำบุญด้วยการล้างห้องน้ำวัดนั้น

มีเรื่องราวที่มากมายจนเชื่อว่าหลายๆคนไม่เคยรู้ว่า บุญกุศลที่ได้จากการล้างห้องน้ำวัดนั้นมีอย่างมากมาย มหาศาลหลายๆคนทำบุญด้วยการลงแรง หรือที่เราเรียกกันว่าเวยยาวัจจมัยเป็นหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ 10 สำหรับการช่วยเหลือผู้อื่นในงานที่ชอบ และในการล้างห้องน้ำวัดก็เป็นหนึ่งในนั้น

พระไพศาล วิสาโล ได้ทำการอธิบายความหมายของเวยยาวัจจมัยเอาไว้ว่า เป็นการทำบุญด้วยการขวานขวายการรับใช้รวมถึงการช่วยเหลือส่วนรวม เช่น การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การรักษาสมบัติของสาธารณะ การชักชวนให้ผู้อื่นเป็นคนดี

เข้าวัดเข้าวา การเป็นจิตอาสาสำหรับช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนหรือแม้แต่การเป็นอาสาสมัครช่วยเหลืองานปฏิบัติธรรมช่วยเหลืองานส่วนรวมที่ไม่จำเป็นต้องช่วยงานวัดนั้นก็ถือว่าเป็นการบำเพ็ญวยยาวัจจมัยเช่นกัน

อานิสงส์ของการล้างห้องน้ำ

ในสมัยพุทธกาล มหาเศรษฐี สามีภรรยาแห่งพร ะนครโกสัมพีมีบุตรนามว่า พากุละ หลังจากเกิดได้เพียง 5 วัน มารดาบิดาพร้อมด้วยเครือญาติได้พาเด็กน้อยไปอาบน้ำชำระร่างกายที่แม่น้ำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์

ระหว่างที่คนใช้กำลังอาบน้ำให้อยู่นั้น มีปลาตัวใหญ่ว่ายผ่านมา เห็นก็เข้าใจว่าเป็นอาหาร จึงกลืนเข้าไปในท้องแล้วว่ายน้ำหนีไป สร้างความเสียใจ แก่มารดาและบิดาเป็นอย่างยิ่ง ด้วยอำนาจบุญญาธิการของเด็กพากุลเมื่อเข้าไปอยู่ในท้องปลาก็ไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใด
กลับนอนสบายเหมือนอยู่บนที่นอนธรรมดา ในทางกลับกันปลายักษ์กลับรู้สึกเดือดร้อนกระวนกระวายเที่ยวแหวกว่ายไปตามกระแสน้ำ จนติดตาข่ายของชาวประมงที่อาศัยในนครพาราณสี สามีภรรยามหาเศรษฐีแห่งเมืองพาราณสีซื้อปลายักษ์ตัวนี้ไป

หลังจากเปิดท้องปลาและพบเด็กน้อยนอนอยู่ในนั้น ก็เกิดความรักใคร่ราวกับว่าเป็นบุตรของตนจึงเลี้ยงดูพากุละเป็นอย่างดี ข่าวของเด็กน้อยในท้องปลาแพร่มาถึงเมืองโกสัมพี หลังเศรษฐีและภรรยาทราบเรื่องก็รู้ทันทีว่าเป็นบุตรชายของตน จึงรีบเดินทางมายังกรุงพาราณสีเพื่อขอคืน แต่เศรษฐีแห่งเมืองพาราณสีไม่ยอมคืนให้ พร้อมบอกว่า เราเป็นผู้ซื้อปลาตัวนี้ ดังนั้นที่อยู่ในครรภ์ของปลา ก็ถือเป็นสมบัติของเราด้วยเช่นกัน เมื่อตกลงกันไม่ได้เศรษฐีทั้งสองฝ่ายจึงได้ถวายฎีกาต่อพระเจ้าพรหมทัตผู้มีปัญญามาก

พระองค์ทรงวินิจฉัยว่าเด็กน้อยผู้นี้เป็นผู้มีบุญญาธิการมาก พ่อแม่เพียงสองคนไม่สามารถเลี้ยงดูเขาได้ จึงตัดสินให้ผู้นี้มีบิดา 2 คนและมารดา 2 คน พร้อมให้ทั้งสองตระกูลช่วยกันเลี้ยงดู โดยผลัดกันเลี้ยงคราวละ 4 เดือน ตั้งแต่นั้นเศรษฐีทั้งสองตระกูลก็เลี้ยงดูเด็กน้อยเป็น
อย่างดี