Friday, 26 July 2024

การเลี้ยงปลาด้วยฟางข้าว จากวัสดุที่ถูกทิ้ง นำมาลดต้นทุนและให้ผลผลิตดี

วัสดุในประเทศไทยที่ไม่ได้เอามาใช้ประโยชน์ ทั้งๆที่มีประโยชน์ แต่กลับถูกทิ้ งอย่างไ ร้คุณค่ามีอยู่ 2 อย่างคือ ฟางข้าว และน้ำมะพร้าว ทั้งสองอย่างนี้มีปริมาณมหาศาลในแต่ละปี แต่กลับไร้คุณค่า ในเรื่องของการนำฟางข้าวมาเลี้ยงปลา ความคิดนี้เป็นของคุณมงคล ทวีสิน เกษตรกร ต.ตะกุดไช อ. ชนแดน จ. เพชรบูรณ์ ที่เป็นผู้ค้นพบการเลี้ยงปลาด้วยฟางข้าวเป็นอาหารโดยบังเอิญ กล่าวคือคุณมงคล ทวีสิน

เคยเลี้ยงปลาด้วยอาหารสำเร็จรูปที่ข ายอยู่ตามท้องตลาด แต่ไม่สำเร็จประสบกับการข าดทุนจึงยกเลิกและนำฟางข้าวมาถมบ่อเพื่อที่จะกลบบ่อ ปรากฏว่าเห็นปลาที่เหลืออยู่มากินฟางข้าวที่จมอยู่ในน้ำ ฟางข้าวก็หมดไป น้ำในบ่อก็ไม่เน่าเสีย เมื่อลองจับปลามาสังเกตดูก็เห็นว่าปลามีสภาพอ้วนท้วนสมบูรณ์ดี จึงเกิดความคิดที่ว่า ฟางข้าวน่าจะนำมาเลี้ยงปลาได้ อย่างแน่นอน

เพื่อที่จะลงมือทำอย่างจริงจัง คุณมงคล ทวีสิน ได้ลงมือทำการพิสูจน์อย่างจริงจัง โดยปล่อยลูกปลาสวาย ปลาทับทิม ปลาสลิด ปลาดุกอุ้ย ลงในบ่อปลา โดยปลาที่ปล่อยนั้นเป็นปลากินพืชทั้งหมด แล้วใช้กองฟางสุม เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปีก็ทดลองจับปลาออกขาย ปรากฏว่าได้ปลาขนาดใหญ่ตามที่ตลาดต้องการ ปลาสวายขนาดเกือบ 2 กิโลกรัม ปลาทับทิมตัวละ 3-4 ขีด ปลาดุกอุ้ย 3-4 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม

ปลาสลิดก็มีขนาดใหญ่ นี่คือที่มาของความคิดที่ใช้ฟางข้าวเลี้ยงปลา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีธรรมชาติที่ไม่เคยมีใครทราบมาก่อน การค้นพบครั้งนี้ถือว่ามีคุณค่าต่อเกษตรกรอย่างมหาศาล ขอให้เกษตรกรที่นำวิธีการเลี้ยงปลาด้วยฟางข้าวไปใช้ จงระลึกถึงเจ้าของความคิด และช่วยกันแพร่หลักคิดนี้ให้กว้างไกลออกไปจะได้เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรไทยโดยรวม ในภาวะปัจจุบันปลาน้ำจืดจากแหล่งน้ำธรรมชาติมีน้อยลง ไม่เพียงพอต่อการบริโภค ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เกษตรกรส่วนหนึ่งได้หันมาเลี้ยงปลาน้ำจืดจำหน่าย แต่ก็ต้องประสบสภาวะข าดทุนหรือไม่ก็ได้กำไรน้อยไม่คุ้มค่ากับการลงทุนเนื่องจากอาหารสำเร็จรูปมีร าคาแพง

การเลี้ยงปลาในแนวธรรมชาติแม้จะใช้เวลานานกว่าการเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูป แต่คุณภาพของปลาเหมือนกับปลาที่ได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ จึง ขายได้ในราคาสูง ประกอบกับต้นทุนน้อย จึงประกันได้ว่าคำว่าข าดทุนหรือกำไรน้อยไม่มีอย่ างแน่นอน อยากมีร ายได้มากๆก็ให้เพิ่มจำนวนบ่อมากขึ้นและขยันหาฟางข้างให้เพียงพอต่อการฤดูการเลี้ยงปลาและฤดูการเก็บเกี่ยว

