Saturday, 27 July 2024

การดูแลมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง อย่างไรให้ผิวสวย ตรงตามความต้องการของตลาด

สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านที่น่ารัก ได้มาพบเจอกันอีกแลัว ก่อนอื่นแอดมินและทีมงานเพจธรรมะเกษตรก้าวหน้า ก็ขอขอบคุณที่ท่านผู้อ่านยังคงติดตามผลงานของเรามาตลอด เราจะคอยสรรหานำเสนอเรื่องราวดีๆ และมีประโยชน์
แก่แฟนเพจทุกท่าน ให้ท่านได้อ่านเรื่องราวดีตลอดเราจะคอยนำเสนอเรื่องราวดีๆ และมีประโยชน์แก่แฟนเพจทั้งหลายให้ท่านได้อ่าน

“น้ำดอกไม้สีทอง” เป็นพั น ธุ์ที่กลายจากพั น ธุ์น้ำดอกไม้ ผลรูปทรงรี ผิวผลเหลืองทองทั้งผลตั้งแต่ยังไม่แก่จัด มีลักษณะพิเศษกว่าพันธุ์น้ำดอกไม้ คือเปลือกหนากว่า ทนทานต่อการขนส่ง ผิวสีเหลืองนวลสวยงามตั้งแต่ยังไม่สุกจัด เมื่อบ่มสุกมีสีเหลืองสดใส ผลทรงกลมยาวเรียว เนื้อละเอียด รสหวานน้อยกว่าน้ำดอกไม้เบอร์ 4 เล็กน้อย เมล็ดลับ

มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ถือเป็นมะม่วงสายพั น ธุ์ยอดนิยมที่เน้นปลูกเพื่อการส่งออก มีลักษณะที่แตกต่างจากมะม่วงน้ำดอกไม้พันธุ์เดิมที่เมื่อผลยังอ่อนอายุราว 1-2 เดือน สีของผลจะเป็นสีเขียว แต่เมื่อช่วงดังกล่าวไปแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนตลอดทั้งผล และเป็นเช่นนี้เรื่อยไปจนกระทั่งผลแก่เห็นเป็นสีทองอร่ามทั้งต้น เมื่อสุกจัดผิวเปลือกจะมีสีเหลืองที่เข้มขึ้น เนื้อด้านในมีสีเหลืองทองสวย รสชาติหวานหอม เป็นหนึ่งในมะม่วงยอดนิยมตลอดกาลของคนไทยและชาวต่างชาติ เช่น ประเทศญี่ปุ่น

การทำผิวมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองคุณมานพ บอกว่า ผิวมะม่วงส่วนใหญ่จะเสียหายเพราะเกิดจากการทำลายของโ ร คและแมลง โดยเฉพาะช่วงที่มีความสำคัญคือ ระยะดอกมะม่วงโรย แม ล งศัต รูที่สำคัญคือ “เพลี้ยไ ฟ” ในระยะนี้เกษตรกรจะต้องเฝ้าดูการทำลายทุกวัน เผลอไม่ได้ เพลี้ยไ ฟ จะเข้าทำลายในระยะดอกมะม่วงโรยมากที่สุด การป้องกันและกำจัดแนะนำให้ฉีดพ่น โปรวาโด อัตรา 2-3 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออาจจะฉีดสลับด้วยส าร “มาลาไทออน” หรือ ” เมทโธมิล” (เช่น แบนโจ) ข้อดีของสา รป้องกันและกำจัด 2 ชนิดหลังดังกล่าว คุณมานพบอกว่าร าคาไม่แพงนัก นอกจากจะควบคุมเพลี้ยไ ฟได้แล้วยังควบคุมหนอนได้ด้วย ที่สำคัญส ารดังกล่าวญี่ปุ่นไม่ห้ามใช้และที่ผ่านมาเมื่อตรวจสอบส าร พิ ษต กค้างอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่มีปัญหาเพราะสลายตัวเร็ว สำหรับโ ร คที่คุณมานพคิดว่า มีความสำคัญกลับไม่ใช่โ ร คแอนแทรกโนส แต่เป็นโ ร ค “ร าแป้ง” ที่จะต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว การระบาดของร าแป้งลงช่อมะม่วงจะรวดเร็วมาก มีผลทำให้ไม่มีการติดผลเลย ปัจจุบันยังไม่พบส ารป้องกันโ ร คพืชที่โดดเด่นเป็นพิเศษในการป้องกันและกำจัดโ รค ร าแป้ง แนะนำให้ใช้ส ารซีสเทน-อี ฉีดพ่นสลับกับส ารเบนโนมิล เช่น เมเจอร์เบน เป็นต้น

