Saturday, 27 July 2024

วิธีปลูกกล้วยน้ำว้า เครือใหญ่ ให้มีขายตลอดปี

อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส นักวิจัยชำนาญการพิเศษ สถานีวิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครร าชสีมา โทร. (044) 311-796 กล่าวถึงจำนวนเกษตรกรและพื้นที่ปลูกกล้วยน้ำว้า สายพันธุ์กล้วยน้ำว้า พันธุ์ปากช่อง 50 อันเป็นผลงานวิจัยของอาจารย์กัลยาณี และคณะกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกในปี 2551 ถือเป็นอีกหนึ่งผลงานเด่นของสถานีวิจัยปากช่อง อันเป็นสถานีที่วิจัยงานทางด้านไม้ผลเขตร้อนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัจจุบันถือเป็นสายพันธุ์ดีที่ได้รับความสนใจจากเกษตรกรอย่างกว้างขวางกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 เกิดจากการคัดเลือกสายพันธุ์กล้วยน้ำว้าไส้เหลืองที่เก็บรวบรวมพันธุ์ไว้ที่สถานีวิจัยปากช่อง กว่า 10 สายพันธุ์ โดยพบว่าสายพันธุ์ที่คัดเลือกได้นี้มีคุณสมบัติที่เหมาะในการปลูกเพื่อการค้าลักษณะเด่น คือ

เครือใหญ่ น้ำหนักเครือมากกว่า 30 กิโลกรัม (ไม่รวมก้านเครือ)
1.จำนวนหวีมากกว่า 10 หวี
2.จำนวนผลต่อหวีประมาณ 18 ผล
3.ผลกล้วยใหญ่อ้วนดี น้ำหนักผลโดยเฉลี่ยประมาณ 140 กรัม ต่อผล
4.ไส้กลางไม่แข็ง ออกสีเหลือง เนื้อแน่น เมื่อสุกมีความหวานประมาณ 26 องศาบริกซ์

ทั้งนี้สิ่งที่เป็นเป้าหมายสำคัญของการวิจัยพัฒนาสายพันธุ์เพื่อให้เกษตรกรในประเทศไทยได้ปลูกกล้วยน้ำว้า ที่ปลูกแล้วให้เครือใหญ่ คุ้มกับการลงทุน และภาคอุตสาหกรรมของกล้วยน้ำว้าจะได้มีการเติบโต“ปัจจุบันตลาดของกล้วยน้ำว้าในภาพรวมอยู่ในสภาพดี และร าคาค่อนข้างดี เพร าะมีการนำกล้วยน้ำว้าไปใช้ในอุตสาหกรรมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อีกทั้งยังมีการส่งออกไปตลาดต่างประเทศ ทำให้เกิดความต้องการกล้วยน้ำว้าสูงมากขึ้น”“ส่งผลทำให้กำไรที่เกษตรกรได้รับสามารถเทียบได้กับการปลูกกล้วยไข่และกล้วยหอม อย่างกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ที่ปลูกเพื่อตัดเครือจำหน่าย ในร ายของเกษตรกรที่มีการจัดการบำรุงดูแลดีตามข้อแนะนำ จะมีกำไรจากการปลูก ประมาณ 10,000-12,000 บาท ต่อไร่” อาจารย์กัลยาณีกล่าวหนุนใช้เทคโนโลยีใหม่ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกจากการทุ่มเทและคลุกคลีกับการปลูกกล้วยน้ำว้ามาอย่างยาวนานกว่า 10 ปี จึงทำให้อาจารย์กัลยาณีค้นพบเทคนิคการปลูกกล้วยน้ำว้าให้ประสบความสำเร็จอย่างน่าสนใจ และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปลูกกล้วยน้ำว้าของเกษตรกรโดยได้มีการจัดฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ที่น่าสนใจนี้ให้กับเกษตรกรที่นำกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ไปปลูกมาอย่างต่อเนื่อง

