พระครูสังฆรักษ์สุทัศน์ สุวฑฺฒโน ปลูกสวนครัว รั้วกินได้ แจกชาวบ้าน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

วันนี้ทางแอดมิน เกษตรก้าวหน้า ขอนำเรื่องราวของ พระครูสังฆรักษ์สุทัศน์ สุวฑฺฒโน เจ้าอาวาสวัดทรายมูลเมือง พระครูสถิตธรรมาภิรักษ์เจ้าอาวาสวัดป่าไม้แดง ต.หนอง อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ ได้วางแนวปฏิบัติตนและทำงานที่นอกเหนือจากกิจของสงฆ์แล้ว ยังได้ทำการสอนชาวบ้านสอนพระสงฆ์ให้ดำรงตนอยู่แบบพอเพียง และที่สำคัญต้องสอนชาวบ้านให้เข้าใจแนวปรัชญาแบบพอเพียง ซึ่งการสอนนั้นคงจะต้องทำให้เห็น จับได้มองเห็น และที่สำคัญต้องเกิดประโยชน์กับชุมชนในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ

และปรับตัวเพื่อรับมือสถานการณ์ด้วยการพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าในวัด รวมทั้งพื้นที่รอบโบสถ์วิหารที่เคยปลูกไม้ดอกไม้ประดับ จัดทำปรับเปลี่ยนเป็นแปลงปลูกผักสวนครัวชนิดต่าง ๆ ทั้งปลูกลงดินและในกระถาง โดยผลผลิตที่เริ่มเก็บเกี่ยวได้แล้วนั้น ได้นำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการให้ญาติโยมปรุงอาหารถวายเป็นภัตตาหารเช้าและเพลแด่พระสงฆ์และสามเณรของวัด ขณะที่ส่วนที่เหลือแบ่งปันให้ชุมชนรอบข้างวัดด้วย

พระครูสังฆรักษ์สุทัศน์ สุวฑฺฒโน เจ้าอาวาสวัดทรายมูลเมือง ได้วางแนวปฏิบัติตนและทำงานที่นอกเหนือจากกิจของสงฆ์แล้ว ยังได้ทำการสอนชาวบ้านสอนพระสงฆ์ให้ดำรงตนอยู่แบบพอเพียง และที่สำคัญต้องสอนชาวบ้านให้เข้าใจแนวปรัชญาแบบพอเพียง ซึ่งการสอนนั้นคงจะต้องทำให้เห็น จับได้มองเห็น และที่สำคัญต้องเกิดประโยชน์กับชุมชนในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ

ต่อมาได้นำผู้สื่อข่าวออกไปพบกับพระอุดมกิติแก้ว เจ้าสำนักสงฆ์บ้านห้วยต้นตอง ต.แม่ทะลบ อ.ไชยปราการ ซึ่งได้รับคำชี้แนะและนำแบบอย่างของพระครูสถิตธรรมาภิรักษ์ มาใช้ และได้ดำเนินการปลูกผักกินได้ ทั้งพืชผักสวนครัวและต้นไม้ ผลต้นไม้โตเร็วเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับชาวบ้าน ได้เข้ามาเรียนรู้ได้ปลูกพริกขี้หนู, ปลูกถั่วฝักยาว, ถั่วแขก, ปลูกฟักทอง, ปลูกฟักเขียว, ปลูกบวบหวาน, ผักกาดฯ เพื่อใช้ทำอาหารฉันเอง

เพราะว่าวัดนั้นอยู่ไกลจากพื้นที่ความเจริญ ต้องเดินทางหลายชั่วโมงหรือไม่ ก็ต้องขอชาวบ้านขับรถออกมาส่งและเพื่อเป็นการได้ชาวบ้านได้เรียนรู้และได้นำไปประกอบในชีวิตประจำวัน โดยช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องซื้อ เพราะสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาประกอบใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างต่อเนื่อง

ซึ่งเป็นการรบกวนเวลาทำมาหากินของชาวบ้าน จึงปลูกเองและที่เหลือแจกจ่ายให้กับชาวบ้าน ซึ่งเป็นชนเผ่าลีซูได้เก็บกลับบ้านสามารถประกอบอาหารได้เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชาวบ้าน ซึ่งในเวลานี้ทางหมู่บ้านและชาวบ้านเริ่มเรียนแบบแล้ว การสอนนั้นต้องลงมือทำแล้วให้ชาวบ้านเห็น เขาก็สามารถที่จะนำไปทำเองและเกิดประโยชน์กับเขาเอง ในส่วนราชการก็สามารถที่จะนำวิธีการนี้ไปใช้ได้