การตัดแต่งผลมะม่วงก่อนห่อคุณมานพได้เล่าประสบการณ์จากการไปดูงานการปลูกมะม่วงในประเทศไต้หวัน ที่ขึ้นชื่อถึงความประณีตในการทำการเกษตรประเทศหนึ่งในโลก ต้นมะม่วงที่ไต้หวันจะมีการควบคุมทรงพุ่มให้เตี้ยเพื่อปฏิบัติงานได้ง่าย และมีการคัดเลือกจำนวนผลมะม่วงต่อต้นก่อนที่จะห่อ ตัวอย่าง มะม่วง 100 ผล ที่ห่อจะคัดเลือกได้อย่างน้อย 80 ผล หรือ 80% ชาวสวนมะม่วงไทยควรจะนำเอามาเป็นแบบอย่างใช้กับการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองของไทย

คุณมานพแนะว่าน้ำดอกไม้สีทองบ้านเร า ถ้าติดผลช่อละ 3 ผล ควรคัดเลือกห่อเพียง 1 ผล เท่านั้น ที่ผ่านมาแต่ละช่อติดผลมากไม่มีการปลิดทิ้งเลยเมื่อเก็บเกี่ยวแทบจะเลือกมะม่วงส่งออกไม่ได้เลยแม้แต่ผลเดียว ข้อควรระวังในการห่อผลมะม่วงอีกประการหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ ก่อนที่จะห่อผลมะม่วงจะต้องเด็ดหรือตั ดส่วนปลายก้านช่อดอกหรือที่ชาวสวนเรียกว่า “หนวดมะม่วง” ถ้าปล่อยทิ้งไว้ส่วนของหนวดจะทำให้ผิวมะม่วงเกิดตำหนิขึ้นได้(เมื่ออยู่ในถุงห่อจะเกิดการเสี ยดสีภายในถุง)

ปุ๋ยคอก มีความสำคัญคุณมานพ บอกว่าเกษตรกรเจ้าของสวนมะม่วงจะต้องใส่ปุ๋ยคอกเป็นประจำทุกปี จะใส่ช่วงต้นฤดูฝนหรือใส่หลังจากการตั ดแต่งกิ่งเสร็จก็ได้ เนื่องจากปุ๋ยคอกจะถูกนำไปใช้ในระยะยาว เป็นพื้นฐานของความสมบูรณ์ของต้นมะม่วง ปุ๋ยคอกใช้ได้ทุกประเภท แต่ต้องพึงระวัง ก่อนนำมาใช้จะต้องผ่านการหมักให้เป็น “ปุ๋ยคอกเก่า ” เสี ยก่อน สำหรับเกษตรกรหลายคนมักจะกังวลว่าใส่ปุ๋ยคอกไปแล้วมักจะเกิดปัญหาเ ชื้ อร าร ะ บ า ดทำล า ยมะม่วงได้ง่าย อย่าไปกังวลมากเกินไป ขึ้นกับการบำรุงดูแลรักษามากกว่า

