Saturday, 27 July 2024

การเลี้ยงไส้เดือนดิน ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน ในบ่อซีเมนต์

เกษตรก้าวหน้าได้ลงพื้นที่การเลี้ยง ไส้เดือนดิน หรือใส้เดือน ในการเพาะเลี้ยงนั้นสามมารถทำได้ทุกภาค และ ทุกสภาพอากาศ ขึ้นอยู่กับการเลี้ยง และมีหลากหลายวิธีให้การเลี้ยง วันี้ขอยกตัวอย่าง การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์

ไส้เดือนดิน หรือไส้เดือน นอกจากจะใช้เป็นเหยื่อล่อปลา ที่ทำกันมาตั้งแต่โบราณ จนถึงปัจจุบันก็ยังใช้กันอยู่บางพื้นที่ แล้วยังเป็นสัตว์ประเภทที่ดีและสำคัญมากสำหรับระบบนิเวศน์ต่อพืชแล้ว ยังสามารถเลื้ยงเพื่อ ทำเป็น ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน ได้อีกด้วย ทำเป็นอาชีพสร้างรายได้เพื่อจำหน่าย หรือ ทำเพื่อใช้ในไร่ในสวนของท่านเเองก็ได้

ไส้เดือนเป็นสัตว์ประเภทไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่มีทั้งเพศผู้และเพศเมีย อยู่ในตัวเดียวกันหรือสัตว์สองเพศนั่นเอง ลักษณะของไส้เดือน ที่ใครก็รู้จักกันดีคือ มีลักษณะลำตัวยาวๆลำตัวเป็นข้อหรือปล้องๆมีสีดำบ้างสีแดงและสีม่วงบ้างแล้วแต่สายพันธ์ุ ไส้เดือนดินพบอยู่ทั่วไป ใต้ดินที่ชื้นหรือตามซากพืช หรือใต้มูลสัตว์ต่างๆ

ปัจจุบันมีหลายหน่วยงาน หลายโครงการ ได้ทำการค้นคว้าและวิจัยเรื่อง ของไส้เดือน เพื่อนำมาทำให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้ให้เกษตรกร เพราะลักษณะพิเศษของไส้เดือน เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ การชอนไช้ใต้ดินของไส้เดือน ก็เหมือนกับการที่เราพรวนดิน พืชผักผลไม้ของเรานั่นเอง

การเลี้ยงไส้เดือนดิน มีหลายแบบหลายวิธี ใช้กะละมังกลม หรือ บ่อซีเมนต์หรือบ่อปูนกลม ก็ได้ แต่ทำแบบให้ได้จำนวนและปริมาณเยอะก็นิยมเลี้ยงใส่บ่อซีเมนต์หรือบ่อกลมกันเป็นส่วนใหญ่ อุปกรณ์ก็ไม่ยุ่งยาก หาได้ง่ายและประหยัด

การเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อทำ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน ในบ่อซีเมนต์

วัสดุและอุปกรณ์ในการเลี้ยงไส้เดือนดิน

1. บ่อซีเมนต์กลม ที่มีความกว้างของบ่อ ประมาณ 80-100

2. มูลสัตว์หรือขี้วัวแห้ง 1 กระสอบ หรือ กระสอบครึ่ง ต่อหนึ่งบ่อ

3. ไส้เดือนดิน ประมาณ 2 กิโล ต่อ1บ่อ ไส้เดือนที่นิยมเลี้ยง คือพันธุ์แอฟริกัน ลำตัวจะมีสีม่วง เพราะไส้เดือนพันธุ์พันธ์ุแอฟริกัน นั้นมีข้อดีคือ ตัวอ้วนโต เคลื่อนไหวช้าและให้ปุ๋ยจำนวนที่มาก และยังขยายพันธุ์ได้เร็วอีกด้วย

วิธีการเลี้ยงไส้เดือนดินในบ่อซีเมนต์

– ใส่ขี้วัวลงไปในบ่อซีเมนต์ 1หรือ1กระสอบครึ่ง แล้วทำให้ขี้วัวเย็น หรือคลายความร้อน นั่นคือรดน้ำขี้วัว รดน้ำประมาณ1-2 อาทิตย์ วิธีการวัดง่ายๆว่าขี้วัวเย็นพร้อมใช้หรือยัง ให้ใช้มือล้วงลงไปในขี้วัว ถ้ามือเราเย็นก็หมายถึง ขี้วัวพร้อมใช้ทำปุ๋ยแล้ว แต่ถ้ามือที่ล้วงลงไป รู้สึกอุ่นๆ ก็แสดงว่าขี้วัวยังไม่คลายความร้อน หรือยังเย็นไม่พอ ต้องรดน้ำเพิ่มให้กับขี้วัว จนเย็นได้ที่

– พอวัดได้ว่าขี้วัวเย็นได้ที่แล้ว ให้นำ ไส้เดือนดินพันธุ์แอฟริกัน ใส่ลงไปบนขี้วัว ประมาณ 1-2 กิโลกรัม ใส่ลงไปโดยที่ไม่ต้องฝังตัวเค้าลงใต้ขี้วัว เพราะถ้าขี้วัวเย็นได้ที่ เค้าจะทำการชอนไช้ลงใต้ขี้วัวเอง

– ให้ความชื้นโดยการรดน้ำ 3-4 วันครั้ง ประมาณ 1-2 เดือน ก็สามารถเก็บ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน ไปใช้กับพืช,ผักผลไม้ หรือจำหน่ายได้แล้วครับ

ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการย่อยสลายเศษซากอินทรีย์ของไส้เดือนดินที่กินเข้าไป โดยผ่านกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้และน้ำย่อย แล้วขับถ่ายออกมา เวอร์มิ ฟาร์มไส้เดือน ใช้มูลโคนม 100%

เสริมด้วยกากถั่วเหลืองและรำข้าวในการเลี้ยงไส้เดือน มูลไส้เดือนดินที่ได้จึงมีคุณภาพสูงและมีธาตุอาหารอย่างครบถ้วน อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ในปริมาณสูง ทั้งมีจุลินทรีย์เป็นจำนวนมาก

ลักษณะโครงสร้างทางกายภาพของมูลไส้เดือนดิน เป็นเม็ดสีดำออกน้ำตาล เป็นแท่งเล็กๆ มีความพรุน โปร่งเบา ระบายน้ำและอากาศได้ดีมาก ธาตุอาหารที่อยู่ในเศษซากอินทรีย์ ถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ได้ เช่น เปลี่ยนไนโตรเจนให้อยู่ในรูปไนเตรท หรือแอมโมเนียฟอสฟอรัสในรูปที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซี่ยมในรูปที่แลกเปลี่ยนได้ นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบของธาตุอาหารพืชชนิดอื่นและจุลินทรีย์หลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อดิน ประโชน์และความสำคัญของปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน จะส่งผลให้โครงสร้างของดินโดยรวมดีขึ้น คือ ทำให้ดินเก็บความชื้นได้มากขึ้น มีความโปร่งร่วนซุย รากพืชสามารถชอนไชและแพร่กระจายได้กว้าง ดินมีการระบายน้ำและอากาศได้ดี ทำให้จุลินทรีย์ดิน

ที่เป็นประโยชน์บริเวณรากพืชสามารถสร้างเอ็นไซม์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ จุลินทรีย์ดินที่ปนออกมากับมูลไส้เดือนดินยังสามารถสร้างเอ็นไซม์ฟอสฟาเตสได้อีกด้วย ซึ่งจะมีส่วนช่วย

เพิ่มปริมาณฟอสฟอรัสในดินให้สูงขึ้นได้