แต่อย่างไรก็ตาม หนึ่งในข้อแนะนำของอาจารย์กัลยาณี คือ การปลูกกล้วยน้ำว้า โดยเฉพาะพันธุ์ปากช่อง 50 นั้น สิ่งที่ต้องใส่ใจคือ การดูแลรักษาเนื่องจากกล้วยเป็นไม้ผลที่ตอบสนองได้ดีกับสภาพอากาศดินและปุ๋ยเป็นอย่างมาก หากการดูแลรักษาไม่ดี ขาดน้ำขาดปุ๋ย สภาพพื้นที่แห้งแล้งเกินไป กล้วยพันธุ์นี้จะให้ผลผลิตเพียง 7-8 หวีเท่านั้น แต่ผลยังอ้วนใหญ่ ไส้กลางไม่แข็ง เนื้อยังแน่นเหมือนเดิม “ดังนั้น อย่างกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ถ้าจะปลูกให้ได้ผลคุ้มค่าสูงสุดจึงจำเป็นต้องมีการดูแลรักษาที่ดีควบคู่ไปด้วย” อาจารย์กัลยาณีกล่าวในการดูแลรักษานั้น อาจารย์กัลยาณีได้ให้ข้อแนะนำตั้งแต่เรื่องของ พันธุ์กล้วยที่นำมาปลูก ควรใช้ต้นพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทดแทนการใช้หน่อที่เคยทำกันมาแบบเดิมการปลูกต้นกล้วยน้ำว้าจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นวิธีการสำคัญที่จะช่วยทำให้ลดปัญหาการสูญเสียจากการเข้าทำลายของโ รคแมลงศัตรูกล้วยน้ำว้าได้เป็นอย่างดี“ด้วยสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดการระบาดของโ รคแมลงมากขึ้นและทำให้เกิดความสูญเสียเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโ รค เ สี ย พร า ย และหนอนกอหรือด้วงงวงเจาะเหง้า ซึ่งจะฝังตัวอยู่ในเหง้า และพบมากในช่วงหน้าแล้ง ทางที่ดีที่สุดคือ การป้องกัน ดีกว่าการไปรักษา ที่ต้องลงทุนสูงมาก ด้วยวิธีการปลูกด้วยการใช้ต้นพันธุ์ที่มาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ”

วิธีการปลูกด้วยการใช้ต้นพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จะเหมาะสมมากในกรณีที่เป็นพื้นที่ปลูกใหม่ที่ไม่เคยพบการระบาดของโ ร คแมลงดังกล่าวมาก่อน โดยปลูกชุดแรกเพียงชุดเดียว หลังจากนั้นเมื่อเข้าสู่เดือนที่ 7 ก็สามารถขุดหน่อที่ได้มาใหม่ไปปลูกขยายได้ จะทำให้เป็นแปลงปลูกที่ปลอดจากโ ร คแมลง“แต่ ก่อนนี้ การปลูกต้นกล้วยน้ำว้าจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นสิ่งที่เกษตรกรไม่ให้การยอมรับ จึงได้มีการจัดทำแปลงสาธิต จัดอบรมเกษตรกรและผู้สนใจ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการหันมาปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกด้วยการใช้ต้นจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทดแทน ซึ่งตอนนี้เกษตรกรที่เข้ามารับการอบรมได้เกิดความเข้าใจและปรับเปลี่ยนวิธีการหาต้นพันธุ์มาปลูก ทำให้การผลิตต้นพันธุ์ของสถานีในขณะนี้ไม่เพียงพอกับความต้องการ”

อาจารย์กัลยาณีบอกว่า ดังนั้น ต้นกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ที่ทางสถานีจำหน่ายให้กับเกษตรกรนั้นจะเป็นต้นกล้วยจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่มีความสูงมากกว่า 15 เซนติเมตร ซึ่งสามารถลงปลูกในแปลงปลูกได้เลย ในส่วนข้อดีของการใช้ต้นกล้วยจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ คือขนย้ายต้นพันธุ์สะดวก ต้นพันธุ์ปลอดจากโ รคและแมลงที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน ได้แก่ โ รค เ สี ย พร ายและหนอนกอ เจริญเติบโตเร็ว การเก็บเกี่ยวทำได้พร้อมกันจำนวนมาก อีกทั้งสามารถเก็บต้นพันธุ์ไว้ได้นานหากยังไม่พร้อมปลูกลงแปลง เป็นต้น

หลุมปลูกควรใหญ่ ปลูกระยะ 4×4 เมตรเทคนิคต่อมาคือ เกษตรกรควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีจัดการดูแลแปลงปลูกให้เป็นระบบมากขึ้น อย่างเช่น ในเรื่องของหลุมปลูก ได้แนะนำให้ขุดหลุมให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น เป็นขนาด 50x50x50 เซนติเมตร ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาขึ้นโคนหรือโคนลอยช้าลง สามารถอยู่ได้นานถึง 4-5 ปี แล้วจึงรื้อปลูกใหม่“เพร าะระบบร ากของกล้วยน้ำว้านั้นจะหากินในรัศมีไม่เกิน 50 เซนติเมตร ทำให้ร ากสามารถหากินได้มากขึ้น กว่าวิธีการขุดแบบเดิมของเกษตรกรที่ขุดหลุมพอดีกับเหง้า อีกทั้งในกลุ่มปลูกยังมีการใส่ปุ๋ยคอก ทำให้ร ากชอนลงด้านล่างเพื่อหาอาหาร ทำให้อาการร ากลอยจึงช้าลง แทนที่จะเป็น 1-2 ปี รื้อ เกษตรกรมีต้นทุนที่ลดลง”