การเลือกใช้ถุงห่อผลมะม่วงความจริงการห่อผลมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง จะช่วยรักษาผิวของผลมะม่วงได้ดีและสวยไร้ริ้วรอย ป้องกันการเข้าทำลายของโ ร คและแม ล งได้ โดยเฉพาะแมลงวันทอง และยังช่วยลดปริมาณของส ารเ คมีที่อาจจะฉีดพ่นถูกผลมะม่วงได้อีกด้วย ในการห่อผลมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง แนะนำให้เลือกห่อตั้งแต่ผลมีขนาดประมาณ 2 นิ้วครึ่ง (ใหญ่กว่าไข่ไก่เล็กน้อย) โดยจะห่อนานประมาณ 40 วันจึงจะเก็บเกี่ยวได้ หรือถ้าห่อขนาดผล 3 นิ้ว จะห่อนานประมาณ 1 เดือน ซึ่งในขณะนั้นความแก่ของผลมะม่วงจะอยู่ที่ 75-80% แต่ถ้าห่อผลนานเกิน 45 วัน ขึ้นไป ผิวมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองจะเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองอ่อนออกขาวหรือที่ชาวสวนเรียกว่า “มะม่วงเผือก”

“การเก็บเกี่ยวผลผลิต” ขั้นตอนสุดท้ายที่สำคัญยิ่งขั้นตอนในการเก็บเกี่ยวผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเป็นขั้นตอนที่จะมีการเอาใจใส่ดูแลที่ดีไม่แพ้ช่วงที่ดูแลรักษาบนต้น เจ้าของสวนมะม่วงจะต้องฝึกฝนคนงานและปลูกฝังการทำงานในเรื่องของการเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างระมัดระวังและมีความประณีต เพียงแค่แรงกระแทกหรือช้ำเพียงจุดเดียวก็ถือว่าต กเกรดทันทีสำหรับมะม่วงเพื่อการส่งออก

ขั้นตอนในการเก็บเกี่ยวมะม่วงออกจากแปลงปลูกนั้น ถ้าเป็นจุดที่ใช้มือเอื้อมเด็ดถึง ก็ให้เด็ดผลอย่าให้ขั้วหักเป็นอันขาด ในการรับซื้อมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออก ถ้าผลมะม่วงไม่มีขั้วผลติด ตลาดจะไม่รับซื้อ เมื่อขั้วมะม่วงหักยางมะม่วงจะไหลโดนผิวมะม่วงเป็นลายจะต กเกรดทันที ในจุดที่ผลมะม่วงอยู่สูงใช้มือเด็ดไม่ได้ให้ใช้ตะกร้อเก็บเกี่ยว ตะกร้อที่ดีจะต้องมีใบมีดติดเพื่อเกี่ยวขั้วมะม่วงให้ข าดได้เพียงครั้งเดียว การเก็บด้วยตะกร้อควรจะเก็บทีละผลหลังจากเก็บผลมะม่วงลงมาจากต้นแล้วจะต้องนำไปใส่เข่งหรือตะกร้าที่วางอยู่ใต้ต้นมะม่วง ไม่ควรวางลงกับดิน ใส่ตะกร้าให้เต็มพอประมาณอย่าวางทับกันแน่นเกินไป เคลื่อนย้ายไปแกะถุงคาร์บอนในโร งคัดแยก ไม่แนะนำให้แกะถุงในแปลงปลูก (ถุงคาร์บอนมีส่วนช่วยลดการเสียดสีได้อีกทางหนึ่ง)

แต่เดิมการห่อผลมะม่วงจะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์มักจะเกิดปัญหาว่าหมึกพิมพ์จากกระดาษหนังสือพิมพ์ติเลอะเทอะบนผิวมะม่วง ปัจจุบันมีทางเลือกในการใช้ถุงห่อแบบใหม่ คือการใช้ถุงคาร์บอนหรือมีการจำหน่ายอยู่หลายเกรด ร าคาถูกแพงขึ้นอยู่กับคุณภาพของถุงห่อด้วย อย่างกรณีของถุงคาร์บอนห่อผลมะม่วงของ “ชุนฟง” ถึงแม้จะมีร าคาสูงกว่ายี่ห้ออื่นบ้าง แต่ถุงทุกใบได้มาตรฐานและผ่านการทำความสะอาดเชื้ อแล้ว คุณมานพยังแนะนำว่าในการใช้ถุงคาร์บอนควรใช้เพียง 2 ครั้ง ก็เพียงพอแล้ว หลังจากนั้นให้เปลี่ยนถุงใหม่

เรียบเรียงโดย เพจธรรมะเกษตรก้าวหน้า