การเลี้ยงปลาด้วยฟางข้าว จะใช้บ่อเก่าหรือขุดใหม่ก็แล้วแต่ ความลึกของบ่อควรจะเป็น 2 เมตร เป็นอย่างน้อย ขนาดของบ่ออาจจะเป็น 1 ไร่ หรือ 2-3 งาน เมื่อนำน้ำใส่ในบ่อแล้ว ให้หามูลโค-กระบือ ใส่ไว้เพื่อเพาะลูกไร ก็จะเกิดลูกไรและแมลงตัวเล็กๆ ซึ่งจะได้เป็นอาหารของปลากินเนื้อต่อไป การเลี้ยงปลาด้วยฟางข้าวปล่อยลูกปลากินพืช เช่น ปลาสวาย ปลานิล ปลาทับทิม ปลาสลิด และลูกปลากินเ นื้ อ เช่น ปลาหมอ ปลาดุกอุ้ย ในพื้นที่บ่อ 1ไร่ ปล่อยลูกปลาจำนวน 10,000 ตัว ปลากินพืชจะกินฟางข้าว ส่วนปลากินเนื้อจะกินลูกไรและแ ม ล งที่เกิดจากฟางข้าว ปลาทั้งสองประเภทจะไม่ทำลายซึ่งกันและกัน ยกเว้นปลาช่อน

การให้ฟางข้าว
เกษตรกรจะต้องกองฟางข้าวไว้ที่ริมบ่อ ส่วนหนึ่งให้จมน้ำ ควรวางฟางข้าวไว้ใต้ลม เพื่อให้ได้รับอากาศจากลมพัด และฟางจะได้ไม่กระจายไปทั่วบ่อ เมื่อฟางข้าวใยบ่อยุบตัวลงก็ดันฟางข้าวที่ขอบบ่อลงไป ปลาก็จะมากินฟางข้าวที่เน่าเปื่อยปลาสวาย ปลาสลิด ก็จะมากินฟางข้าวโดยตรง ส่วนปลาทับทิมจะกิน หนอน แม ลงและลูกไรที่เกิดจากการหมักของฟางข้าว

การเลี้ยงปลาโดยวิธีนี้ไม่ต้องให้อาหารอื่นใดเลยนอกจากฟางข้าวเพียงอย่ างเดียว เกษตรกรจะต้องกำหนดให้เวลา 1 ปี หมดฟางข้าวพอดี ก็จะเหลือแต่ฟางข้าวที่เป็นตอซังแข็งๆเท่านั้นที่เหลืออยู่ที่ริมบ่อ การจับปลาจะต้องดูว่าช่วงใดราคาแพง ให้เลือกจับในช่วงนั้น หากช่วงใดราคาไม่ดี เราก็ขยายเวลาออกไปก่อนเพราะไม่มีต้นทุนอาหาร ยิ่งนานออกไปปลาก็ยิ่งโต ปลาก็ยิ่งได้ร าคา การเจริญเติบโตในระยะเวลา 1 ปี การเติบโตของปลาเฉลี่ยแล้วปลาสวายตัวละ 2กิโลกรัม ปลาทับทิม ตัวละ 3-4 ตัวต่อกิโลกรัม ปลาหมอ ขนาด 5-6 กิโลกรัม

คุณภาพของปลาเหมือนกับปลาที่จับมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ปลาไม่ผอม ไม่มีกลิ่น การคำนวณรายได้ต่อบ่อ ต่อไร่ คำนวณอยากเนื่องจากขึ้นอยู่กับจำนวนอัตราการร อดของลูกปลาเป็นสำคัญ หากได้น้ำหนักโดยรวมประมาณ1 ตัน ต่อพื้นที่บ่อ 1 ไร่ ซึ่งเป็นอัตราขั้นต่ำก็มีรายได้แล้วไม่น้อยกว่า 60,000 บาทและที่สำคัญที่คันบ่ออย่าปล่อยให้ว่าง ควรหาพืชยืนต้นมาปลูกจะเป็นมะพร้าวตาลหรือมะพร้าวน้ำหอม ชมพู่ทับทิมจันทร์ ฝรั่ง ส้มโอ พืชสวนครัวหรือพืชเก็ บยอดก็ดี เพื่อสร้างร ายได้ ร ายวันร ายได้รายเดือน ส่วนปลาก็เป็นร า ยได้ร ายปี คิดแบบนี้ ทำแบบนี้ครอบครัวมีอนาคตครับ หลักคิดนั้นสำคัญครับ ท่านที่อ่านแล้วนำไปปฏิบัติลงมือทำ ในการทำครั้งต่อไปหรือคิดที่จะปลูกสิ่งใดๆต่อไปท่านควรคิดเพื่อสร้างหลักคิดเป็นของตัวเอง คิดให้ดี ก้าวหน้าและลงมือทำครับ

แหล่งที่มา http://sopprap.lampang.doae.go.th/?p=38