Saturday, 27 July 2024

ผักตบชวา คุณประโยชน์ทำปุ๋ยบำรุงพืช บำรุงดินชั้นยอด

ผักตบชวา ตามสายตาของคนทั่วไป อาจมองเพียงด้านเดียวที่สร้างปัญหาให้กับแหล่งน้ำสาธารณะต่าง ๆ เป็นตัวกั้นขวางการไหลของน้ำ กีดขวางการจราจรทางน้ำ ทำให้แหล่งน้ำตื้นเขินต้องคอยขุดลอกอยู่เสมอเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำหน้าประตูระบายน้ำต่างๆ จนเป็นเหตุทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ทำให้เกิดมลภาวะทางน้ำและสร้างปัญหาทำให้ระบบชลประทานของบ้านเรา ขาดประสิทธิภาพและไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

ผักตบชวา เป็นพืชน้ำมีลำต้นเป็นไหล มีก้านใบเป็นโพรงอากาศอวบน้ำ พยุงให้ลอยน้ำได้ มีใบเลี้ยงเดี่ยวรูปไข่สีเขียวสด ดอกมีสีม่วงหรือสีชมพูอมฟ้า มีผลเป็นรูปทรงกระบอก มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก แม้ลำต้นจะแห้งแต่เมล็ดก็ยังมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 15 ปี ถ้าเมล็ดได้รับน้ำเพียงพอก็จะแตกไหลเป็นต้นใหม่ต่อไป

แต่โดยมากจะขยายพันธุ์ด้วยการแตกไหลของลำต้น จากการศึกษาพบว่าผักตบชวา 2 ต้น จะแตกไหลเป็นต้นใหม่ได้ 30 ต้น ภายใน 20 วัน หรือ ผักตบชวาเพียง 10 ต้น จะเพิ่มเป็น 1 ล้านต้น ภายในเวลาเพียง 1 ปี ซึ่งตลอดช่วงเวลากว่าร้อยปี

ที่ผ่านมาหน่วยงานรัฐได้แก้ไขปัญหาผักตบชวามาโดยตลอดทุกๆ ปี แม้จะมีการวิจัยใหม่ๆ เพื่อหาทางกำจัดหรือนำผักตบชวาไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ มากมายก็ตาม แต่ก็ได้ผลเพียงชั่วคราวเท่านั้นเพราะธรรมชาติการแพร่พันธุ์ของผักตบชวานั้นเป็นอุปสรรคสำคัญ

อย่างไรก็ดีเพื่อนๆ เกษตรกรที่ทำเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งมีการเพาะปลูกพืชหลากหลายชนิด ร่วมไปกับการเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ ในพื้นที่เดียวกัน สามารถนำผลการวิจัยที่เป็นประโยชน์จาก

การนำผักตบชวาไปทำปุ๋ยได้ 3 วิธี คือ วิธีที่

วิธีที่ 1 ปล่อยให้ผักตบชวาแห้ง แล้วนำผักตบชวาไปเผาเพื่อเก็บขี้เถ้าซึ่งมีโปแตสเซียมอยู่ถึง 20% เอาไปใส่ให้แก่พืชที่ปลูก มีข้อได้เปรียบตรงที่ไม้ต้องขนให้หนัก แต่ก็ได้เผาอินทรียวัตถุที่พืชต้องการไปหมด

วิธีที่ 2 ทำเป็นปุ๋ยหมักโดยกองสลับชั้นกับดิน ปุ๋ยคอก ขยะ ซึ่งจะเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยหมัก นำไปใช้ได้ภายใน 2 เดือน ระหว่างหมัก ควรกลับกองปุ๋ยหมักทุกๆ 15 วัน โดยเอาส่วนบนลงล่างและส่วนล่างขึ้นบน กลับกองปุ๋ยหมักสัก 2 ครั้ง จากนั้นก็ปล่อยให้ค่อยๆ กลายเป็นปุ๋ยหมักซึ่งจะมีสีดำคล้ำ ปุ๋ยหมักจากผักตบชวา ผสมดิน มีองค์ประกอบคือ ไนโตรเจน 2.05% ฟอสฟอรัส 1.1% โปแตสเซียม 2.5% ธาตุทั้งสามอย่างน้ำเป็นอาหารธาตุที่จำเป็นแก่การเจริญเติบโตของพืชทุกชนิดในดิน ป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้น และเมื่อสลายตัว ก็กลายเป็นอินทรียวัตถุและปุ๋ยให้แก่พืชปลูก

วิธีที่ 3 ทำวัสดุคลุมดิน โดยการนำเอาผักตบชวาไปคลุมพืชปลูก เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นไว้ในดิน ป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้น และเมื่อสลายตัว ก็กลายเป็นอินทรียวัตถุและปุ๋ยให้แก่พืชปลูก นำผักตบชวามาเพาะเห็ด ผักตบชวาที่ตากแดดจนแห้งดีแล้ว สามารถนำมาเพาะเห็ดฟางได้ดี วิธีที่เหมาะที่สุดก็คือ ใช้ผักตบชวาแห้ง 1 ส่วน สลับกับฟางข้าว 1 ส่วน ควรใช้ลังไม้เป็นแบบในการกองเห็ด ขนาดของลังประมาณ 30 x 30 x 50 ซม.

เพื่อความสะดวกในการยกกองเห็ดออกจากลัง ควรทำลังไม้เป็น 2 ส่วน ไม่มีฝาบนและล่าง แล้วประกอบเข้าด้วยกัน โดยใช้สายยูเกี่ยววางลังที่ประกอบแล้วลงบนแผ่นไม้ วางผักตบชวาแห้งที่แช่น้ำให้ชุ่มลงในลัง เป็นชั้นสูงประมาณ 10 ซม. แล้วกดให้แน่น โรยเชื้อเห็ดตามริม ลึกเข้าไปประมาณ 2-3 ซม. วางฟางข้าวที่แช่น้ำให้ชุ่มเป็นชั้น แบบเดียวกับชั้นผักตบชวา แล้วโรยเชื้อเห็ดด้วยวิธีเดียวกัน วางผักตบชวาและฟางข้าวสลับชั้นเช่นนี้จนกระทั่งถึงปากลัง ด้านบนโรยเชื้อเห็ดทั้งหมด กองหนึ่งใช้เชื้อเห็ดประมาณครึ่งกระป๋อง (กระป๋องละ 3 บาท) จากนั้นก็แกะไม้แบบลังออก ยกกองเห็ดเข้าไปไว้ในที่อับลมและชื้น เพื่อช่วยให้เห็ดมีความชื้นมากๆ ควรทำที่กำบังลมโดยใช้แผงจาก แฝก หรือแผ่นพลาสติกกั้น รักษาให้ความชื้นอยู่เสมอ จะเกิดดอกเห็ดทั้งด้านข้าสี่ด้านและด้านบนประมาณวันที่ 7 ปริมาณเห็ดที่เกิดบนได้ประมาณกองละ 1 กิโลกรัม

ซากผักตบชวาและฟางข้าวที่เก็บเห็ดไปหมดแล้ว ใช้เป็นปุ๋ยหมักหรือวัสดุคลุมดินได้เป็นอย่างดี การกองเห็ดกองขนาดนี้จะใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที หากสามารถทำได้ทุกวันๆ ละกองจะมีเห็ดฟางรับประทานวันละ 1 กิโลกรัม ถ้าหากรับประทานไม่หมด ก็สามารถนำไปจำหน่ายได้ในราคาเฉลี่ยประมาณกิโลกรัม 15 บาท โดยลงทุนค่าเชื้อเห็ดเพียง 1.510 บาท หรือได้กำไรถึง 10 เท่า ทั้งขายทั้งกินคุ้มมากเลย

ผักตบชวามาใช้ต่อยอดสร้างประโยชน์ได้อย่างมากมาย อย่างใกล้ตัวที่สุดคือ การใช้ผักตบชวามาทำเป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด หรือใช้ทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้บำรุงพืช ตามวิถีอินทรีย์ ซึ่งมีความปลอดภัยและช่วยลดต้นทุน

นอกจากทำปุ๋ยแล้ว

รวมไปถึงการทำผักตบชวาหมัก เพื่อเป็นอาหารหยาบให้แก่สัตว์เคี้ยวเอื้องอย่างโค กระบือ แกะ แพะ เพื่อช่วยลดต้นทุน ช่วยให้สัตว์เลี้ยงเจริญอาหาร นอกจากนี้ผักตบชวา ยังนำไปใช้ในการเพาะเห็ดฟาง โดยการใช้แทนฟางหรือใช้เป็นอาหารเสริมให้แก่เห็ดฟางแทนการใช้รำได้อีกด้วย

ผักตบชวา เป็นวัชพืชไม่มีใครต้องการ การนำมาใช้ประโยชน์นั้นจึงมีแค่ต้นทุนแรงงานในการเก็บจากแหล่งน้ำต่างๆ เท่านั้น แต่หากปลูกเลี้ยงในบ่อน้ำภายในพื้นที่ของตัวเอง ผักตบชวาก็ไม่ต้องใช้เงินในการปลูกเลี้ยงแม้แต่บาทเดียว แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการควบคุมจำนวนให้พอดีกับการใช้งานเท่านั้นเองครับ

แหล่งที่มา http://blog.arda.or.th