Saturday, 27 July 2024

วิธีการขอไฟฟ้า สำหรับใช้ในสวนเเละไร่นา พร้อมคำแนะนำวิธีการขอไฟฟ้า

หลายคนอาจสงสัยว่า การขอไฟมาใช้ในการเกษตร คืออะไร แตกต่างจากไฟฟ้า ในบ้านเรือนทั่วไปหรือไม่ โดยความหมายจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ให้ความหมายว่า ไฟเกษตร คือ การนำไฟฟ้า มาใช้ภายในสวน ของเกษตรกรเพื่อทำการเกษตร เช่น ใช้กับเครื่องสูบน้ำ หลอดไฟต่าง ๆ เป็นต้น

วันนี้เราจะมาแนะนำแนวทางการขอไฟฟ้า เพราะว่าไฟเกษตรนั้นจะไม่เหมือนกับการขอไฟเข้าครัวเรือนปกติทั่วไป
แต่เป็นไฟเพื่อการทำเกษตร อย่างการใช้ไฟเพื่อการสูบน้ำ ไฟส่องสว่างในสวน เป็นต้น มีเงื่อนไขในการขอ อย่างไรมา ดูกันได้เลย

9 หลักเกณฑ์การ เข้าร่วมโครงการขอไฟฟ้าเข้าสวน
1. จะต้องมีการรับรองจากทางองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ เพื่อจะได้ยืนยันตัวตนว่าไม่ได้อยู่ในพื้นที่หวงห้าม

2. จะต้องเป็นพื้นที่ที่มีเส้นทางสาธารณะเข้าถึง ซึ่งรถยนต์จะต้องผ่านได้สะดวก

3. เป็นที่ที่สามารถดำเนินการก่อสร้างระบบจำหน่าย โดยวิธีปักเสาพาดสายไฟเข้าไปถึงจุดที่ขอไฟฟ้าได้

4. จะต้องได้รับการรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ เพื่อยืนยันขนาดพื้นที่และชนิดของกิจกรรมการผลิต ทางการเกษตรที่จะต้องใช้ไฟ

5. จะต้องมีการระบุแหล่งน้ำที่จะใช้เพื่อการผลิตทางการเกษตร ในพื้นที่ที่จะขอไฟฟ้าเข้า เช่น คลองสาธารณะ แหล่งน้ำใต้ดิน ต่าง ๆ เป็นต้น

6. จะต้องมีเอกสารครบพร้อมทั้งหลักฐานสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายของพื้นที่ ที่ทำการเกษตร แต่จะต้องไม่ใช่ที่ดิน ที่ถือครองโดยเอกชนรายใหญ่

7. เป็นเกษตรกรรายย่อยที่ขอติดตั้งมิเตอร์ขนาดไม่เกิน 15 (45) แอมป์ต่อ 1 ราย

8. จะต้องออกใบแจ้งหนี้ค่ากระแสไฟฟ้ามิเตอร์เครื่องที่ 2 ใหม่ โดยจะแจ้งเก็บเงินไปที่มิเตอร์เครื่องที่ 1 เก่า ซึ่งทั้ง 2 มิเตอร์จะต้องอยู่ในเขตพื้นที่การไฟฟ้าเดียวกัน

9. สำหรับค่าใช้จ่ายในการขยายเขตต่อราย เฉลี่ยไม่เกิน 50,000 บาท (ซึ่งค่าใช้จ่ายตรงนี้ PEA จะต้องเป็นคนรับผิดชอบจ่ายค่าการขยายเขต)

เอก สารที่จะต้องใช้
1. ใบรับรองจาก องค์กร ปกครองส่วน ท้องถิ่นหรือหน่วยงาน ราชการ 2. สำเนาทะเบียนบ้าน 3. สำเนาโฉนดที่ดิน 4. สำ เนาบัตรประชาชน

ค่าธรรมเนียมในการยื่นขอมิเตอร์ไฟฟ้า
5 ไฟฟ้า(15) แอมป์ ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท 15 (45) แอมป์ 1 เฟส ค่าธ ร ร มเ นียม 6,450 บาท 15 (45) แอมป์ 3 เฟส ค่าธ ร รมเ นียม 21,350 บาท