การไว้ใบกล้วยต่อต้น อาจารย์กัลยาณีบอกว่า เมื่อก่อนเกษตรกรบอกว่า ถ้าต้นกล้วยเป็นโ รคต้องตัดใบลงให้มากๆ เพื่อให้แสงเข้า แต่เป็นแนวคิดที่ผิด เพร าะต้นกล้วยจะสมบูรณ์ได้มาก ต้องมีใบมากเท่านั้น โดยเฉพาะในช่วงต กเครือ ต้องมีอย่างน้อย 7 ใบ ถ้าต่ำกว่านี้ผลผลิตจะไม่ค่อยดี ดังนั้น จุดแก้ไขตรงนี้จึงต้องไปดูที่ระยะปลูก โดยระยะที่เหมาะสมควรเป็น 4×4 เมตร “ถ้าปลูกในระยะที่ถี่กว่านี้ จะประสบปัญหาต้นกล้วยในกอจะเบียดกัน เพร าะจากที่ศึกษาพบว่า ถ้าปลูกที่ระยะ 2×2 หรือ 3×3 เมตร ในระยะ 1-2 ปีแรก จะได้ผล แต่เมื่อไว้กอ 4-5 ต้น ใน 1 กอ จะพบว่ามีการเบียดกัน เพร าะตามนิสัยของต้นไม้จะต้องพุ่งเข้าหาแสง ซึ่งส่งผลทำให้ต้นพุ่งสูงชะลูด แต่ระยะปลูก 4×4 เมตร จะกำลังพอดีกับการเลี้ยงกอของต้นกล้วย 4 ต้น และมีผลทำให้แสงสามารถส่องเข้าถึงพื้นที่ได้ดีด้วย”แนะระบบไว้หน่อทุก 3 เดือน ให้ออกผลผลิตทั้งปี

อีกปัญหาหนึ่งที่อาจารย์กัลยาณีได้รับการสอบถามจากเกษตรกรคือ จำนวน 1 กอ จะไว้ต้นกล้วยน้ำว้ากี่ต้น อาจารย์ได้ให้ข้อแนะนำว่า“ถ้าสังเกตจะพบว่าในกล้วยน้ำว้า 1 กอนั้น จะมีขนาดลำต้นเท่าๆ กันหมด และกันให้จำนวนเครือไม่เยอะ เมื่อศึกษาทำให้ได้ข้อมูลว่า ถ้าใน 1 กอ ต้นกล้วยจะอายุเท่ากันหมด อาหารที่ต้นกล้วยจะต้องเป็นกลุ่มเดียวกัน โดยช่วงที่เจริญเติบโต ก็ต้องใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเหมือนกัน และเมื่อต กลูกก็ต กพร้อมกันอีก ต้องใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมพร้อมกัน”อาจารย์กัลยาณีกล่าวต่อไปว่า ถ้าเกษตรกรใส่สูตรเสมอ หรือคำนวณปริมาณปุ๋ยไม่เป็น การใส่ปุ๋ยนั้นก็จะไม่เกิดประโยชน์ที่ตรงกับช่วงความต้องการ จึงได้ทำการศึกษาในเรื่องการไว้หน่อตาม ทำให้ได้ข้อมูลที่น่าสนใจถึงระบบการจัดการหน่อ

“เร าทดลองในต้นกล้วยที่อายุ 6 เดือน โดยถ้าพบว่ามีหน่อก่อนหน้านี้ให้ปาดทิ้งทั้งหมด พอหลังจากอายุ 6 เดือน ให้ไว้หน่อที่ 1 พอหน่อที่ 1 อายุ 3 เดือน ให้ไว้หน่อที่ 2 หลังจากนั้นทุกๆ 3 เดือน ให้ไว้หน่อที่ 3 และ 4, 5 ตาม โดยหน่อที่ขึ้นมาในช่วงที่ไม่ได้กำหนดให้ปาดทิ้งทั้งหมด ปร ากฏว่า เมื่อจะไว้หน่อที่ 5 ต้นแม่ก็สามารถเก็บเกี่ยวเครือกล้วยได้แล้ว ฉะนั้นจะกลายว่ากอนั้นมีต้นกล้วย 4 ต้น ที่อายุห่างกัน 3 เดือน โดยมีหน่อที่ 1 ที่อายุห่าง 6 เดือน ดังนั้น เมื่อใช้ระบบนี้ต่อไปหลายๆ ปีจะทำให้กล้วยน้ำว้าในแปลงมีอายุห่าง 3 เดือน”

