Saturday, 27 July 2024

สภาพสังคมปัจจุบัน ชีวิตมีแต่ทำงานหาเงิน หามาได้เท่าไหร่ก็พอจ่ายสักที(อ่านแล้วดีมากๆ)

พูดกันติดปาก ตั้งแต่วัยทำงาน จนถึงวัยเกษียณ ว่าหาเงินมาจ่าย ออกหมดหาเงินได้เท่าไหร่ ก็ไม่พอจ่าย หาเงินมา ไม่ทันได้ใช้ หาเงินมาได้ ก็ไม่เคยมีเงินเก็บคนทำงานทุกคน ต่างต้องการเงิน เดือนสูง ๆ รายได้ เยอะ ๆ กัน ทั้งนั้นอย่างน้อยที่สุด ก็ขอให้ได้เงินเดือน ที่พอใช้จ่ายตลอดเดือนเหลือเก็บบ้าง เล็กน้อยก็ยังดี

แต่สภาพสังคมปัจจุบันชีวิตของคนทำงานมีสิ่งที่ทำให้ต้องเสี ยเงิน เสี ยค่าใช้จ่ายค่ามากขึ้นซึ่งแม้จะเป็นรายจ่าย ที่สำคัญ แต่ ก็ไม่ได้ หมายความว่า จะเปลี่ยนแปลงหรือลดรายจ่ายไม่ได้ เช่น ค่าผ่อนชำระบัตรเครดิต ขั้นต่ำ ในแต่ละเดือน ค่าผ่อนสินค้าค่าบริการโทรศัพทมือถือ ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าเสริมสวย-ซื้อ เครื่องสำอางค่าใช้บริการฟิตเนส ค่าน้ำมันรถ รายจ่าย เหล่านี้ เป็นการจ่าย เพื่อสิ่งที่‘อาจไม่จำเป็นต้อง มีต้องทำหรือ ต้องเป็น ’ แต่ ก็ยังดีกว่า รายจ่าย ในสิ่งที่ไร้ประโยชน์เช่นค่าเหล้า ค่าบุหรี่ ค่าหวยหรือ ค่าใช้จ่าย สำหรับอบาย มุขต่าง ๆ เงินเดือนเท่าไหร่จึงจะพอกับ ความต้องการ จึงเป็นปัญหาโลกแตกสำหรับ คนทำงาน หลายคนมีรายได้มากกว่า

ตอนเริ่มต้นทำงาน แต่ก็ยังไม่พอใช้ จ่ายไม่พอใช้หนี้ ลองมองย้อน กลับไปในอดีตหากเราไม่ก่อหนี้ โดยเฉพาะหนี้ บัตรเครดิต เพื่อซื้อสิ่งที่ต้อง การอย่างง่ายๆป่านนี้ คงมีเงินเก็บมากมาย หากคนทำงานอย่างคุณจ่าย ค่าเหล้า ค่าบุหรี่ในแต่ละวัน เท่าค่าใช้จ่าย ประจำวัน โดยเฉพาะค่าข้าว ถ้างดเหล้า งดบุหรี่ในแต่ละเดือน จะเหลือเงินค่าข้าวเป็นสองเท่าเลยทีเดียว

หากคุณมีรายได้หลักพัน หรือหลักหมื่นต้น ๆ แต่ซื้อเสื้อผ้า เครื่องประดับ ราคาแพงใส่ไปทำงานใช้ โทรศัพท์มือถือ เครื่องละหลายหมื่น ที่ยังต้องผ่อนดื่ม กาแฟแก้ว ละเกือบร้อย แม้จะเป็นความสุข ของคนทำงาน ที่ถือเป็นการให้รางวัลตัวเอง จากการทำงานที่เหน็ดเหนื่อย แต่ความทุกข์ที่ต้องจ่ายหรือเป็นหนี้ จะตามมาในภายหลังพฤติกรร และการใช้ชีวิต เช่นนี้ ส่งผลให้คนทำงาน ส่วนใหญ่ มีหนี้สิน