ขั้นตอนการขอไฟฟ้า
สำหรับพื้นที่เกษตรที่ยังไม่ได้เตรียมพร้อมอะไรเลย ซึ่งเราจะต้องมีทั้งระบบน้ำหรือแหล่งน้ำที่พื้นที่เกษตรเราสามารถใช้ได้ แล้วก็มาดูระยะทางว่าเราจะสะดวกมากแค่ไหนในการเดินทางเข้าไปในพื้นที่ และให้สร้างที่พักอาศัยในพื้นที่ด้วย จะทำให้เราขอไฟเข้ามาได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นก็ยังต้องมีห้องน้ำให้เรียบร้อยมิดชิด

การขอไฟเข้ามาเราก็จะต้องทำการขอบ้านเลขที่ เพราะจะต้องใช้ในการติดตั้งหม้อแปลง โดยเฉพาะที่ที่อยู่ห่างไกลจากบ้าน พอเราทำทุกอย่ างเสร็จแล้วจะต้องถ่ายภาพที่พัก ห้องน้ำนั้นไปให้ทางอนามัยในพื้นที่ตรวจสอบและเซ็นรับรองเอก ส า ร ว่าที่เราสร้างนั้นถูกสุขลักษณะไหม แล้วพอผ่านแล้วก็เอาหนังสือไปยื่นที่ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้รับผิดชอบในการขอบ้านเลขที่ ต่อไปผู้ใหญ่บ้านหรือผู้รับผิดชอบก็นำไปยื่นต่อทางอำเภอเพื่อจะลงทะเบียนสำเนาทะเบียนบ้าน แล้วเราก็จะได้สำเนาทะเบียนบ้านพร้อมบ้านเลขที่มาแล้ว

ข้อสำคัญควรรู้
ในการขอบ้านเลขที่นั้นแม้จะเป็นไฟเกษตรก็จะต้องดูแนวโน้มในพื้นที่นั้นว่ามีบ้านอยู่ในโซนเดียวกันถึง 3 หลังไหม เพราะว่าจะต้องมีอย่างน้อย 3 หลังขึ้นไป หากพื้นที่ของคุณมีเพื่อน ร่วมพื้นที่อยู่เยอะก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลอะไร แต่ถ้าหากในพื้นที่มีอยู่หลังเดียวก็ขอไฟฟ้าพิเศษได้ แต่ว่าอาจจะต้องได้เสียค่าใช้จ่ายสูงหน่อย

ในขั้นตอนการยื่นเรื่องกับทางองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ให้นำไปยื่นในเขตพื้นที่ที่พื้นที่เกษตรของเราอยู่ ยื่นที่ อบต. หรือเทศบาล เจ้าหน้าที่จะกรอกเอกส า รรับรองและแนบสำเนาทะเบียนบ้านของเราและเพื่อนบ้านที่จะยื่นขอไฟไปยื่นพร้อมกันเลย

ต่อไปก็เป็นขั้นตอนการยื่นขอไฟไปที่อำเภอในพื้นที่นั้น เราก็เอาเอกสา รรับรองที่ได้จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นไปยื่นไว้ที่การไฟฟ้าในอำเภอเลย แล้วก็กรอกเอกส า รแล้วยื่นเรื่องรอไว้ หากอย ากจะให้เรื่องที่ยื่นไปได้เร็วหน่อยอย่ าลืมว่าจะต้องยื่นอย่ างน้อย 3 – 5 หลังขึ้นไป จะทำให้มีน้ำหนักในการขอไฟฟ้ามากกว่

ในการขอไฟฟ้าเข้าในพื้นที่เกษตรก็มีเพียงเท่านี้และพอยื่นเรื่องไปแล้วรู้สึกว่ามันนานเกินไปก็อย่ าลืมเข้าไปสอบถามความคืบหน้า ความเคลื่อนไหวกับทางอำเภออยู่เสมอ ก็อย่ าลืมว่าระบบการทำงานในองค์กรต่าง ๆ นั้นมันก็ไม่ได้เร็วอะไรนักหรืออาจจะเร็วแค่ในบางพื้นที่เท่านั้น บางอย่ างประชาชนแบบเรา ๆ ก็ต้องคอยตามตื้ อต ามท ว งอยู่ตลอด

เรียบเรียงโดย เกษตรก้าวหน้า