“สาเหตุที่ไว้หน่อทุก 3 เดือน มีเหตุผลว่า ด้วยการออกผลผลิตของกล้วยน้ำว้าในแปลงนั้นจะออกไม่พร้อมกัน ถึงแม้ไว้ใกล้เคียงกัน จะมีการกระจายตัวในการเก็บเกี่ยวประมาณ 3 เดือน โดยจากข้อมูลที่ศึกษาจากการปลูกกล้วยน้ำว้าด้วยหน่อพบว่า จะมีช่วงแรกที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ ช่วงกลางๆ จะเก็บได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และช่วงปลายเก็บได้ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์“ทีนี้ถ้าค่อยๆ ปลูกหรือไว้หน่อไป กล้วยที่ออกผลในช่วงปลาย 25 เปอร์เซ็นต์ จะไปรวมกับ 25 เปอร์เซ็นต์ของช่วงแรกในอีกแปลงหนึ่ง จะทำให้ได้ผลผลิตรวมเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ เพร าะฉะนั้นทั้งปีด้วยวิธีการนี้ ทำให้สามารถมีผลผลิต กล้วยน้ำว้าจำหน่ายให้กับพ่อค้าได้ตลอดทั้งปีและสามารถต่อรองร าคากับพ่อค้าได้ โดยไม่ต้องถูกกดร าคาเพร าะจำเป็นต้องตั ดขายทั้งแปลง” อาจารย์กัลยาณีกล่าวในส่วนของหน่อที่เกษตรกรควรเลือกเก็บไว้ในกอ อาจารย์กัลยาณีแนะนำให้เลือก หน่อใบดาบ หรือดูที่โคนต้น ให้เลือกต้นที่โคนใหญ่ๆ ซึ่งแสดงว่ามีอาหารสะสมมาก สมบูรณ์มาก จะเป็นต้นที่ให้เครือใหญ่

“แต่ถ้าเป็นต้นที่ใบใหญ่และมีลักษณะลำต้นเรียวเล็ก หรือถึงแม้ว่าจะเป็นต้นที่เป็นใบดาบ แต่โคนเล็กก็อย่าไปเอา ให้ปาดทิ้งไปเลย นอกจากนี้ หน่อที่จะไว้ควรเป็นหน่อที่ไกลจากต้นแม่หน่อย ประเภทขึ้นติดโคนต้นแม่อย่าไปเอา สาเหตุเพร าะต้นกล้วยจริงๆ คือเหง้า หน่อที่แต กมาจากต้นแม่จะเป็นหน่อที่แต กมาจากเหง้า ซึ่งค่อนข้างจะลอยตามต้นแม่ แต่ถ้าเป็นหน่อที่ไกลจากต้นแม่คือ เหง้าที่มุดดินไปแต กใหม่ มีความแข็งแรงเหมือนกับต้นที่ปลูกใหม่ โคนจะลอยช้า”พร้อมกันนี้ อาจารย์กัลยาณียังได้ให้คำอธิบายต่อไปถึงข้อแนะนำที่ให้ใช้วิธีการปาดหน่อออกแทนที่จะขุดหน่อทิ้งว่า ด้วยการขุดหน่อนั้นจะเป็นการเสียทั้งเวลาและแรงงาน แต่ การปาดหน่อ เดือนละ 1 ครั้ง จะเป็นวิธีการที่ช่วยประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน

“แต่ถ้าต้องการเอาหน่อที่ไม่ต้องการนั้น ขุดขายสามารถทำได้ แต่มีข้อแม้ว่า ต้องดูต้นแม่ต กเครือหรือไม่ ถ้าต กเครือไม่ให้ขุดหน่อขาย เพร าะจะมีผลกระทบต่อขนาดของลูกกล้วย ถ้าขุดหน่อจะทำให้ลูกกล้วยไม่ใหญ่ มีลักษณะแคระแกร็น ถ้าจะขุดหน่อจำหน่ายให้ขุดเมื่อเครือกล้วยจากต้นแม่แก่พร้อมเก็บเกี่ยวหรือเก็บเกี่ยวเครือกล้วยจากต้นแม่แล้ว และต้นต่อไปยังไม่ต กเครือ เป็นจังหวะที่สามารถขุดหน่อจำหน่ายได้”ท่านที่สนใจจะทร าบข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ สถานีวิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครร าชสีมา โทร. (044) 311-796