แม้แต่คนที่ทำงาน ได้เงินเดือนสูง แต่บริหารรายได้ ของตนเองไม่ดีก็ไม่เหลือเงินเก็บ เพราะส่วนมากได้เงิน เยอะก็ใช้ เยอะตามไป ด้วยนี่เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้อง กับความอยากได้ อยากมีของคน ยกตัวอย่างง่าย ๆ ตอนเป็นเด็ กคุณอาจจะคิดว่ามีเงิน แค่ 1 ล้านบาท ก็ถือว่ารวยแล้ว แต่เมื่อโตขึ้นมา เงิน1ล้านบาท อาจจะเป็นเงินจำนวนที่น้อยมาก ในสายตาคุณนั่นก็เพราะกิเลสไม่มีที่สิ้นสุด ยิ่งคนเติบโตมากขึ้น เท่าไหร่กิเลสก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นตาม ‘สภาพและฐานะ นุรูปที่คุณต้องสร้างภาพ ให้ปรากฏแกสังคม’

ดังนั้นถึงจะมีเท่าไร ก็ไม่พอใช้ เพราะความต้องการ ที่เพิ่มขึ้น ลองพิจารณาดูว่าในช่วงเริ่มต้นชีวิตการทำงาน คุณอาจมีรายได้ แค่หลักพัน หรือหลักหมื่นต้นๆจากรายได้ที่เพียงพอ ต่อการใช้ชีวิตในหนึ่ง หนึ่งเดือน เมื่อคุณมีความต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ รายได้ก็เกิด การไม่พอใช้ต้องหมุนเงินเดือนชนเดือนหลังจากนั้น คุณก็จะเริ่มคิดว่า ถ้ามีเงินเดือนสามหมื่นบาทก็คงพอค่าใช้จ่ายอยู่ได้สบายๆ แต่เมื่อเงินเดือน คุณถึงสามหมื่นเมื่อไหร่ก็กลับเข้าสู่พฤติกร ร มเดิมเงินสามหมื่น ที่คิดว่าพอสุดท้ายก็ไม่พออยู่ดี จากที่เคยคิดว่า ‘ใช้เท่าไหร่ ก็ยังไม่พอ’

พยายามเปลี่ยนมาเป็น ‘อยากเก็บออม ให้ได้เยอะที่สุด จนรู้สึกว่า ออมเท่าไหร่ ก็ยังออมไม่พอ’หรือสร้างหนี้ ได้แต่ต้องเป็น ‘หนี้เพื่อ อนาคต’ ออมเงิน กับประกันชีวิตและฝากเงิน กับธนาคารจะได้ สบายตอนแก่ หรือมีเงินเก็บไว้ใช้หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือเหตุการณ์ ที่ไม่คาดคิดขึ้นประเมินรายจ่าย จากเงินเดือน หรือรายรับอื่น ๆ ก่อนเสมอเพื่อจัดสรรเงินเดือน เป็นส่วน ๆ คิดว่าควรจ่ายอะไรเท่าไหร่ บ้างจะได้ รู้ว่าที่จ่ายไปแต่ละเดือน จนไม่เหลือกิน เหลือเก็บนั้น รายจ่ายส่วนใด ที่ไม่มีความจำเป็น ก็ค่อยๆตัด ออกไป

เรียกง่ายๆว่าใช้จ่าย อย่างประหยัด หากเก็บออม 1 ปี ได้สัก 8 หมื่น เก็บออมได้ 3 ปีเป็น 2 แสน 4 หมื่น ระหว่างนั้น อาจจะไป ฝากธนาคาร ลงทุนก็จะมีเงิน เก็บเพิ่มได้แม้ในอนาคตข้าวของเครื่อง ใช้จะขึ้นราคา คุณก็ไม่เดือดร้อน อะไรถ้าเทียบกับคน ที่ทำงานมา 3 ปี เท่ากัน แต่ไม่มีเงินเก็บ แม้แต่บาทเดียวที่สำคัญคุณจะมีเงิน สำรองนอนนิ่งๆไว้ใช้ได้ยามฉุกเฉิน เช่นยามเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้คุณไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป

ขอขอบคุณแหล่งที่มา 108resources