Saturday, 27 July 2024

วิธีการทำปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อใช้เองประหยัดต้นทุน

การทำปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยอินทรีย์ มีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ คือ 1.วัสดุที่นำมาใช้ 2.อาหารของจุลินทรีย์ 3. การควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ วัสดุที่นำมาใช้ทำทำปุ๋ยหมัก หรือ ปุ๋ยอินทรีย์วัสดุที่นำมาใช้มีความสำคัญมากเพราะเป็นตัวชี้วัดคุณภาพของปุ๋ยหมัก ถ้าหากเป็นวัสดุที่มีธาตุอาหารพืชอยู่มากก็จะได้ปุ๋ยที่มีคุณภาพดี วัสดุดังกล่าวนี้อาจแบ่งอย่างง่าย ๆ ได้ 3 กลุ่มคือ

-วัสดุที่ย่อยสลายได้ง่าย ได้แก่ ใบไม้ กิ่งก้านใบ และต้นของพืชตระกูลถั่วขนาดเล็ก ผักและผลไม้ ชิ้นส่วนของสั ต ว์ ใช้เวลาในการย่อยสลายเพื่อเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ภายใน 1 เดือน
-วัสดุที่ย่อยสลายได้ปานกลาง ได้แก่ หญ้าแห้ง ฟางข้าว ต้นใบข้าวโพด กิ่งไม้ขนาดเล็ก ใช้เวลาในการย่อยสลายจนเป็นปุ๋ยประมาณ 1.5 – 2 เดือน
-วัสดุที่ย่อยสลายได้ยาก ได้แก่ ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด เปลือกไม้ยูคาลิปตัส ใช้เวลาการย่อยสลายจนเป็นปุ๋ยเกิน 2 เดือน

อาหารจุลินทรีย์เนื่องจากวัสดุที่นำมาใช้มีความหลากหลายมากบางชนิด อาจมีอาหารพืชครบสามารถให้จุลินทรีย์ย่อยสลายได้โดยไม่ต้องใช้อาหารอื่นเพิ่มก็ได้ แต่ถ้ามีความต้องการให้กระบวนย่อยสลายเสร็จสิ้นเร็ว จำเป็นจะต้องได้สารอาหารเพิ่ม สารอาหารดังกล่าว ได้แก่ มูลสั ต ว์ต่าง ๆ รำข้าว กากถั่วเหลือง ปลาป่น น้ำตาลโมลาส ปุ๋ยเคมีการใช้สารเหล่านี้ควรเลือกชนิดที่มีร าคาถูก และหาได้ง่าย

การควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ ส่วนนี้มีความสำคัญมาก เพราะการย่อยสลายได้เร็ว หรือช้าขึ้นอยู่กับความพอดีของอุณหภูมิ และความชื้นที่ส่งเสริมให้จุลินทรีย์ย่อยสลายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการทำปุ๋ยใช้เองควรให้มีขนาดกองที่พอเหมาะไม่เล็กเกินไป และไม่ใหญ่เกินไป และสามารถปฏิบัติงานได้ง่าย ควรมีขนาดกว้างประมาณ 2 เมตร สูง 1 เมตร ยาว 3-5 เมตร และควรมีวัสดุคลุมกอง เช่น กระสอบเก่า ๆ หรือพลาสติกเพื่อรักษาความชื้น และอุณหภูมิ

ขั้นตอนวิธีการทำปุ๋ยหมัก หรือ ปุ๋ยอินทรีย์นำวัสดุที่ต้องการทำมากองกับพื้นที่ร าบเสมอกัน สูงประมาณ 50 ซ.ม.นำอาหารจุลินทรีย์ เช่น มูลสั ต ว์ โรยลงส่วนบนของกองปุ๋ย ปริมาณที่ใช้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติวัสดุ ถ้าเป็นวัสดุย่อยง่ายใช้ในอัตรา มูลสั ต ว์ : วัสดุ = 1:10 วัสดุที่ย่อยสลายได้ปานกลางใช้อัตรา 1:5 ถ้าเป็นวัสดุย่อยยาก เช่น ซังข้าวโพด ใช้อัตรา 1:1 เสร็จแล้วใช้น้ำรดให้ทั่ว ให้ได้ความชื้นโดยรวมประมาณ 40-60% ทำการเหยียบบนกองปุ๋ยให้แน่น หลังจากเหยียบแล้วควรให้มีความสูง 50 ซ.ม. ถ้ายุบมากไปให้นำวัสดุใส่เพิ่มทำซ้ำตามข้อ 1 โดยกองทับบนกองเดิมจนได้ความสูงประมาณ 1 เมตรนำพลาสติก คลุมกองให้มิด ใช้วัสดุหนัก ๆ ทับชายพลาสติกโดยรอบ เพื่อกันลมพัดได้เปิดออกทำการกลับกองทุก ๆ 7 วัน และสังเกตกองปุ๋ยว่ามีความชื้นมาก หรือน้อยเกินไป ไม่ถ้าความชื้นน้อยไปสามารถเติมน้ำได้ แต่ถ้าแฉะมากให้เปิดกองระบายความชื้นออก กองปุ๋ยที่ดีจะมีความร้ อนขึ้นสูงในช่วง 7-15 วัน และจะเริ่มลดลงหลังจาก 20 วัน

การทำปุ๋ยหมักให้ได้ดีผู้ปฏิบัติต้องเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยว่าความเหมาะสมอยู่ตรงไหน เพราะการปฏิบัติจริงนั้นมีปัจจัยภายนอกเกี่ยวข้องมาก ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้วิธีการควบคุม ข้อมูลที่ให้มาเป็นเพียงหลักเกณฑ์เชิงวิชาการหยาบ ๆ เท่านั้น การทำปุ๋ยใช้เองความเน้นเฉพาะวัสดุที่หาง่ายในไร่นา ในบ้าน และถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องซื้อควรเลือกวัดุที่มีร าคาถูก ในกรณีที่ทำปุ๋ยหมักใช้เองเรื่องเวลาของการหมักอาจไม่มีความสำคัญมากนัก ถ้าหากว่าผู้ใช้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้เร็ว อาจทำการหมักทิ้งไว้ 2-3 เดือนก็ได้ โดยใช้วัสดุที่มีอยู่กองรวมกันดังกล่าว แต่ถ้าต้องการให้มีการเกิดเป็นปุ๋ยในเวลาที่สั้น จำเป็นที่จะต้องใช้มูลสั ต ว์เพิ่มขึ้น มากน้อยขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้

ขอบุณที่มา: ศาสตราจารย์ ดร. นันทกร บุญเกิด สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โทร.081-286-9190