Friday, 26 July 2024

ขั้นตอนและวิธีการรับโอน มรดกที่ดิน เมื่อเจ้าของที่ดินได้ล่วงลับไปแล้ว รู้ไว้จะได้ไม่เสียปsะโยชน์

ความรู้รอบตัว การโอนมรดกที่ดิน เมื่อเจ้าของที่ดินได้ล่วงลับไปแล้ว เมื่อมีคน เ สี ย ชี วิ ต มรดกย่อมตกทอดแก่ ท า ย า ท ถ้าเป็นทรัพย์สินเล็กๆ น้อยๆ ก็จัดสรรปันส่วนกันได้ง่ายๆ แต่ถ้าเป็นพวกที่ดินบ้าน หรืออสังหาริมทรัพย์ใดๆ ที่ต้องไปจดทะเบียน ก็อาจจะยุ่งยากหน่อย วันนี้เรามาดูกันเรื่องการรับมรดกที่ดินกันคร่าวๆ มีอยู่หลายครั้งที่พ่อแม่บอกจะยกที่ดินให้ลูกคนไหน

เพราะต้องแบ่งที่ดินให้ ท า ย า ท ตามกฎหมาย การยกที่ดินให้ด้วยวาจา ไม่มีผลทางกฎหมาย เพราะที่ดินถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่า การจะยกที่ดินให้นั้น จะต้องมีขั้นตอน เช่น การทำพินัยกรรม หรือไม่ก็ไปโอนกันตั้งแต่ยังมีชีวิต หากยกให้ด้วยวาจา ถึงแม้ว่าจะมีพยานสักกี่คนก็ตาม ย่อมไม่มีผล ยกเว้น ท า ย า ท คนอื่นๆ ยินยอม มรดกที่ดิน เมื่อมีคน เ สี ย ชี วิ ต ท า ย า ท จะรับมรดก อาจทำได้ 2 วิธี คือ จูงมือ ท า ย า ท กันไป โอนที่ สนง.ที่ดิน และอีกวิธีนึงคือตั้งผู้จัดการมรดก ซึ่งต้องไปขึ้นศาล

โดยผู้มีสิทธิได้รับมรดกที่ดินจะต้องไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินนั้นที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา ในกรณีมีเอกสารเป็นโฉนดที่ดิน น.ส. ๓ ข. และสำนักงานที่ดินอำเภอ ในกรณีมีเอกสารเป็น น.ส.๓, น.ส.๓ ก. ถ้าท้องที่ใดที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกเลิกอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอเกี่ยวกับการปฏิบัติการตามกฎหมายที่ดินแล้ว ไม่ว่าที่ดินจะเป็นโฉนดที่ดิน น.ส.๓ หรือ น.ส. ๓ ก.,น.ส.๓ ข. จะต้องไปขอจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาที่ที่ดินตั้งอยู่

การโอนมรดกที่ สนง.ที่ดิน
1. โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองทำประโยชน์
2. บัตรประจำตัว
3. ทะเบียนบ้าน
4. หลักฐานการ เ สี ย ชี วิ ต ของเจ้ามรดก เช่น ม ร ณ บั ต ร
5. พินัยกรรม (ถ้ามี)
6. ถ้าผู้ขอ ขอรับมรดกในฐานะเป็นคู่สมรส ต้องมีหลักฐานการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย
7. ถ้าผู้ขอรับมรดกเป็นบิดาเจ้ามรดก 8 ต้องมีทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดกหรือหลักฐานการรับรองบุตร
9. กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้ขอรับมรดก ต้องแสดงหลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
10. ถ้ามีกรณีพิพาทเกี่ยวกับมรดก 11. ต้องนำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดไปแสดง
12. ถ้ามีผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกันหลายคน บางคนได้ถึงแก่ ก ร ร ม ไปแล้ว ต้องมีหลักฐานการ เ สี ย ชี วิ ต ของ ท า ย า ท นั้น ๆ1 นำหลักฐานสิทธิในที่ดินไป เช่น โฉนดที่ดิน

เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนแล้วเชื่อว่าผู้ขอเป็น ท า ย า ท มีสิทธิรับมรดกตามที่ขอแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะทำการประกาศมรดกมีกำหนด ๓๐ วัน แล้วก็จดทะเบียนให้ถ้าไม่มีคัดค้าน จริงๆ มันมีรายละเอียดมาก ยังไงลองติดต่อ สนง.ที่ดินเพื่อสอบถามรายละเอียด ส่วนการโอนที่ดินโดยตั้งผู้จัดการมรดก สามารถทำได้

1. ให้ ท า ย า ท ร้องขอต่อศาลให้แต่งตั้งผู้จัดการมรดก ท า ย า ท ต้องไปให้การที่ศาล
2. จะมีการจดทะเบียนผู้จัดการมรดก
3. หลังจากนั้น ผู้จัดการมรดก ก็ไปจดทะเบียนได้เลย เจ้าหน้าที่ก็จะรับจดทะเบียนให้
ฟังดูเหมือนง่าย แต่เอาเข้าจริง ใช้เวลาอยู่เหมือนกัน แต่ถ้าจะโอนที่ดิน ยังไงก็ต้องทำตามขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป…

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน
1.ค่าคำขอ แปลงละ ๕ บาท
2.ค่าประกาศมรดก แปลงละ ๑๐ บาท
3.ค่าจดทะเบียนผู้จัดการมรดก แปลงละ ๕๐ บาท
4.ค่าจดทะเบียนโอนมรดก ร้อยละ ๒ ตามราคาประเมินทุนทรัพย์

ในกรณีโอนมรดกระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ร้อยละ ๐.๕ มรดกตกทอดจากบุพการี หรือปู่ ย่า ตา ย า ย ใช่ว่าได้โฉนดที่ดินมาแล้วเป็นอันจบเรื่อง เนื่องจากการโอนที่ดินจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือค่าโอนที่ดินด้วย นอกจากนี้ เมื่อเจ้าของมรดก เ สี ย ชี วิ ต ทายาททุกคนที่ทราบเรื่องมรดกจะต้องเสียภาษีมรดกหากสินทรัพย์มูลค่าเกิน100ล้านบาท หากดำเนินการช้าแล้วมีมูลค่าเพิ่ม ทายาททุกคนต้องเสียภาษีเมื่อคำนวณตามมูลค่าเพิ่มและเบี้ยปรับ

หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทายาทแต่ละคน จะได้ที่ดินเท่ากันหรือไม่ ตามกฎหมายแล้ว เมื่อเจ้าของที่ดินเ สี ย ชี วิ ต ท า ย า ท แต่ละคน จะมีสิทธิได้ที่ดินเท่าๆ กัน แต่ก็ต้องดูด้วยว่า ที่ดินนั้น มีเจ้าของร่วมหรือไม่ สาเหตุที่บางคนได้ที่ดินไม่เท่าคนอื่น เพราะที่ดินนั้นอาจจะมีเจ้าของร่วมอยู่ด้วย ถ้าได้ที่ดินไม่ครบ ไม่เท่าคนอื่น อาจจะต้องตรวจสอบดูก่อนว่าเป็นเพราะอะไร ทำไมได้ไม่เท่าคนอื่น หากมีการแบ่งที่ไม่ถูกต้อง ก็อาจไปใช้สิทธิฟ้องร้องต่อศาลได้ เรื่องพวกนี้ ถ้าไม่รู้กฎหมาย อาจจะเกิดความผิดพลาดได้ ดังนั้น ถ้ามีเหตุการณ์ลักษณะนี้ ควรปรึกษาผู้ที่มีความรู้ ก่อนจะสายเกินไป

ขอบคุณเจ้าของภาพ ภาพประกอบเท่านั้นไม่เกี่ยวกับเนื้อหา