Friday, 26 July 2024

แหล่งกำเนิด “ทุเรียนไทย 4 สายพันธุ์”

” ทุ เ รี ย น ” เป็นผลไม้ที่มีกลิ่นเฉพาะตัวซึ่ง บางคนบอกว่าทุเรียนมีกลิ่นหอม ในขณะที่บางคนบอกว่ามีกลิ่นเหม็นรุนแรงจนถึงขั้นเป็นลมกันที่เดียว ทำให้มีการห้ามนำทุเรียนเข้ามาในโรงแรมและการขนส่งสาธารณะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง ทั้งยังอุดมไปด้วยกำมะถันและไขมัน จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเป็นเบาหวาน

คำว่า ‘ ทุ เ รี ย น ’ มาจากภาษามอญที่เรียกว่า ‘ตูเรน’ โดยมาเลเซีย เรียกว่า ‘ดูเรน’ และพัฒนาเป็นภาษาอังกฤษเรียกว่า ‘ดูเรียน’ (Durian) พบว่าคนไทยรู้จักรับประทานทุเรียนมาไม่น้อยกว่า 300 ปี ทั้งนี้ทุเรียนมีแหล่งกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 27 พันธุ์ ในจำนวนนี้อยู่ในเกาะบอร์เนียว 19 พันธุ์ แหลมมายา 11 เกาะสุมาตรา 7 พันธุ์ ส่วนใหญ่ในไทยเมียนมาร์ ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ พบประเทศละพันธุ์

แต่จาก หลักฐานของกรมป่าไม้รายงานว่าประเทศไทยมีอยู่ 4 พันธุ์ คือ ทุเรียนบ้าน ทุเรียนดอน ทุเรียนนกและทุเรียนป่า สันนิษฐานว่าทุเรียนในเขตมอญเข้ามากับกองทัพที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกครั้งที่พระองค์เสด็จยกกองทัพ ไปตี เมืองมะริดและตะนาวศรี เมื่อขาดเสบียงอาหารเพราะการคมนาคมและการติดต่อกับทางกรุงเทพฯลำบากและล่าช้า นายกองจึงออกหาเสบียงอาหารและคงพบทุเรียน

เมื่อรับประทานพบว่ามีรสชาติดี จึงได้นำเอาเมล็ดทุเรียนเข้ามาใน กรุงเทพฯ ด้วย ดังนั้นจึงปรากฏว่าทุเรียนที่มีอายุประมาณ 100-150 ปี ขึ้นไป มักปลูกอยู่ตามบ้านผู้ใหญ่ที่เป็นเจ้านาย เก่าๆ แต่เกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯถึง 2 ครั้ง ทำให้ต้นทุเรียนเก่าตายลงจึงหาดูเป็นหลักฐานไม่ได้ เมื่อพบว่าทุเรียนเป็นต้นไม ้ที่ขึ้นได้ดี จึงได้มีการปลูกขยายพันธุ์กันต่อไป บางหลักฐานเชื่อกันว่าทุเรียนแพร่ลงไปทางใต้ก่อนโดยเรือสินค้า

จึงเข้าใจ ว่าทุเรียนที่นำมาปลูกในกรุงเทพสมัยนั้นได้จากนครศรีธรรมราช และแพร่เข้ามาทางกรุงเทพฯและธนบุรีก่อน แล้วจึงแพร่ ต่อไปถึงจันทบุรี และทางเหนือ พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) กล่าวถึงการแพร่กระจายพันธุ์ของทุเรียน จากจังหวัดนครศรีธรรมราช ขึ้นมากรุงเทพฯประมาณพ.ศ. 2318

โดยมีการทำสวนทุเรียนที่ตำบลบางกร่าง คลอง บางกรอกน้อยตอนในตั้งแต่ปี พ.ศ. 2397 ในระยะต้นเป็นการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และพัฒนามาเป็นการปลูกด้วยกิ่งตอน จากพันธุ์ดี 3 พันธุ์ คือ อีบาตร ทองสุก และการะเกดแต่หาไม่สามารถตอนพันธุ์ทั้ง 3 พันธุ์ได้ จึงต้องใช้เมล็ดของทั้ง 3 พันธุ์ เป็นพันธุ์ปลูก ทำให้เกิดทุเรียนลูกผสมขึ้นมากมาย เป็นผลดีต่อการปรับปรุงพันธุ์ทุเรียนมาจนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบันมีการปลูกทุเรียนมากในทุกภาคของประเทศไทย เช่น ภาคเหนือ ที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดนครพนม ภาคกลาง ที่จังหวัดนนทบุรี อยุธยา ลพบุรี และสระบุรี ภาคใต้ที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นราธิวาส และตรัง ภาคตะวันออกที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ระยอง ปราจีนบุรี และตราด เป็นต้น จากสถิติการเพาะปลูก และพื้นที่การปลูกทุเรียน กล่าวได้ว่า จังหวัดจันทบุรี ระยอง ปราจีนบุรี และตราด เป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของภาคตะวันออกหรือของประเทศ