Saturday, 27 July 2024

ภาพการทำเกษตร ของไทย สมัยสร้างโรงงานน้ำตาล แห่งแรกของประเทศไทย(ฝรั่งสร้าง) ปี 2482

โรงงานน้ำตาลเกาะคา”ใน ลำปาง เมื่อห้วงหนึ่งศตวรรษได้เรียบเรียงขึ้นใหม่ ฉายภาพให้เห็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของคนลำปาง


รายงานชิ้นนี้ บอกเล่าถึงประวัติศาสตร์การก่อเกิดของโรงงานน้ำตาลเกาะคา ว่า เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดลำปางเหมาะสมที่จะปลูกอ้อยมากที่สุด หน่วยงานรัฐบาลในสมัยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา จึงตั้งโรงงานน้ำตาลลำปางที่อำเภอเกาะคาเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ใช้ชื่อว่า โรงงานน้ำตาลไทยลำปาง และเริ่มพิธีเปิดฤดูหีบอ้อยเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2480
การผสมพันธุ์อ้อยในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2481 ที่โรงงานน้ำตาลลำปาง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยชาวฟิลิปปินส์และเจ้าหน้าที่

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2484 พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเดินทางมาเยี่ยมโรงงานน้ำตาลไทยลำปาง หรือโรงงานน้ำตาลเกาะคา และกล่าวปราศรัยแก่ชาวไร่อ้อยและเจ้าหน้าที่ของโรงงานว่า ในการตั้งโรงงานน้ำตาลของรัฐบาลนั้น มีความประสงค์จะให้โรงงานน้ำตาลอยู่ในมือคนไทยแท้ๆได้สืบสวนดูที่ที่เคยทำน้ำตาลมาแล้วหลายแห่ง เช่น ที่เมืองชลบุรีก็เห็นคนอื่นเขาปลูกอ้อยทำน้ำตาลกันทั้งนั้น


“ข้าพเจ้าได้ให้สืบที่นครชัยศรี ดูว่ามีคนไทยปลูกอ้อยบ้างหรือไม่ ก็เห็นมีแต่คนชาติอื่นๆปลูกกันเป็นส่วนมาก ฉะนั้นจึงได้ให้เที่ยวดูที่อื่นอีกจนกระทั่งถึงอำเภอเกาะคานี้แหละดีแล้วเพราะมีคนไทยทั้งนั้นที่ปลูกอ้อย เมื่อตั้งโรงงานแล้วก็จะได้เป็นการส่งเสริมให้มีการปลูกอ้อยมากขึ้น เพื่อส่งโรงงานทำน้ำตาลทำการหีบเป็นน้ำตาล และเพื่อจะให้คนที่ไม่มีงานทำจะได้มีงานทำซึ่งเป็นปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่ง

อีกอย่างหนึ่งบ้านเมืองจะเจริญก้าวหน้า ต่อไปสิ่งสำคัญที่ประเทศชาติจะเจริญก้าวหน้าไปได้อยู่ที่เศรษฐกิจการเงิน ข้าพเจ้าเห็นว่า ควรจะมีโรงงานอุตสาหกรรมทำสินค้าออกไปขายต่างประเทศบ้างและเพื่อจะลดการสั่งซื้อน้ำตาลต่างประเทศให้น้อยลงได้บ้าง”
สังคมเกาะคาหลังจากการตั้งโรงงานน้ำตาลเป็นพหุสังคม คือสังคมที่คนมีวัฒนธรรมแตกต่างกันมาอยู่ร่วมกัน มีต่างประเทศเข้ามาตั้งรกรากในเกาะคา เช่น มีผู้เชี่ยวชาญเรื่องของอ้อย เรื่องการเคี่ยวน้ำตาลมาจากฟิลิปปินส์และคิวบา สมัยก่อนงานฉลองปิดหีบเป็นงานประจำปีที่ยิ่งใหญ่ของลำปางเพราะชาวไร่อ้อยจะได้รับเงินค่าอ้อยและมีการฉลองกัน มีมหรสพจากกรุงเทพและต่อมากลายมาเป็นอำเภอที่สองรองจากในเมืองลำปางที่มีงานฤดูหนาว

คนลำปางรุ่นใหม่ อาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า นี่คือจังหวัดที่มีโรงงานน้ำตาลแห่งแรกของประเทศไทย เป็นเรื่องที่ในวาระสำคัญเช่นนี้ ควรมีการชำระประวัติศาสตร์ บันทึกไว้ให้คนรุ่นต่อไปได้เรียนรู้และรู้สึกภาคภูมิใจในแผ่นดินเกิด
เนื่องจากในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลเกาะคาเป็นที่ตั้งของบริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลแม่วัง จำกัด หรือโรงงานน้ำตาล ซึ่งเป็นโรงงานน้ำตาลแห่งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและปัจจุบันยังคงเปิดทำการอยู่ ประกอบกับในพื้นที่ยังมีการปลูกอ้อยเพื่อป้อนสู่โรงงาน จึงได้นำต้นอ้อยมาเป็นเอกลักษณ์ของเทศบาลตำบลเกาะคา ที่เป็นรูปกอต้นอ้อย ปลูกบนสันดอนที่เรียกว่า “เกาะ”
พร้อมดวงอาทิตย์ที่เป็นสัญลักษณ์ของความรุ่งโรจน์ปรากฏอยู่ด้วย ในบางครั้งต้นอ้อยในภาพนั้นก็มองละม้ายให้คล้ายต้นหญ้าคาที่ขึ้นอยู่บนเกาะกลางน้ำหรือ “เกาะคา” นั่นเอง

เทศบาลตำบลเกาะคาตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเกาะคา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ 3 ตำบล คือ ตำบลศาลาตำบลท่าผา และตำบลเกาะคา ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบนอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 270 เมตร สภาพพื้นที่โดยทั่วไป เป็นที่ราบริมฝั่งแม่น้ำ โดยมีแม่น้ำวังไหลผ่านตรงกลางพื้นที่ ห่างจากกรุงเทพฯ ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินสายพหลโยธิน สายเอเชียประมาณ 590 กิโลเมตร โดยห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศใต้ประมาณ 15 กิโลเมตร พิกัดที่ 423113 เนื้อที่ มีพื้นที่ 3.95 ตารางกิโลเมตร

สภาพภูมิประเทศ ลักษณะชุมชนของเทศบาลตำบลเกาะคา จะหนาแน่นเฉพาะบริเวณชุมชนตลาดและสองฝั่งริมแม่น้ำวัง นอกจากพื้นที่ดังกล่าว เป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัยและที่ทำการเพาะปลูกแต่ไม่มากนัก การก่อสร้างบ้านเรือนจะแออัดในเขตชุมชนตลาด และอุตสาหกรรม บ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านพักอาศัย สำหรับตึกอาคารพาณิชย์จะอยู่หนาแน่นบริเวณหน้าโรงงานน้ำตาลเกาะคา ส่วนถนน ตรอก ซอย คับแคบ พื้นที่จำกัด เพราะเป็นชุมชนที่อยู่กันมานานไม่มีการวางผังเมืองมาก่อน ทำให้การพัฒนาและดูแลรักษาทำได้ตามข้อจำกัด
ภาพถ่ายเมืองลำปางในอดีตอถ่ายราวปี พศ.2478

Credit:ดร โรเบิร์ต ลาริมอร์ เพนเดิลตัน
ขอบคุณ เรื่องเล่าชาวล้านน